เมื่อ TPM เป็นกิจกรรมที่ทุกคนมีส่วนร่วม โดยมีชื่อแต่ไม่ตัวตน
ทำให้มีคำถามเกิดขึ้นมากมายซึ่งมีหลายคนถามผมว่า “ ทำ TPM แล้วได้อะไรและใครต้องทำบ้าง ”
เหตุการณ์นี้เป็นคำถามของพนักงานท่านนึงที่โรงงานกำลังขอรางวัล TPM Excellence เพราะหลายคนที่ดำเนินการทำไป งงไป และไม่เห็นว่าทำ TPM แล้วจะได้อะไร แต่ก็ต้องทำเพราะเป็นคำสั่งหัวหน้า ยิ่งในแต่ละ Pillar มีสมาชิกกว่า 10 ท่าน แต่ทำจริงไม่ถึง 5 คน จนทำให้เกิดเหตุการณ์ “กิจกรรมที่ทุกคนมีส่วนร่วม โดยมีชื่อแต่ไม่ตัวตน” และเกิดภาพที่เป็นกิจกรรมที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการ “สร้างภาพ” หรือสุภาษิตไทยเรียกว่า ผักชีโรยหน้า
ปัญหาสำคัญสุดที่ผมพบเจอบ่อยที่สุด คือ ผู้จัดการหรือหัวหน้างานชอบโยนงานให้ลูกน้องเป็นผู้ปฏิบัติและสนใจควบคุมเฉพาะผลลัพท์ที่เกิดขึ้นแล้ว โดยส่งนโยบายและเป้าหมายจากผู้บริหารและสั่งการลูกน้องลงมาโดยตรงและหลังจากนั้นก็จะเฝ้าคอยถามถึงผลลัพท์ที่ตนสั่ง โดยระหว่างนั้นไม่ได้แนะนำอะไรเลยรอแต่จะให้ลูกน้องมารายงาน
เมื่อไม่ได้ผลลัทธ์ตามที่คาดไว้ ลูกน้องผู้ทำหน้าที่ปฎิบัติก็จะรู้ผิดหวังและความเชื่อมั่นต่อตนเองและผู้เป็นหัวหน้า หากปล่อยไว้นานอาจจะส่งผลต้องเสียคนมีฝีมือและทำงานเก่งก็อาจจะลาออกบริษัทจากไป
ถ้าคุณทำงานแบบ TPM อย่างจริงจังคุณต้องสร้างสไตล์กิจกรรมกลุ่มย่อยแบบซ้อนกัน หรือ Overlapping Small Group Activity ให้มีประสิทธิผลซึ่งไม่ได้ทำแต่เฉพาะพนักงานผลิต แต่ยังมีการจัดกลุ่มย่อยของระดับผู้บริหาร ผู้จัดการ และหัวหน้างานของทุกส่วนงานเพื่อทำกิจกรรมปรับปรุงด้วยกัน เมื่อทุกคนได้รับโอกาสในการปรับปรุงก็จะแสดงความสามารถอย่างเต็มที่
อยากได้กำไรต้องมีผู้บริหาร ผู้จัดการ และหัวหน้างานที่ทำกิจกรรมปรับปรุงได้จริง และ TPM เป็นรูปแบบการบริหารงานที่กำจัดความสูญเสียและพัฒนาบุคลลากรอย่างแท้จริง
#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล
FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN
#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art
You must be logged in to post a comment.