ความสัมผัสระหว่าง Failure กับเส้นโค้ง Bath Tub

เครื่องจักรอยู่ได้ตามค่าเสื่อมหรือไม่

ขึ้นอยู่กับการรักษาสภาพเครื่องจักร

การเสื่อมสภาพของเครื่องจักรที่ต้องรับรู้และเข้าใจ

สิ่งที่คุณต้องแยกแยะให้ได้เพราะการป้องกันและแก้ไขนั้นมีความแตกต่างกัน

ลักษณะ Failure ตามหลักการ TPM นั้นหมายถึง

ระบบเครื่องจักร ชิ้นส่วน ได้สูญเสียกลไกที่ได้กำหนดไว้ ซึ่ง Failure สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ

  • Failure แบบกลไกหยุดทำงาน เป็นลักษณะการ Failure ประเภทที่กลไกทั้งหมดของระบบทั้งหมดหรือเครื่องจักรหยุดทำงาน
  • Failure แบบกลไกต่ำล เป็นลักษณะที่เกิดจากกลไกบางส่วนของระบบหรือเครื่องจักรลดต่ำลง แต่ไม่ถึงกับทำให้กลไกทั้งหมดหยุดทำงาน

การเสื่อมสภาพมี 2 รูปแบบและมีความแตกต่างที่เห็นได้เป็นรูปธรรม

—————————————————————————————-

การเสื่อมสภาพโดยบังคับกับ หมายถึง การทำให้เครื่องจักรเสื่อมสภาพจาก พฤติกรรมของคนจากการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการดำเนินการของเครื่องจักรทั้งที่ควรจะทำ ตัวอย่างเช่น การไม่เติมน้ำมันในเวลาที่กำหนดหรือเติมน้อยไป จึงเป็นเหตุทำให้เครื่องจักรเสื่อมสภาพก่อนระยะเวลาที่กำหนด

การเสื่อมโดยธรรมชาติ หมายถึง การใช้เครื่องจักรอย่างถูกต้อง จนถึงขีดสูงสุดของความสามารถของเครื่องจักรส่งผลให้เกิดการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา ทำให้สมถรรนะการทำงานของเครื่องจักรต่ำลงไป

เพื่อให้เห็นเชื่อมโยงกัน ขออ้างอิงการบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ของเวลาการใช้งานของเครื่องจักรกับอัตราการเกิด Failure โดยแสดงเป็นเส้นโค้งรูปทรงอ่างอาบน้ำ หรือเส้นโค้ง Bath Tub สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง

เส้นโค้ง Bath tub

  1. ช่วง Failure ช่วงแรก

เป็นช่วงที่ค่อนข้างเร็ว หลังจากเริ่มใช้งานจะเป็นช่วงที่เกิด failure ขึ้น ที่มาจากความบกพร่องของการออกแบบ และการผลิตเครื่องจักร หรือความไม่เหมาะสมของเงื่อนไขการใช้ สภาพแวดล้อม ในช่วงนี้จะเรียกว่า ช่วงที่อัตราการเกิด Failure นั้นลดลง

  1. ช่วง Failure กะทันหัน

เป็นช่วงระหว่างการ failure ช่วงแรก กับช่วง Failure สึกหรอ จะป็นช่วงที่เกิดขึ้นกะทันหันเป็น failure ที่ไม่สามารถควาดคะเนได้ว่าจะเป็น Failure ครั้งต่อไปเมื่อไรได้ แต่เป็นช่วงที่สามารถจะคาดคะเนได้ว่าอัตราการเกิด Failure นั้นจะคงที่

  1. ช่วง Failure สึกหรอ

เป็นช่วงที่อัตราการเกิด Failure จะสูงตามระยะเวลาการใช้งาน เพราะความล้า การสึกหรือการเสื่อมสภาพ เป็นช่วง Failure ที่สามารถคาดคะเนล่วงหน้าได้จาการตรวจสอบหรือการควบคุมล่วงหน้า ซึ่งสามารถทำให้อัตราการเกิด Failure ลดลงได้

ดังนั้น เมื่อเรารู้กลไกการเกิดและลักษณะของ Failure แล้ว เราควรสร้างระบบป้องกันก่อนที่เครื่องจักรจะ Failure และ TPM ก็เป็นเครื่องมือบริหารที่มี

“ ปรัญชาการป้องกันล่วงหน้า (การป้องกันไม่ให้เกิด)”

ผ่านการดำเนินการ Autonomous Maintenance และ Planned Maintenance อย่างเป็นระบบ

 

#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล

FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN

#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art

Posted in UncategorizedTagged