การรับสารหรือข้อมูลที่เราสามารถรับรู้ได้ 80% คือการดูและฟัง
และเมื่อเราต้องการสื่อสารจากสารที่รับรู้เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ตรงกัน
การประมวลข้อมูลเป็นภาพ โดยผ่านพื้นฐานทางความคิดเชิงระบบ ประการแรก
ที่เรียกว่า “ภาพความคิด” (THOUGHT MODEL)
ภาพความคิดจะทำให้เราเข้าใจข้อมูลได้ง่ายกว่าแบบ Text หรือแบบตัวหนังสือ หากเราฝึกคิดเป็นภาพ จะทำให้เราเข้าใจความคิดตัวเองได้ง่ายและรวดเร็ว ถ้าคนที่ฝึกคิดเก่ง เช่นการฟังในที่ประชุม ถ้าผู้ฟังฟังแล้วคิดเป็นภาพเลยจะทำให้สามารถเข้าใจได้ง่าย
ภาพความคิด อาจแสดงได้ โดยอาศัย
- เครื่องหมาย/ สัญลักษณ์
- ตาราง/ ไดอะแกรม
- ฯลฯ (ที่สามารถสื่อถึงสิ่งนั้นได้อย่างชัดเจน)
ตัวอย่าง THOUGHT MODEL ลักษณะต่างๆ
จุดเน้นย้ำ ในการเขียน Though Model นั้น ต้องประกอบดัวย 3 สิ่งต่อไปนี้ ต้องฝึกบ่อยๆ
- การเข้าใจเรื่องราว
- ดึงประเด็นจากเรื่องราวนั้น
- เอาประเด็นมาเขียนเป็นภาพ สะท้อนประเด็น เลือกรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจ
และการใช้ประยุกต์ THOUGHT MODEL อย่างง่ายๆ ควรใช้กับการจัดระบบความคิดและกำหนดกลยุทธ์ของแผนงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เรียกว่า System Approach
System Approach คือ ภาพรวมของกระบวนการที่มีการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ โดยมีการตรวจสอบย้อนกลับที่สามารถประเมินผลงานและเป็นวิทยาศาสตร์และสามารถทำซ้ำได้ โดยวิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ Input -> Process -> Output -> Feedback
ขั้นตอนการดำเนินการมีดังนี้
- ขั้นตอนที่ 1 ระบุวัตถุประสงค์ โดยการกำหนด Objective
- ขั้นตอนที่ 2 Output อย่างไร จึงทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
- ขั้นตอนที่ 3 การที่จะได้ผลลัพธ์นี้ ต้องมีวิธีการอย่างไร ระบุขั้นตอนก่อนหน้าที่จะต้องทำให้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์
- ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนก่อนหน้าของขั้นตอนที่ 3 การที่จะทำวิธีการอย่างนี้ ต้องเตรียมอะไรบ้าง
1) ต้องการกำหนดวัตถุประสงค์ให้ตรงตามที่เราต้องการ
2) อย่ายึดติดกับมุมมอง Input -> Process -> Output เท่านั้น
3) มองที่ Output ต้องได้ตามประสิทธิผลที่ต้องการหรือไม่ก่อน แล้วค่อยไปมอง Process ทำได้ประสิทธิภาพหรือไม่ต่อไป
#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล
FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN
#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art
You must be logged in to post a comment.