5 ขั้นตอนสำหรับการเก็บข้อมูลที่ช่วยให้ง่ายต่อการสร้างกำไร

จากประสบการณ์ที่ทำงานกว่า 10 ปี ค้นพบว่าการเก็บข้อมูลสำหรับนำไปใช้วิเคราะห์งานหรือติดตามการแก้ไขปัญหานั้นสำคัญอย่างมาก ยิ่งผมทำงานด้านฝ่ายผลิตและฝ่ายเพิ่มผลผลิตองค์กร ทำให้ต้องใช้จำนวนมาก ซึ่งข้อมูลที่ดีอาจจะไม่ใช้ข้อมูลที่ต้องครบ , เอกสารลงข้อมูลง่าย หรือทุกคนสามารถเข้าใจได้ แต่เป็น “ ข้อมูลที่ดีควรสามารถนำไปสร้างมูลค่าต่อได้ ” ทำไมผมถึงบอกอย่างนั้น เพราะจากการทำงานของผลที่ต้องเก็บข้อมูลจำนวนมา เพื่อใช้สำหรับมาวิเคราะห์มากกว่าสามารถแบ่งให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ดังนี้ คือ ข้อมูลทั้งหมดที่เก็บกันส่วนใหญ่มีข้อมูลที่เรานำไปใช้ได้เพียง 20%   ส่วนข้อมูลอีก 80% เป็นข้อมูลที่เก็บไว้เผื่อได้ใช้หรือเก็บไว้กันหัวหน้าถามหรือ บลาๆๆๆ วิธีแก้ไขนั้นคุณต้องทำเลยและลงมือทันที ซึ่งผมมี 5 ขั้นตอนสำหรับการเก็บข้อมูลที่ช่วยให้ง่าย ซึ่งใช้ประจำดังนี้ ขั้นตอนแรก : เริ่มพิจารณาและแยกแยะข้อมูลที่เก็บ ว่ามีข้อมูลไหนว่าที่สามารถสร้างคุณค่าและไม่สามารถสร้างคุณค่าได้ จากนั้นก็กำจัดข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ออกที่เรียกจาก Waste / Muda   ขั้นตอนสอง : กำหนดหรือนิยาม ข้อมูลที่ต้องการให้สอดคล้องกับดัชนีชี้วัด PQCDSME   ขั้นตอนสาม : พิจารณาข้อมูลที่สามารถสร้างเป็นเงินได้หรือเพิ่มความพึ่งพอใจให้กับลูกค้า เพื่อเป็นการระบุเจาะจงเฉพาะ   ขั้นตอนสี่ : จัดการปรับปรุงแก้ไขเอกสารการเก็บข้อมูลให้สอดคล้องและจัดทำเป็นมาตรฐาน   ขั้นตอนห้า : … Continue reading 5 ขั้นตอนสำหรับการเก็บข้อมูลที่ช่วยให้ง่ายต่อการสร้างกำไร

5 สิ่งเกี่ยวกับพื้นฐานการผลิตแบบ Monodzukuri ไปสู่ Zero loss กับ TPM

อะไรคือกุญแจการดำเนินการที่สำคัญของ TPM หากเราจะเรียงลำดับแบบถูกต้องเปะๆ นั้นคงลำบากไม่น้อย แต่ถ้าจะให้เริ่มนั้นคงหนี้ไม่พ้นเรื่องที่ต้องเป็นแกนหลักเลยที่เดียว ซึ่งผมของเรียกว่า “ พื้นฐานการผลิตแบบ Monodzukuri”   ประกอบไปด้วย 5 อย่างดังนี้ 1. PDCA เป็นที่แนวคิดที่จะที่สะท้อนเป็นพฤติกรรมในการทำงาน ซึ่งข้อสังเกตที่แต่ละขั้นตอนประกอบด้วย Plan : ต้องวางแผนละเอียดรอบคอบ เพียงพอที่จะมั่นใจในความสำเร็จของแผนงาน ไม่ใช่เพียงแค่วางแผนเสร็จเท่านั้น  สรุป : การวางแผนเริ่มแรกให้รอบคอบ จะดีกว่า  วางแผนเริ่มแรกแบบคร่าวๆแต่เสียเวลาแก้ไขในภายหลัง Do : ถ้าไม่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ก็ไม่สามารถที่จะทำได้ครบตามแผนที่วางไว้ Check : เป็นผู้ไม่ละเลยที่จะกลับไปสำรวจตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ (อย่างน้อยควร สำรวจ KPI ของหน่วยงานเราว่าได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ ลองสุ่มถามผู้เรียนดูว่า KPI ที่ผ่านมา 1-2 เดือนที่ผ่านมาได้เป้าหมายหรือไม่ได้เป้าหมาย) Action : เป็นผู้ไม่เพิกเฉย ต่อการทบทวนตน (หากทำได้สำเร็จ ก็พยายามรักษาสิ่งที่ถูกไว้ แต่หากพลาดไป ก็พยายามเรียนรู้จากสิ่งที่พลาดเพื่อนำไปทำการแก้ไขป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดซ้ำ) 2. 5W1H เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้เพื่อรวบรวมวิเคราะห์ สะสางข้อมูลและนำเสนอข้อมูลจากข้อมูลที่ซับซ้อนทำให้เป็นข้อมูลง่าย … Continue reading 5 สิ่งเกี่ยวกับพื้นฐานการผลิตแบบ Monodzukuri ไปสู่ Zero loss กับ TPM

จะทำการลดต้นทุนเท่าไหร่จึงจะดี

สิ้นปีเมื่อไร งานเก่ายังไม่เสร็จ งานใหม่ก็ต้องทำ จะสิ่งที่ต้องทำตลอดคือ " การลดต้นทุน " แต่จะทำการลดต้นทุนเท่าไหร่จึงจะดี จะเห็นได้ว่าด้านล่างของสไสด์จะมีแผนภูมิอยู่ 3 แผนภูมิซึ่งแต่ละแผนภูมิจะเป็นองค์ประกอบของราคาขายซึ่งก็คือ ต้นทุนบวกกับกำไรหากต้องการเพิ่มกำไรจะทำอย่างไรดี วิธีการมี 2 แบบแต่ผลที่ได้ก็จะเหมือนกัน วิธีแรก คือ การเพิ่มราคาขาย ส่วนวิธีที่ 2 คือ การลดต้นทุนซึ่งผลที่ได้ก็คือส่วนที่เป็นกำไร (ส่วนสีชมพู) ก็จะเพิ่มขึ้นหากมีแต่บริษัทของคุณที่ผลิตสินค้าชนิดนั้นหรือพูดอีกอย่างก็คือ บริษัทของคุณผูกขาดสินค้าชนิดนั้น เมื่อเป็นระบบผูกขาดก็ไม่มีการแข่งขัน วิธีแรก คือ การเพิ่มราคาขายจึงเป็นวิธีการที่ได้ผลดีมาก แต่ทว่าในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ตราบใดที่มีคู่แข่งทางการค้า ยังไงก็ต้องลดต้นทุนให้ได้หากต้องการเพิ่มกำไร ส่วนกำไรที่ได้มาจะนำไปใช้อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท ซึ่งนโยบายนั้นอาจจะเป็นการตอบแทนสังคม ให้สวัสดิการแก่พนักงาน ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะนำไปใช้อย่างไร การเพิ่มกำไรก็เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการลดต้นทุนเป็นสิ่งสำคัญ “ เราต้องไม่ลืมว่าเรากำลังแข่งขันกับบริษัทอื่นอยู่เสมอ ” ซึ่งการลดต้นทุน คุณจะต้องเขียนแผนงานทั้ง Master plan หรือ Action plan และการที่คุณจะหาหัวข้อของปัญหานั้นคุณต้องส่วนต่างหรือความแตกต่างให้เจอ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เราควรรวบรวมข้อมูลย้อนหลัง 1-2 ปี สำหรับการวิเคราะห์เพื่อหาปัญหาคืออะไร ซึ่งปัญหาที่เราพบมาจากการวิเคราะห์ที่เรียกว่า … Continue reading จะทำการลดต้นทุนเท่าไหร่จึงจะดี