สิ้นปีเมื่อไร งานเก่ายังไม่เสร็จ งานใหม่ก็ต้องทำ จะสิ่งที่ต้องทำตลอดคือ ” การลดต้นทุน “
แต่จะทำการลดต้นทุนเท่าไหร่จึงจะดี
จะเห็นได้ว่าด้านล่างของสไสด์จะมีแผนภูมิอยู่ 3 แผนภูมิซึ่งแต่ละแผนภูมิจะเป็นองค์ประกอบของราคาขายซึ่งก็คือ ต้นทุนบวกกับกำไรหากต้องการเพิ่มกำไรจะทำอย่างไรดี
วิธีการมี 2 แบบแต่ผลที่ได้ก็จะเหมือนกัน
วิธีแรก คือ การเพิ่มราคาขาย ส่วนวิธีที่ 2 คือ การลดต้นทุนซึ่งผลที่ได้ก็คือส่วนที่เป็นกำไร (ส่วนสีชมพู) ก็จะเพิ่มขึ้นหากมีแต่บริษัทของคุณที่ผลิตสินค้าชนิดนั้นหรือพูดอีกอย่างก็คือ บริษัทของคุณผูกขาดสินค้าชนิดนั้น เมื่อเป็นระบบผูกขาดก็ไม่มีการแข่งขัน วิธีแรก คือ การเพิ่มราคาขายจึงเป็นวิธีการที่ได้ผลดีมาก
แต่ทว่าในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ตราบใดที่มีคู่แข่งทางการค้า ยังไงก็ต้องลดต้นทุนให้ได้หากต้องการเพิ่มกำไร ส่วนกำไรที่ได้มาจะนำไปใช้อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท ซึ่งนโยบายนั้นอาจจะเป็นการตอบแทนสังคม ให้สวัสดิการแก่พนักงาน ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะนำไปใช้อย่างไร การเพิ่มกำไรก็เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการลดต้นทุนเป็นสิ่งสำคัญ
“ เราต้องไม่ลืมว่าเรากำลังแข่งขันกับบริษัทอื่นอยู่เสมอ ”
ซึ่งการลดต้นทุน คุณจะต้องเขียนแผนงานทั้ง Master plan หรือ Action plan และการที่คุณจะหาหัวข้อของปัญหานั้นคุณต้องส่วนต่างหรือความแตกต่างให้เจอ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เราควรรวบรวมข้อมูลย้อนหลัง 1-2 ปี สำหรับการวิเคราะห์เพื่อหาปัญหาคืออะไร ซึ่งปัญหาที่เราพบมาจากการวิเคราะห์ที่เรียกว่า Gap analysis
Gap analysis คือ การจัดเตรียมข้อมูลจุดแข็งและจุดอ่อนในกระบวนการและสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์งานที่อ้างอิง เพื่อนำไปสู่กการหาความแตกต่างระหว่าง สิ่งที่อยากให้เป็นและสิ่งที่เป็นอยู่ ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือสิ่งไม่น่าปรารถนา ความไม่น่าปรารถนาในความแตกต่างนั้น เป็นตัวระบุว่าเป็นปัญหา
ย้ำอีกครั้ง : ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่อยากให้เป็นและสิ่งที่เป็นอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา คือ Gap แต่บางเหตุการณ์เมื่อเกิด Gap แต่ Gap นั้นยังไม่ใช่ปัญหา เพราะ Gap นั้นไม่ส่งผลกระทยต่อสิง่ที่ปราถนาแต่หากถ้า Gap นั้นเกิดขึ้นแล้วส่งผลต่อความไม่น่าปรารถนาถึงจะทำให้เกิดปัญหาทันที
หน้าที่ของ Gap analysis จบลงแล้ว ต่อไปจะเป็นหน้าที่ของการดำเนินการดำเนินการแก้ไขซึ่งสามารถดำเนินการได้ดังนี้
- ตั้งเป้าหมายการปรับปรุง
- ทำความเข้าใจความสูญเสียปัจจุบันของปัญหานั้น
- กำหนดแผนการปรับปรุงและทบทวนเป้าหมาย , Verify การคำนวณ (ทางบัญชี / ค่าเสียโอกาส)
- การกำหนดแผนผัง การวิเคราะห์และแผนประเมินผลมาตรการป้องกัน
- การนำการปรับปรุงมาลงมือดำเนินการ
- การยืนยันรับรองผลที่ได้
- การทำมาตรการเพื่อป้องกันการกลับคืนสู่สภาวะที่เป็นปัจจุบัน (สภาวะก่อนการปรับปรุง)
เพียงเท่านี้ปัญหาจะถูกกำจัดไป และที่ได้มาจาก Gap analysis ซึ่งเท่ากับปัญหา ตามลำดับ QC Story เพื่อเป็นการสรุปการไคเซ็นและนำเสนอการ
จุดสังเกตเพื่อความเข้าใจที่สำคัญในเรื่องนี้จะหาความแตกต่างและความสัมพันธ์ของ
“ปัญหา-อาการ-สาเหตุ ” พบซึ่งความหมายแต่ละอันมีดังนี้
ปัญหา- ผลอันไม่น่าพึงใจ (สร้างความเสียหาย)
อาการ- รายละเอียด แห่งสภาพอันไม่น่าพึงใจ (รู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5)
สาเหตุ- ปัจจัย อันเมื่อกลไกสำเร็จแล้ว จะทำให้ “อาการ” ปรากฎ
การลดต้นทุนอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการที่จะชนะสงครามแห่งความอยู่รอด.
#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล
.
.
www.engiperform.com
www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN
.
#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art
You must be logged in to post a comment.