อะไรคือกุญแจการดำเนินการที่สำคัญของ TPM หากเราจะเรียงลำดับแบบถูกต้องเปะๆ
นั้นคงลำบากไม่น้อย แต่ถ้าจะให้เริ่มนั้นคงหนี้ไม่พ้นเรื่องที่ต้องเป็นแกนหลักเลยที่เดียว
ซึ่งผมของเรียกว่า “ พื้นฐานการผลิตแบบ Monodzukuri” ประกอบไปด้วย 5 อย่างดังนี้
1. PDCA เป็นที่แนวคิดที่จะที่สะท้อนเป็นพฤติกรรมในการทำงาน ซึ่งข้อสังเกตที่แต่ละขั้นตอนประกอบด้วย
Plan : ต้องวางแผนละเอียดรอบคอบ เพียงพอที่จะมั่นใจในความสำเร็จของแผนงาน ไม่ใช่เพียงแค่วางแผนเสร็จเท่านั้น สรุป : การวางแผนเริ่มแรกให้รอบคอบ จะดีกว่า วางแผนเริ่มแรกแบบคร่าวๆแต่เสียเวลาแก้ไขในภายหลัง
Do : ถ้าไม่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ก็ไม่สามารถที่จะทำได้ครบตามแผนที่วางไว้
Check : เป็นผู้ไม่ละเลยที่จะกลับไปสำรวจตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ (อย่างน้อยควร สำรวจ KPI ของหน่วยงานเราว่าได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ ลองสุ่มถามผู้เรียนดูว่า KPI ที่ผ่านมา 1-2 เดือนที่ผ่านมาได้เป้าหมายหรือไม่ได้เป้าหมาย)
Action : เป็นผู้ไม่เพิกเฉย ต่อการทบทวนตน (หากทำได้สำเร็จ ก็พยายามรักษาสิ่งที่ถูกไว้ แต่หากพลาดไป ก็พยายามเรียนรู้จากสิ่งที่พลาดเพื่อนำไปทำการแก้ไขป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดซ้ำ)
2. 5W1H เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้เพื่อรวบรวมวิเคราะห์ สะสางข้อมูลและนำเสนอข้อมูลจากข้อมูลที่ซับซ้อนทำให้เป็นข้อมูลง่าย โดยการเรียงตามลำดับเพื่อความชัดเจนและให้มีผลลัพธ์เพิ่มสูงขึ้น อย่างเช่นการสร้างมาตรฐานงานการปฎิบัติงาน
Why : ทำไมต้องทำ (วัตถุประสงค์)
When : ทำเมื่อไร (ช่วงเวลา-ระยะเวลา)
Who : ใครเป็นคนทำ (คน)
Where : ทำที่ไหน (สถานที่-ตำแหน่ง)
What : ทำอะไร (สิ่งที่เป็นเป้าหมาย)
How : ทำอย่างไร (วิธีการ)
3. ดัชนีชี้วัดกิจกรรมในประจำวัน เป็นที่สิ่งที่ต้องรู้และเข้าใจ เพราะการรู้ว่าเป้าหมายหรือความต้องการของกระบวนการหรือเครื่องจักรนั้น ว่ามีวัตถุประสงค์เพื่ออะไรบ้าง ขั้นพื้นฐานการผลิตที่นิยมใช้ เรียกว่า PQCDSME ซึ่งประกอบไปด้วย
P = ประสิทธิภาพเครื่องจักร ,จำนวหยุด,จำนวนเสีย เป็นต้น
Q = อัตราของเสีย , จำนวนเคลมจากลูกค้า เป็นต้น
C = ต้นทุนการผลิต เป็นต้น
D = สินค้าคงคลัง , การจัดส่ง เป็นต้น
S = ความปลอดภัย จำนวนอุบัติเหตุหยุดงานและไม่หยุดงาน เป็นต้น
M = จำนวนข้อเสนอแนะ , อัตราการลาออก เป็นต้น
E = ยอดเงินการประหยัดพลังงาน,ปริมาณของเสีย , ไคเซ็นด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
4. หลักการ 3Gen ประกอบไปด้วย Genba , Genbutsu , Genjitsu โดย 3G แรก นั้นสำคัญขั้นพื้นฐานเพราะเป็นการลงไปเห็นที่จุดเกิดเหตุเองนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะการหาสิ่งผิดปกติที่เครื่องจักรนั้น เพื่อนำไปแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้น ไม่ใช่นั่งเทียนที่ออฟฟิตหลักการ 3 Gen ที่ว่าคือ
Genba แปลไทย : สถานที่ / หน้างานจริง หมายถึง การลงไปสำรวจที่หน้างานจริง
Genbutsu แปลไทย : สิ่งของ/ชิ้นงานที่เป็นตัวปัญหาจริง หมายถึง การดูสังเกตและจับต้องชิ้นงานที่ผลิตได้จริงหรือตัวสินค้าที่จัดเก็บอยู่จริงหรือชิ้นงานที่กำลังถูกตรวจสอบอยู่
Genjitsu แปลไทย : สถานการณ์จริง หมายถึง เหตุการณ์หรือสถานะการณ์ที่เกิดปัญหาจริง เช่น สภาพแวดล้อมหรือกระบวนการ ขั้นตอนการทำงานหรือช่วงเวลาที่ผลิตของเสียบ่อยๆ หรือที่เกิดปัญหาได้บ่อยๆ
5. สร้างคุณภาพในกระบวนการของตนเอง หมายถึง วิธีการตรวจสอบระหว่างกลางต่อสินค้าที่ผลิตออกมาจากสายการผลิต ซึ่งมีกระบวนการที่เรียกว่า การตรวจสอบแบบสุ่ม (Sampling inspection) เป็นการทดลองตรวจวัด โดยการสุ่มตัวอย่างแบบ Random ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานของการประกันคุณภาพ โดยจะไม่เพียงแต่พึ่งพาการตรวจสอบเฉพาะสอบอย่างนั้นไม่ได้ จะต้องสร้างให้เกิดคุณภาพตามที่กำหนดในกระบวนการทำการผลิต
ลองตรวจสอบดูนะครับว่าเรารู้จักพื้นฐานการผลิตแล้วหรือยัง ???
#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล
FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN
#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art