5 ขั้นตอนสำหรับการเก็บข้อมูลที่ช่วยให้ง่ายต่อการสร้างกำไร

จากประสบการณ์ที่ทำงานกว่า 10 ปี ค้นพบว่าการเก็บข้อมูลสำหรับนำไปใช้วิเคราะห์งานหรือติดตามการแก้ไขปัญหานั้นสำคัญอย่างมาก ยิ่งผมทำงานด้านฝ่ายผลิตและฝ่ายเพิ่มผลผลิตองค์กร ทำให้ต้องใช้จำนวนมาก ซึ่งข้อมูลที่ดีอาจจะไม่ใช้ข้อมูลที่ต้องครบ , เอกสารลงข้อมูลง่าย หรือทุกคนสามารถเข้าใจได้ แต่เป็น

ข้อมูลที่ดีควรสามารถนำไปสร้างมูลค่าต่อได้ ”

ทำไมผมถึงบอกอย่างนั้น เพราะจากการทำงานของผลที่ต้องเก็บข้อมูลจำนวนมา เพื่อใช้สำหรับมาวิเคราะห์มากกว่าสามารถแบ่งให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ดังนี้ คือ ข้อมูลทั้งหมดที่เก็บกันส่วนใหญ่มีข้อมูลที่เรานำไปใช้ได้เพียง 20%   ส่วนข้อมูลอีก 80% เป็นข้อมูลที่เก็บไว้เผื่อได้ใช้หรือเก็บไว้กันหัวหน้าถามหรือ บลาๆๆๆ

วิธีแก้ไขนั้นคุณต้องทำเลยและลงมือทันที

ซึ่งผมมี 5 ขั้นตอนสำหรับการเก็บข้อมูลที่ช่วยให้ง่าย ซึ่งใช้ประจำดังนี้

ขั้นตอนแรก : เริ่มพิจารณาและแยกแยะข้อมูลที่เก็บ ว่ามีข้อมูลไหนว่าที่สามารถสร้างคุณค่าและไม่สามารถสร้างคุณค่าได้ จากนั้นก็กำจัดข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ออกที่เรียกจาก Waste / Muda

 

ขั้นตอนสอง : กำหนดหรือนิยาม ข้อมูลที่ต้องการให้สอดคล้องกับดัชนีชี้วัด PQCDSME

 

ขั้นตอนสาม : พิจารณาข้อมูลที่สามารถสร้างเป็นเงินได้หรือเพิ่มความพึ่งพอใจให้กับลูกค้า เพื่อเป็นการระบุเจาะจงเฉพาะ

 

ขั้นตอนสี่ : จัดการปรับปรุงแก้ไขเอกสารการเก็บข้อมูลให้สอดคล้องและจัดทำเป็นมาตรฐาน

 

ขั้นตอนห้า : จัดทำแผนงานปรับปรุงและตั้งเป้าหมายแต่ละเรื่อง (PDCA , Focus Improvement)

 

เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถกำจัดข้อมูลขยะที่มีอยู่ในการเก็บข็อมูลของคุณ

ตัวอย่างการเก็บข้อมูล ตามรูปจะเป็นการแบ่งเก็บข้อมูลเป็น  5 ส่วน ดังนี้

Loss Analysis Checklist

  1. เวลาหยุดตามเวลาที่หยุดเครื่องจักรเพื่อทำการบำรุงรักษาตามแผนที่วางไว้ หรือวันหยุดต่างๆ (Planned stoppage)
  2. เวลาหยุดเครื่องจักรเสีย สาเหตุมาจากปัจจัยภายในเครื่องจักรหรือเครื่องเสีย (Machine stoppage)
  3. เวลาหรือจำนวนที่หยุดจากเครื่องจักรเล็กๆ น้อยๆ และการเดินเครื่องจักรเปล่า (Minor stoppage)
  4. เวลาหรือความเร็วที่ผลิตต่อรอบ (Processing speed)
  5. จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพกลับมาเข้าขบวนการผลิตซ้ำอีกครั้ง หรือเพื่อทำการซ่อมแซมของดีที่ซ่อมได้ให้เป็นของดี (Quality check)

ซึ่งข้อมูลทั้งนั้นจำเป็นอย่างยิ่งในแต่วันละของเครื่องจักร 1 เครื่อง และมีอยู่ในกระดาษ 1 แผ่น แค่นี้ก็พอเพียงต่อการทำอะไรอีกมากมาย

บทสรุป

Slide1

#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล

HOZENANDKAIZEN

#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art