ข้อดีของปัญหา……ทำให้เราหาความรู้

หลายครั้งการทำงานของเราเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นที่ตัวเราเอง เหตุการณ์ต่างๆที่เราพบนั้นจะเป็นตัวกำหนดการเรียนรู้ของเรา ทำไมถึงบอกอย่างนั้น เพราะ " ปัญหา " คือ สิ่งที่ทำให้เราค้นหาความรู้   ปัญหา คือ ความแตกต่างระหว่าง “สิ่งที่เป็นอยู่” กับ “สิ่งที่อยากให้เป็น” ซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นที่ไม่น่าปรารถนา เราสามารถแบ่งประเภทปัญหาตาม รู้/ไม่รู้สาเหตุ และรู้/ไม่รู้วิธีแก้ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท เริ่มแรก เมื่อพบปัญหาโดยทั่วไปมักจะตัดสินปัญหาได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบรู้สาเหตุรู้วิธีแก้ แบบ C และแบบไม่รู้สาเหตุไม่รู้วิธีแก้ แบบ A ปัญหาแบบ C เป็นปัญหาพื้นๆให้ลงมือแก้ไขเลย   ปัญหาแบบ A เป็นปัญหาที่ไม่รู้สาเหตุไม่รู้วิธีแก้ จึงต้องใช้ความพยายาม ในการหาสาเหตุด้วยการศึกษาอย่างละเอียดจากอาการและค้นหามาตรการแก้ไขหลังจากที่ทราบสาเหตุแล้ว จึงเป็นปัญหาที่มีคุณค่าสำหรับการใช้ความพยายามในการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูล ใช้เทคนิคในการสังเกตอาการ   ปัญหาแบบ D เป็นปัญหาที่ไม่รู้สาเหตุ แต่รู้วิธีแก้ไข ซึ่งจะทราบว่าเป็นประเภท D มาจากการแก้ปัญหาแบบ … Continue reading ข้อดีของปัญหา……ทำให้เราหาความรู้

TPM สร้างระบบการป้องกันล่วงหน้าแบบรูปธรรม

หลักการพื้นฐานของ TPM ว่าด้วยปรัญชาการป้องกันล่วงหน้า เป็นรูปแบบพื้นฐานในการสร้างผลกำไรที่โดยใช้ระบบการจัดการของ Autonomous Maintenance , Planned maintenance และ Education and Training  ซึ่งทั้ง 3 Pillar นี้ จะร่วมมือกันสร้างกลไกในการพัฒนาคนอย่างเป็นรูปธรรม ผมขอเริ่มจากแนวคิดการปรัญชาการป้องกันล่วงหน้า ซึ่งประกอบไปด้วย 3 อย่าง ดังนี้ 1. ป้องกันการเสื่อม ที่มุ่งเน้นการตรวจสอบประจำวัน : เป็นการตรวจสอบที่ง่ายที่สุด เริ่มด้วยการทำความสะอาดจุดมุ่งเน้นจะหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างได้เห็นชัดๆ คือการดำเนินการ Autonomous Maintenance Step 1 : Initial Cleaning (Cleaning and Inspection) หรือแปลเป็นไทย ก็คือ การทำความสะอาดและการตรวจสอบ โดยการทำความสะอาดแบบ Deep Cleaning ทุกซอกทุกมุมของเครื่องจักร เมื่อเรารู้สิ่งผิดปกติ ก็จะนำไปสู่การฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรให้ได้ตาม Basis condition นั้นเอง 2.ตามมาด้วย วัดค่าความเสื่อม ซึ่งเป็นวิธีการตรวจวัดแบบ … Continue reading TPM สร้างระบบการป้องกันล่วงหน้าแบบรูปธรรม

Posted in UncategorizedTagged

Why-Why Analysis จุดเริ่มต้นสู่การปรับปรุงลดความสูญเสีย

หลายครั้งที่การแก้ไขปัญหาไม่สามารถแก้ไขให้หมดสิ้นไปได้ เพราะปัญหานั้นไม่ใช้ “ สาเหตุที่แท้จริง ” และอะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริง หากจะให้เข้าใจง่ายและเป็นระบบ คุณต้องเข้าใจก่อนว่าตามทฤษฎีมีปัญหาด้วยกัน 2 ประเภท คือ ปัญหาเรื้อรัง (Chronic Problem) กับปัญหาครั้งคร่าวหรือปัญหากระทันหัน (Sporadic Problem) ซึ่งเครื่องมือการแก้ไขปัญหาก็จะมีแตกต่างกัน และเคริ่องมือวิคราะห์ที่ใช้ให้อย่างแพร่หลายมีชื่อว่า “Why-Why Analysis” ซึ่งเป็นเทคนิคที่คิดค้นโดยซาคิชิ โตโยดะ (Sakishi Toyoda) ผู้ก่อตั้งบริษัทโตโยต้าและบิดาการปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น Why-Why Analysis ถือเป็นการวิเคราะห์โดยการตั้งคำถามว่าทำไม และตอบคำถามจนถึงสาเหตุที่แท้จริง ซึ่ง การดำเนินการ “ทำไม ทำไม” ที่นิยมมีอยู่ 2 แบบ คือแบบผังก้างปลา และผังต้นไม้ แต่ไม่ว่าจะใช้แบบไหน ทั้งสองผังก็เป็นการตอบคำถาม เพื่อวัตถุประสงค์ที่ต้องการเดียวกันคือ เพื่อไม่ให้สิ่งนี้เกิดอีก จะต้องทำอะไร อย่างไร เหมือนกัน ซึ่งเทคนิคการวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นต้นเหตุ ที่เป็นระบบ มีลำดับขั้นตอนการวิเคราะห์ ทำให้ไม่ตกหล่น ไม่มั่ว เป็นไปตามขั้นตอน ไม่ตกหล่น ไม่ใช่เดาหรือนั่งเทียน กรณีดำเนินการวิเคราะห์ … Continue reading Why-Why Analysis จุดเริ่มต้นสู่การปรับปรุงลดความสูญเสีย

Posted in UncategorizedTagged