หลักการพื้นฐานของ TPM ว่าด้วยปรัญชาการป้องกันล่วงหน้า เป็นรูปแบบพื้นฐานในการสร้างผลกำไรที่โดยใช้ระบบการจัดการของ Autonomous Maintenance , Planned maintenance และ Education and Training ซึ่งทั้ง 3 Pillar นี้ จะร่วมมือกันสร้างกลไกในการพัฒนาคนอย่างเป็นรูปธรรม
ผมขอเริ่มจากแนวคิดการปรัญชาการป้องกันล่วงหน้า ซึ่งประกอบไปด้วย 3 อย่าง ดังนี้
1. ป้องกันการเสื่อม ที่มุ่งเน้นการตรวจสอบประจำวัน : เป็นการตรวจสอบที่ง่ายที่สุด เริ่มด้วยการทำความสะอาดจุดมุ่งเน้นจะหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างได้เห็นชัดๆ คือการดำเนินการ Autonomous Maintenance Step 1 : Initial Cleaning (Cleaning and Inspection) หรือแปลเป็นไทย ก็คือ การทำความสะอาดและการตรวจสอบ โดยการทำความสะอาดแบบ Deep Cleaning ทุกซอกทุกมุมของเครื่องจักร เมื่อเรารู้สิ่งผิดปกติ ก็จะนำไปสู่การฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรให้ได้ตาม Basis condition นั้นเอง
2.ตามมาด้วย วัดค่าความเสื่อม ซึ่งเป็นวิธีการตรวจวัดแบบ TBM : Time Based Maintenance หรือการบำรุงรักษาตามคาบเวลา) ตัวอย่างเช่น เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยน หากไม่เปลี่ยนจะเกิด Failure และ CBM : Condition Based Maintenance หรือการบำรุงรักษาจากการทำนายสภาพ) ตัวอย่างเช่น เมื่อครบเวลาที่ต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนจะตรวจสอบเครื่องจักรเพิ่มเติมแล้วทำการคาดคะแนเพื่อดูแนวโน้มความเป็นไป โดยดูลักษณะพิเศษของดารเสื่อมสภาพ แล้วค่อยเปลี่ยน
3.ฟื้นฟูสภาพเสื่อมหรือ PM : Preventive Maintenance ซึ่งเป็นบำรุงรักษาเชิงป้องกัน: เป็นการโฮเซ็น (ธำรงรักษา) ของเครื่องจักร จะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขการใช้งานพื้นฐานของเครื่องจักร หมายความว่า ต้องทำให้มีการเดินเครื่องปกติ
หลังจากรู้หลักการไปแล้ว ผมจะมาเจาะลึกแต่ละ Pillar ถึงวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบและสามารถไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอเริ่มด้วย Autonomous Maintenance
ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่แท้จริง คือ การยกระดับความสามารถด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้กับผู้ควบคุมเครื่องจักร , ด้านการควบคุมสายการผลิต รวมถึงด้านการปรับปรุงและควบคุมเงื่อนไขให้กับผู้ควบคุมเครื่องจักร โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะกำจัดความสูญเสียให้หมด โดยให้พนักงานมีความสามารถ 7 อย่าง สำหรับเป็น Operator ที่เก่งเครื่องจักร หรือเรียกว่า ปั้นดินให้ดาวนั้นเอง ความสามารถ 7 อย่าง ที่จะได้
1.ความสามารถวิเคราะห์สาเหตุ , 2.ความสามารถทำไคเซ็น , 3.ความสามารถกำหนดเงื่อนไข ,4.ความสามารถปรับปรุงเงื่อนไข ,5.ความสามารถควบคุมเงื่อนไข , 6.ความสามารถค้นพบสิ่งผิดปกติ ,7.ความสามารถจัดการ ฟื้นสภาพ
ตามมาด้วย Planned maintenance วัตถุประสงค์สร้างแบบการบริหารการบำรุงรักษาเครื่องจักร (Maintenance Management) แนวคิดคือ ส่วนหรือชิ้นส่วนที่มีฟังก์ชั่นของเครื่องจักร มีคุณลักษณะในการเสื่อมสภาพอย่างไร ต้องบำรุงรักษาอย่างไรต้องรู้ให้หมด นั่นหมายถึง แนวคิดที่ว่า เครื่องจักรแบบไหน ต้องควบคุมตรงไหน อย่างไร แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
PM : Preventive Maintenance
(บำรุงรักษาเชิงป้องกัน) : เป็นการโฮเซ็น (ธำรงรักษา) ของเครื่องจักร จะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขการใช้งานพื้นฐานของเครื่องจักร หมายความว่า ต้องทำให้มีการเดินเครื่องปกติ
CM : Corrective Maintenance
(บำรุงรักษาเชิงแก้ไข) : เป็นการแก้ไขปรับปรุงวิธีบำรุงรักษาแต่จะหมายถึงการแก้ไขปรับปรุงตัวเครื่องจักรเพื่อที่จะลดความเสียหายจากการเสื่อมสภาพและค่าใช้จ่ายของการบำรุงรักษาลง กล่าวคือเป็นการปรับปรุง คุณสมบัติของเครื่องจักรให้ดีขึ้น
MP : Maintenance Prevention
(ป้องกันการบำรุงรักษา) เป็นการป้องกันการบำรุงรักษาจะได้ผลก็ต่อเมื่อมีข้อมูลและประวัติของเครื่องรุ่นแรก ๆ โดยละเอียด ซึ่งการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่จะช่วยให้การออกแบบหรือการเลือกซื้อเครื่องจักรบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการป้องกันการบำรุงรักษาได้
Pillar สุดท้ายที่เป็นไพ่ไม้ตายของ TPM ที่ใช้ขับเคลื่อน โดย Pillar Education and Training มีแนวคิดการฝึกอบรม คือ ต้องฝึกอบรมที่มีการลงมือปฏิบัติจริง (On-the-Job-Training) และเรียนรู้และพัฒนาด้วยตนเอง (Self-Development) และมุ่งเน้นการสร้างระบบ Training Circle
โดยวัตถุประสงค์นั้นจะพัฒนาคนเป็น 2 กลุ่ม คือ Operator และ Technician ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้
พัฒนา Operator ที่ชำนาญเครื่องจักร
- สามารถตรวจจับสิ่งผิดปกติและแก้ไขได้
- เข้าใจโครงสร้างและหน้าที่ของเครื่องจักรและค้นพบสาเหตุของความผิดปกติได้
- เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องจักรและคุณภาพ และ สามารถทำนายสิ่งผิดปกติด้านคุณภาพและค้นพบสาเหตุได้
- รู้วิธีการและซ่อมแซมเครื่องจักรได้
สร้าง Technician ที่ชำนาญเครื่องจักร
- ให้คำแนะนำโอเปอเรเตอร์เรื่องการเดินเครื่อง และบำรุงรักษาเครื่องจักรรายวันอย่างถูกต้อง
- สามารถบอกได้ว่าเครื่องจักรปกติหรือผิดปกติ
- ค้นหาสาเหตุความผิดปกติและซ่อมให้กลับสู่สภาพปกติได้อย่างถูกต้อง
- ปรับปรุงความสามารถของเครื่องจักรและชิ้นส่วนให้สูงขึ้น
- เข้าใจวิธีวินิจฉัยเครื่องจักร การใช้งานและกำหนดเป็นมาตรฐาน
- ควบคุมค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เครื่องจักรให้อยู่ในจุดที่พอดี และทำให้เกิดความคุ้มทุนมากที่สุด
สุดท้ายนี้ การพัฒนาคนเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะคนที่มีคุณภาพจะสามารถสร้างผลการทำงานที่ดีที่สุดในหน้าที่ของตนเองที่รับผิดชอบ และทำให้เกิดจากการปฏิบัติงานร่วมกัน ในการกำหนดขีดความสามารถใสแต่ละตำแหน่ง แต่ละระดับจะต้องมีขีดความสามารถในแต่ละประเภทชนิดใดบ้าง ที่จะทำให้มีผลการปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จ และทำให้บรรุลวิสัยทัศน์และนโยบายขององค์กรได้
#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล
FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN
#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_KC
You must be logged in to post a comment.