ข้อดีของปัญหา……ทำให้เราหาความรู้

หลายครั้งการทำงานของเราเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นที่ตัวเราเอง

เหตุการณ์ต่างๆที่เราพบนั้นจะเป็นตัวกำหนดการเรียนรู้ของเรา

ทำไมถึงบอกอย่างนั้น เพราะ ” ปัญหา ” คือ สิ่งที่ทำให้เราค้นหาความรู้

 

ปัญหา คือ ความแตกต่างระหว่าง “สิ่งที่เป็นอยู่” กับ “สิ่งที่อยากให้เป็น”

ซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นที่ไม่น่าปรารถนา

Slide1

เราสามารถแบ่งประเภทปัญหาตาม รู้/ไม่รู้สาเหตุ และรู้/ไม่รู้วิธีแก้

ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

Slide2

เริ่มแรก เมื่อพบปัญหาโดยทั่วไปมักจะตัดสินปัญหาได้เป็น 2 ประเภท คือ

แบบรู้สาเหตุรู้วิธีแก้ แบบ C และแบบไม่รู้สาเหตุไม่รู้วิธีแก้ แบบ A

  • ปัญหาแบบ C เป็นปัญหาพื้นๆให้ลงมือแก้ไขเลย

 

  • ปัญหาแบบ A เป็นปัญหาที่ไม่รู้สาเหตุไม่รู้วิธีแก้ จึงต้องใช้ความพยายาม ในการหาสาเหตุด้วยการศึกษาอย่างละเอียดจากอาการและค้นหามาตรการแก้ไขหลังจากที่ทราบสาเหตุแล้ว จึงเป็นปัญหาที่มีคุณค่าสำหรับการใช้ความพยายามในการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูล ใช้เทคนิคในการสังเกตอาการ

 

  • ปัญหาแบบ D เป็นปัญหาที่ไม่รู้สาเหตุ แต่รู้วิธีแก้ไข ซึ่งจะทราบว่าเป็นประเภท D มาจากการแก้ปัญหาแบบ A ไปได้ระยะหนึ่ง ซึ่งแม้ยังไม่รู้สาเหตุ แต่พบมาตรการแก้ไข ปัญหาประเภท D จึงเป็นปัญหาที่จะต้องเอาใจใส่ดูแลให้ทำตามมาตรการที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ

 

  • ปัญหาแบบ B เป็นปัญหาที่รู้สาเหตุ แต่ไม่รู้วิธีแก้ไข ซึ่งจะทราบว่าเป็นประเภท B มาจากการแก้ปัญหาแบบ A ไปได้ระยะหนึ่งจนพบสาเหตุแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการที่จะแก้ไขสาเหตุนั้นในองค์กร ยังมีความจำกัดในเรื่องเทคโนโลยีที่คุ้มทุน เช่น เทคโนโลยีในองค์กรยังไม่มี หรือ เทคโนโลยีที่คุ้มทุนในการดำเนินกิจการยังไม่มี

          สุดท้ายนี้ปัญหาต้องถูกแก้ไขอย่างเป็นระบบพร้อมกับการสร้างมาตรฐานขึ้นมาทดแทน เพื่อเป็นการรักษาไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมาอีกซึ่งเราเรียกว่า การบริหารงานประจำ (Daily management system) และการแก้ไขปัญหาเป็นส่วนหนึ่งขอการทำกำไรให้รูปแบบของ Total Productive Maintenance ซึ่งเป็นเครื่องมือบริหารนี้ถูกพัฒนาจากหน่วยงาน Japan Institute of Plant Maintenance (JIPM) โดยมีรากฐานมากจากการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ PM : Preventive Maintenance (บำรุงรักษาเชิงป้องกัน)  ซึ่งเป้าหมายเป็นหมายเพื่อลดการใช้แรงงานในอุตสาหกรรม โดยสร้างวิธีเพิ่มผลผลิตและเพิ่มความเชื่อถือผ่านรูปแบบการบริหารการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิต  เพื่อทำให้บริษัทสามารถสร้างผลกำไรได้โดยมีวิธีการ คือ การกำจัด Loss ทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไป  ด้วยการทำให้  “เป็นศูนย์”  และ “ป้องกันการเกิดซ้ำ , ป้องกันล่วงหน้าก่อนเกิด” โดย ทุกคนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเพื่อกำจัดความสูญเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Loss)

รูปแบบการสร้างกำไรสไตส์ TPM

 

#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล

FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN

#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_KC