5 เทคนิคการบริหาร OEE ให้ได้มีประสิทธิผล

           จากที่ผมได้ไปให้คำปรึกษาด้านเพิ่มผลผลิตโรงงานขนาด Size S กับ M  ซึ่งมีพนักงานประมาณ 100-200 คน/โรงงาน ซึ่งทั้ง 3 โรงงานมีการใช้เครื่องจักรเป็นในการแปรรูปสินค้าเป็นหลัก ซึ่งผมเองได้ทำการ Gamba ลงพื้นที่ในโรงงานเพื่อสำรวจการหาความสูญเสียและความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต ซึ่งผมเองก็ได้พบประเด็นมากมายระหว่างการผลิต เมื่อดูกระบวนการผลิตเสร็จสิ้น ผมและทีมงานของโรงงานได้มานั่งคุยกันเพื่อพิจารณาหา Gap ในการปรับปรุงเพื่อลดต้นของโรงงาน

       เนื่องจากโรงงานทั้ง 3 แห่งใช้เครื่องจักรในการผลิตเป็นหลัก ผมเลยตั้งคำถามมุ่งเน้นไปการวัดประสิทธิภาพเครื่องจักรซึ่งเป็นที่นิยม คือ OEE หรือ Overall  Equipment  Efficiency ซึ่งเป็นการวัดประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร เป็นตัววัดเพื่อตัดสินว่า เวลาที่เครื่องจักรจะต้องเดินนั้น  ได้มีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ( อัตราส่วนของเวลาที่เครื่องจักรสร้างมูลค่าเพิ่ม )  ซึ่งค่า OEE นั้นต้องมาจากการคำนวณ ซึ่งมีค่าของเวลาหยุดของเครื่อง  ความเร็วการผลิตต่อชั่วโมงและของเสีย

                ที่น่าแปลกใจของผมไม่ใช่ตัวเลขจากการคำนวณ แต่เป็นสิ่งที่เมื่อได้ค่า OEE มาจากคุณจะดำเนินการอย่างไรต่อ เพราะการตามหลักการของ TPM จากด้วยการดำเนิน Focus Improvement หรือ การปรับปรุงเฉพาะจุด ซึ่งบริบทของการดำเนินการกิจกรรมนี้ เน้นทำกำไรให้องค์กรอย่างแท้จริง เพราะการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิต  เพื่อทำให้บริษัทสามารถ สร้างผลกำไร ได้โดยมีวิธีการคือการกำจัด Loss ทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไป ด้วยการทำให้  “เป็นศูนย์”  และ “ป้องกันการเกิดซ้ำ , ป้องกันล่วงหน้าก่อนเกิด” โดย ทุกคนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเพื่อกำจัดความสูญเสียให้เป็นศูนย์  (Zero Loss)  ซึ่งเป็นภารกิจหลักและลักษณะเด่นของกิจกรรม TPM

แต่ด้วยจำนวนพนักงานที่กำจัด ผมเลยแนะนำและเสนอแนวทางที่จะทำให้การบริหาร OEE ให้ได้มีประสิทธิผลอย่างง่าย  ๆ ดังต่อไปนี้

1.เริ่มด้วยการคืนสภาพเครื่องจักร (Restore the machine) เน้นการทำความสะอาดแบบ Deep Cleaning เพื่อตรวจสอบหาสิ่งผิดปกติและฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรให้ได้ตาม Basis condition

am-step-11

2.Visual control แบบ Activity Board เพื่อเป็นการให้ความสําคัญกับข้อมูลข่าวสารที่จําเป็นในการทํางานผ่านสายตาของพนักงานเห็น “ข้อมูล” สำหรับให้ผู้คนได้เห็นและรับรู้ ว่าเป้าหมายและผลการทํางานเป็นไปตามที่เป็นไปอย่างชัดเจนอยู่ตลอดหรือไม่ผลลัทธ์ในที่นี้เป็นไปได้ทั้งเชิงปริมาณ คุณภาพ ประสิทธิภาพ ความพึงพอใจของลูกค้า หรือตัวชี้วัดอื่น

3.Corrective Action เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติหรือไม่ได้ตามมาตรฐาน ให้ดำเนินการแก้ไข มุ่งเน้นที่การแก้ไขไปได้โดยปกติอย่างรวดเร็ว

4.Preventive Action หากสิ่งผิดปกตินั้นมีการแก้ไข มากกว่าที่มาตรฐานงานกำหนดไว้ ให้ดำเนินการปรับปรุงมาตรฐานงานใหม่

5.Theme Resolution Summary จาก Layer Meeting เป็นการสรุปปรับปรุงที่เขียนให้เสร็จภายใน 1 แผ่น สำหรับการยืนยันผล ควรเล่าเรื่องราวอย่างเรียบง่าย โดยเริ่มจากด้านบนซ้ายสิ้นสุดมุมล่างขวา โดยด้านซ้าย ระบุปัญหา ด้านขวาระบุแนวทางแก้ไขควรเล่าเรื่องราวได้อย่างสมบูรณ์ในหน้ากระดาษเดียวขสามารถยืดหยุ่นได้ไม่มีรูปแบบที่ถูกที่สุด เป็นจิตวิญญาณการเล่าเรื่องไม่สําคัญที่กระดาษตราบใดที่ยังใช้เล่าเรื่อง จะใช้รูปแบบใดก็ได้ที่เห็นสมควร เป็าประสงค์ไม่ใช่เติมคําในช่องว่าง แต่เป็นประโยชน์ของการนําแนวคิดมาใช้

theme-resolution-summaary-format

ซึ่งหากจะให้เห็นภาพอย่างง่ายๆ ก็จะเป็นการหมุนวงล้อ 2 ล้อ คือ SDCA กับ PDCA

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Daily Management และ Focus Improvement

DM & PS

#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล

FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN

#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_KC