ชีวิตการทำงานมันไม่ได้ง่ายและยากเกินไปสำหรับทุกท่าน ขึ้นอยู่กับว่าคุณเข้าใจแนวคิดการทำงานหรือไม่ ผมจำได้ว่าตอนเริ่มทำงานใหม่เราจะมุ่งเน้นการทำงานที่หัวหน้าสั่ง เพราะเราไม่รู้จะทำอะไรและยังไม่เคยลิ้มลิงการทำงานอย่างแท้จริง เมื่อผมทำงานผ่านไป 3 ปี งานเริ่มเยอะตามตำแหน่งหน้าที่และความมีประสบการณ์ที่เพิ่มมากขึ้น ความรู้ที่เรียนมาเริ่มใช้งานไม่ได้ ต้องหาความรู้ใหม่เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา จนผ่านไป 10 ปีที่ผ่าน ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไร งานแบบไหน มันก็มีการทำงานแค่ 2 แบบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 โลก คือ PDCA และ SDCA
อะไรคือ PDCA และ SDCA ???
PDCA เป็นแนวคิดหนึ่ง เป็นแนวคิดนี้เน้นให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แนวคิด PDCA ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Walter Shewhart ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรม และต่อมาวงจร PDCA ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย มากขึ้น เมื่อปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพ อย่าง W.Edwards Deming ได้นำมาเผยแพร่ ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการ PDCA หรือที่เรียกว่าวงจรเดมิง (อังกฤษ: Deming Cycle) หรือวงจรชูฮาร์ต (Shewhart Cycle) คือ วงจรการควบคุมคุณภาพ https://th.wikipedia.org/wiki/PDCA ซึ่งประกอบไปได้ 4 อย่างได้
1) Plan คือ วางแผน
2) DO คือ ลงมือทำ
3) Check คือ ตรวจสอบ
4) Act คือ การปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม หรือบรรลุเป้าหมายให้รักษาไว้ โดยทำเป็นมาตรฐานการทำงานหรือถ้าไม่สำเร็จ วิเคราะห์กระบวนการหาจุดอ่อน ที่ไม่ได้ตามเป้าหมาย ที่วางไว้ และดำเนินการแก้ไข
ตัวอย่างการงานที่ใช้ PDCA กลุ่มงานที่ต้องสร้าง พัฒนา หรือเรียกง่ายๆว่า “ งานปรับปรุง ”
SDCA คือ การสร้าง Daily Management หรือการบริหารงานประจำ เป็นส่วนนึงมาจาก Total Quality Management สำหรับการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเริ่มมาจาก “งานมาตรฐาน” หรือ Work standard เป็นการบริหาร S แบบมีประสิทธิผล ซึ่งวัตถุประสงค์ของ S นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่ให้พนักงานหรือคนที่ปฎิบัติสามารถแทนกันได้และได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกันแต่ในความเป็นจริงแล้วการนำ DM มาใช้นั้นต้องประกอบไป 4 module (โมดูล) และ 7 ข้อย่อย มีดังต่อไปนี้
- รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานเรา (S)
- มาตรฐานงาน (S)
- จุดควบคุมและตัวชี้วัด (S)
- ลงมือทำ (D)
- ตรวจสอบ โดยใช้ระบบควบคุมการมองเห็น ( Visual control ) (C)
- เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติ ให้ดำเนินการแก้ไข หรือเรียกว่า Corrective Action ( มุ่งเน้นที่การแก้ไขไปได้โดยปกติอย่างรวดเร็ว) (A)
- หากสิ่งผิดปกตินั้นมีการแก้ไข มากกว่าที่มาตรฐานงานกำหนดไว้ ให้ดำเนินการปรับปรุงมาตรฐานงานใหม่ หรือเรียกว่า Preventive Action (มุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้น) (A)
ตัวอย่างการงานที่ใช้ SDCA กลุ่มงานที่ทำงานทุกวัน เป็นแบบ Routine หรือเรียกง่ายๆว่า “ งานรักษามาตรฐาน” หรือ “ ป้องกันการถดถอย ”
สุดท้ายนี้คุณจะเห็นว่าการทำงานคุณจะมีแค่ 2 อย่างนี้ตาม SDCA / PDCA Cycle จงหมุนในบ่อยๆ และเลือกวงที่จะหมุนด้วยนะครับ
ตัวอย่างการหมุน SDCA / PDCA Cycle แต่ละระดับ
#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล
FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN
#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_KC
You must be logged in to post a comment.