เครื่องจักร, เครื่องกล หรือ เครื่องจักรกล (หรืออาจเรียกเพียง เครื่อง) หมายถึง เครื่องมือชนิดหนึ่งที่ประกอบขึ้นจากส่วนหนึ่งหรือส่วนต่าง ๆ หลายส่วน ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายเฉพาะเจาะจงอย่างหนึ่ง เครื่องจักรเป็นอุปกรณ์ที่มีพลังขับเคลื่อน ซึ่งมักจะเป็นพลังงานเชิงกล เคมี ความร้อน หรือไฟฟ้า เป็นต้น และบ่อยครั้งก็ถูกทำให้เป็นเครื่องยนต์ ในประวัติศาสตร์ อุปกรณ์จะเรียกว่าเป็นเครื่องจักรได้ก็ต่อเมื่อมีส่วนที่ขยับเคลื่อนที่ได้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์นำไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นต้องมีส่วนที่ขยับเคลื่อนที่ได้ แต่ก็ยังถือว่าเป็นเครื่องจักรอยู่
เครื่องจักรมีบทบาทสำคัญอย่างมากในปัจจุบันเพราะประเทศเรามีโรงงาน SME ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอุตสาหกรรม 2.0 ยุคที่เริ่มมีสายการผลิต มีโรงงาน มีการผลิตแบบ Mass production ที่สามารถผลิตสินค้าที่เหมือนกันได้ปริมาณมากเพื่อต้นทุนที่ประหยัด ตามด้วยโรงงานบางส่วนอยู่ในช่วงอุตสาหกรรม 3.0 ซึ่งเป็นระบบที่มีการนำระบบอัตโนมัติ ทั้งหุ่นยนต์และแขนกลเข้ามาใช้ตามโรงงานแทนที่แรงงานมนุษย์ และโรงงานยักษ์ใหญ่ก็กำลังจะก้าวไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 – เป็นระบบที่มีการนำการติดต่อสื่อสารของข้อมูลมาประยุกต์ใช้ ยิ่งประเทศพัฒนามากเท่าไร เครื่องจักรกลก็มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง
ก่อนที่จะไปอนาคตกัน เรามาอยู่กับปัจจุบันกันก่อนและสถานะที่เป็นหรือเห็นกันจามโรงงาน คือ เครื่องจักรยังไม่สามารถซ่อมตัวเองได้ ซึ่งหมายความว่า ผู้ควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ ยังคงมีความสำคัญอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการเจริญเติบโตของเหล่าหุ่นยนต์มีมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งทำให้ความต้องการ บุคคลทางด้านเทคโนโลยีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งในการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาแต่ละครั้งนั้น จะมีแต่มนุษย์เพียงคนเดียวที่สามารถเป็นผู้ป้อนข้อมูลคำสั่งเข้าไปในระบบ เพื่อออกคำสั่งให้แก่หุ่นยนต์ได้และซ่อมบำรุง
ซึ่งแนวคิดที่สำคัญจะใช้งานเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิพลหรือทำให้เครื่องไม่หยุดระหว่างการผลิต คือ ปรัญชาการป้องกันล่วงหน้า ซึ่งเป็นหลักการหลักการพื้นฐาน รวมไปถึงจุดมุ่งหมายหลักของ Total Productive Maintenance ว่าด้วยการมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรที่สามารถตอบรับยุค Factory Automation และโปรแกรมการพัฒนาบุคลากรนั้นเกิดจาก 5 พฤติกรรมที่นำไปสู่เครื่องจักรขัดข้อง ซึ่งมีดังต่อไปนี้
- ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขพื้นฐาน คือ การที่ผู้ควบคุมหรือใช้งานเครื่องจักรละเลยการบำรุงรักษาประจำวัน (Daily Maintenance) เช่น การขันแน่น การตรวจสอบ การหล่อลื่น และการทำความสะอาด เป็นต้น
- ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการใช้งาน คือ การปฏิบัติงานที่ลัดขั้นตอน ไม่เป็นไปตามที่กำหนด ขั้นตอนนี้พบประจำกับพนักงานใหม่ๆ ที่ไม่ผ่านการอบรมจึงทำให้ไม่รู้ถึงผลกระทบถ้าไม่ปฏิบัติตาม และพนักงานเก่าที่รู้เยอะจนละเลยข้ามขั้นตอนไปมา
- เมื่อขัดข้องแล้ว แก้ไขเฉพาะจุดนั้น ไม่พิจารณาจุดอื่นๆ โดยมุ่งเน้นที่การแก้ไขไปได้โดยปกติอย่างรวดเร็วเฉพาะจุดที่เกิดปัญหา(Corrective Action) จนมองข้ามการการป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้น หรือ Preventive Action
- ออกแบบมาไม่เหมาะสมกับสภาพการใช้งานจริง เครื่องที่ใช้งานออกแบบหรือซื้อมาแล้วไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ หน้างานจริง ซึ่งลักษณะแบบนี้เกิดได้บ่อยกับการซื้อเครื่องแบบสำเร็จรูปแล้วมาติดตั้งจนละเลยมาเชื่อมโยงกับสายการผลิตที่เกี่ยวข้อง
- ไม่มีทักษะในการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องจักร กล่าวได้ว่าพนักงานผู้ปฎิบัติหรือช่างซ่อมบำรุงไม่มีทักษะที่จะดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรที่เพียงพอกับเทคโนโลยีพี่พัฒนาขึ้น หรือพูดง่ายๆ ไม่มีการปรับปรุงเทคโนโลยีการบำรุงรักษาและทักษะให้ทันสมัย
ซึ่งหากโรงงานหรือองคกรใดปล่อยให้เกิดทั้ง 5 พฤติกรรมนี้ ผมรับรองได้เลยว่าท่านจะเจอกับปัญหาเครื่องจักรเสียทุกวัน การแก้ไขปัญหาง่ายนิดเดียว คือ “ ทำงานตรงข้าม ” กับ 5 พฤติกรรมที่กล่าวมา
แต่ถ้าเป็นคุณต้องการแก้ไขอย่างเป็นระบบ ผมแนะนำให้ใช้ TPM ในการสร้างระบบป้องกัน ซึ่งหัวข้อที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย
Autonomous Maintenance ยกระดับความสามารถให้กับผู้ควบคุมเครื่องจักร กับสโลแกนถ้าเครื่องจักรเปลี่ยน คนเปลี่ยน หน้างานก็เปลี่ยน
Planned Maintenance สร้างระบบป้องกันการเกิดซ้ำ แบบการบริหารการบำรุงรักษาเครื่องจักร (Maintenance Management)
Education and Training การสร้างระบบ Training Circle People Management สำหรับพัฒนาคนองค์กรอย่างยั่งยืน
Early Management สร้างระบบการเริ่มต้นแต่แรก การพัฒนาสินค้า ให้สามารถผลิตที่ดีมีคุณภาพออกมาได้ตั้งแต่ครั้งแรกแบบ Maintenance Prevention Design (EPM) และการพัฒนาเครื่องจักรอย่างประหยัดที่สุดและเร็วที่สุด แบบ Vertical Startup (EEM)
Daily Management การบริหารงานมาตรฐานแบบมีประสิทธิผลและป้องกันการถดถอย (Standardization for prevention)
สุดท้ายนี้การที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จ คือ “ การลงมือทำ ”
#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล
FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN
#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_KC