สิ่งนึงที่ผมไม่อยากเชื่อกับการทำงานแบบ TPM ว่าจะสามารถเพิ่มหรือสร้างทักษะที่ใช้ในการทำงานและตัดสินใจของผมเพิ่มมากขึ้น โดยสิ่งที่ผมใช้วัดผมคือเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์ที่รวดเร็วขึ้นและการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำ (ไม่นับปัญหาใหม่ครับ) อะไรเป็นสาเหตุที่เครื่องมือบริหารนี้ถึงสามารถพัฒนาคนได้ หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน (2552) ผมได้มีโอกาสทำงานร่วมกับบริษัทสัญชาติไทยแหล่งหนึ่ง โดยบริษัทนั้นได้นำเครื่องมือบริหารที่ชื่อ TPM (Total Productive Maintenance) เข้ามาใช้ในการบริหารการผลิต โดยผมไม่ได้รับการอบรมอะไรมากมาย แต่มีโอกาสดีที่ได้ร่วมดำเนินการกับฝ่ายบริหารทั้ง 8 Pillar ซึ่งเป็นการทำงานหน้างานจริง ของจริง สถานที่จริง ผ่านการวิเคราะห์จริงๆ ผ่านการดำเนินการ 3ปี พบว่าผมเองสามารถวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาเป็นเหตุและผลมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการหลัการของ TPM ที่ต้องการสร้างและพัฒาบุคคลากรให้ซึ่งสามารถสรุปความสามารถ 7 อย่าง ดังต่อไปนี้
- ความสามารถวิเคราะห์สาเหตุ เกิดจากการที่ดำเนินการกิจกรรมปรับปรุงเฉพาะจุด Focus improvement ที่เน้นการค้นหาและกำจัดความสูญเสียในโรงงาน ยิ่งคุณกำจัดความสูญเสียเยอะ ก็จะต้องวิเคราะห์ปัญหาเยอะ โดยผ่านการหมุนวงล้อ PDCA โดยการกำจัดความสูญเสียนั้น คุณจะต้องใช้เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ไม่ว่าจะเป็น Why-Why Analysis , P-M Analysis เป็นต้น สิ่งที่เกิดคือความสามารถในการทำความเข้าใจหลักการและหลักเกณฑ์ แล้วทำการค้นหาสาเหตุอย่างมีเหตุผลตามกลไกของมัน ดังนั้น หากได้ฝึกฝนแนวคิดการวิเคราะห์ PM ได้ก็จะมีประโยชน์มาก
- ความสามารถทำไคเซ็น คือ ความสามารถในการทำความเข้าใจหลักเกณฑ์ 4 อย่างของไคเซ็น สำหรับความบกพร่องที่ได้ค้นพบ แล้วดำเนินการแก้ไขในจุดที่ใกล้เคียงกับต้นกำเนิดให้มากที่สุด (เน้นจุดที่เกิดมากกว่า จุดที่ทำได้ยาก) ซึ่งมาจากกการวิเคราะห์สาเหตุเพื่อเป็นการระบุเป้าหมายในการดำเนินการได้อย่างชัดเจน การไคเซ็นนั้นเป็นการปรับปรุงงานให้ดีกว่าเดิม ซึ่งรูปแบบการทำไคเซ็นก็จะแตกต่างกันออกไป เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ขอยกตัวอย่างอย่างง่ายให้เข้าใจ เช่น เมื่อเราฟื้นฟูเครื่องจักรให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ควรจะเป็น จากนั้นก็เรอ้มกำจัด
- ความสามารถกำหนดเงื่อนไข ความสามารถนี้ได้มาจาการไคเซ็นเนื่องด้วยการวิเคราะห์นั้นจะมุ่งเน้นไปที่การกำหนดเงื่อนไขของเครื่องจักรที่ผลิตของดี และในการกำหนดมาตรฐานการพิจารณาเชิงปริมาณ เพื่อธำรงรักษาผลลัพธ์การไคเซ็น ในกรณีนี้ จะต้องพิจารณาอย่างเป็นตรรกะ เรื่องความเชื่อมโยงของกลไก-โครงสร้าง กับลักษณะพิเศษของคุณภาพ
- ความสามารถปรับปรุงเงื่อนไข คล้ายกับความสามารถในการไคเซ็นระดับสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ “ทำตามได้ยาก” “รักษาได้ยาก” ให้สามารถ “ทำตามเรื่องจำนวนไม่มาก ในรอบที่ยาวในเวลาอันสั้นได้” เพื่อที่จะทำตามเรื่องที่กำหนดไว้ได้อย่างแน่นอน
- ความสามารถควบคุมเงื่อนไข เป็นความสามารถในการรักษาสิ่งที่กำหนดไว้แล้วด้วยความแน่นอน เพื่อธำรงรักษา สภาพปัจจุบัน พร้อมกับสามารถกำหนดกติกา เพื่อตรวจเช็คสิ่งว่าได้ทำตามจริงหรือไม่
- ความสามารถค้นพบสิ่งผิดปกติ เป็นความสามารถต่อการค้นหาสิ่งผิดปรกติที่เกิดขึ้นเป็นผลแล้ว เช่น เครื่องเสีย หรือ มีของเสีย นั้น เป็นเรื่องที่ง่าย แต่การค้นหาสิ่งผิดปรกติที่จะเป็นของสาเหตุของสิ่งเหล่านั้น เป็นเรื่องที่ยาก ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่ในการดำเนินการ นั้น ความสามารถในการค้นหาสิ่งผิดปกติที่เป็นลักษณะสาเหตุนั้น เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
- ความสามารถจัดการฟื้นสภาพ เป็นความสามารถต่อสิ่งผิดปกติที่เป็นลักษณะสาเหตุที่ได้ค้นหาพบแล้ว ก่อนที่เครื่องเสียหรือของเสียจะเกิดขึ้น แม้ในกรณีที่พิจารณาแล้วว่า ไม่สามารถที่จะฟื้นสภาพด้วยตัวเองได้ ก็ต้องสามารถแก้ไขได้โดยการแจ้งต่อผู้บังคับบัญชาหรือฝ่ายงานเกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว
ผมเองก็ยังต้องพัฒนาตัวเองต่อไปเรื่อยๆ ตามเป้าหมายที่ได้วางแผนไว้ สิ่งที่จะทำให้คุณเกิดความสามารถทั้ง 7
“ การลงมือทำ ”
http://www.leantpm.co
#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล
#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_KC