KAIZEN Suggestion System คิดเอง ทำเองได้

กิจกรรมที่เป็นรากฐานที่สำคัญของการเพิ่มผลผลิตนั้นคือ Kaizen (ไคเซ็น) Kaizen (改善) เป็นคำมาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแปลว่า ปรับปรุงดีขึ้น โดยทั่วโลกไม่มีใครไม่รู้จักคำนี้  ผมเองก็รู้จักเมื่อตอนทำงานในโรงงาน มันเริ่มจากโครงการที่เรียกว่า “ KSS ” หรือชื่อเต็มว่า KAIZEN Suggestion System มันคือ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้พนักงานระดับปฎิบัติได้ฝึกคิดปรับปรุงงานในโรงงาน เทคนิคหรือหลักการง่าย ๆ มีคีย์เวิร์ดสำคัญของการทำไคเซ็นมีอยู่ 3 ข้อ นั่นก็คือ  เลิก ลด เปลี่ยน   เลิก  พิจารณาการเลิกทำขั้นตอนหรืองานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า ลด    หากเลิกไม่ได้ ให้พิจารณาว่าสามารถ “ ลด ” ขั้นตอนการทำงาน เปลี่ยน  เปลี่ยนวิธีการ วัสดุ ประดิษฐ์เครื่องมือ ที่ทำงานให้งานคุณดีขึ้น   แต่การทำงาน KAIZEN Suggestion System นั้นจะมีเส้นบางๆที่ใกล้เคียงกับข้อเสนอแนะ ทำให้มีคนเข้าใจว่าเป็นการข้อเสนอแนะทั่วไป คุณต้องกำจัดข้อสงสัยนี้ให้ชัดเจน  ซึ่งผมเองใช้การแบ่งระดับการปรับปรุง 4 ขั้นดังนี้ Level … Continue reading KAIZEN Suggestion System คิดเอง ทำเองได้

Zero Defect นั้นเป็นไปได้ยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำ

การสร้าง Zero Defect ในสายการผลิตนั้นเป็นไปได้ยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำ ทำไมผมถึงพูดแบบนี้ เพราะการที่เรามีความมุ่งมั่นที่จะกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นเป็นหน้าของของทุกคนในองค์กร หากนึกและมองย้อนกลับไปที่นโยบายหรือเป้าหมายขององค์กรแล้วนั้น จะมีข้อความว่า “ ความพึงพอใจของลูกค้า ” ลูกค้าที่ว่านั้นเป็นลูกค้าภายนอกหรือผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าของเรา ที่อยากได้สินค้าที่มีคุณภาพตามที่เราได้การันตีไว้ ซึ่งบางครั้งเราเองก็มองข้ามไปว่า ลูกค้าภายในเรานั้นสำคัญยิ่งกว่า  เพราะการสร้างคุณภาพนั้นต้องเกิดจากการภายในองค์กรและส่งต่อไปถึงลูกค้า ถ้าเราผลิตของเสียภายในองค์กรได้มากน้อยเท่าไร โอกาสที่ของเสียจะถูกส่งออกไปให้ลูกค้าก็มีมากน้อยเท่านั้น ด้วยการที่ผมทำงานโรงงานมาตลอด10 กว่าปี ทำงานแก้ไขปัญหาเป็นอาชีพหลัก มีความเชื่อกับระบบหนึ่งที่ได้ทำและเห็นผลจริง คือ Total Productive Maintenance หรือ TPM ซึ่งมีวัตถุประสงค์มีเพียง 2 ข้อคือ การพัฒนาบุคคลากร --> สำหรับรองรับ Factory Automation ไคเซ็นระบบเครื่องจักร --> เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร กับหลักการพื้นฐานทั้ง 5 ข้อ สร้างโครงสร้างบริษัทที่สร้างกำไรได้ ปรัญชาการป้องกันล่วงหน้า เน้นสถานที่จริง ของจริง ทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ปรับเปลี่ยนสามัญสำนึกขึ้นใหม่ หากมองเรื่องการขจัดของเสียจากการสายการผลิตนั้น เครื่องมือบริหาร TPM นั้นได้มีเสาการบำรุงรักษาคุณภาพ หรือ (Quality Maintenance) ซึ่งนิยามไว้ว่า … Continue reading Zero Defect นั้นเป็นไปได้ยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำ

Posted in UncategorizedTagged