การดำเนินการ TPM นั้น จุดประสงค์หลักคือ “ปรับปรุงระบบของบริษัทด้วยการปรับปรุงระบบของคนและเครื่องจักร” ซึ่งกิจกรรมที่เป็นแกนหลัก คือ Autonomous Maintenance
ทำไมต้องเป็น Autonomous Maintenance ????
เพราะบริษัทที่เลือกใช้เครื่องมือบริหารที่ชื่อว่า TPM นั้น จะต้องมีเครื่องจักรในการผลิตสินค้าเป็นหลัก หากคิดในมุมมองนักธุรกิจนั้น บริษัทต้องการสร้างผลกำไรจากเครื่องจักรให้มากที่สุด แต่หากเครื่องจักรเสียหรือชำรุดจะเกิดผลเสียอย่างไรบ้าง
แนวคิดของ Autonomous Maintenance จึงมุ่งเน้นให้ผู้ปฎิบัติการเปลี่ยนจาก
“ ฉันมีหน้าที่เดินเครื่อง รักษาซ่อมเครื่องมันเรื่องของคุณ ” เปลี่ยนเป็น
“ เครื่องของฉันจะดูแลรักษาให้ดีที่สุด My machine, I take care it I Love my Machine ”
และหากมองลึกลงในรายละเอียดการดำเนินการนั้น Autonomous Maintenance มีขั้นตอนที่ชัดเจนที่สุด โดยมีด้วยกันทั้งหมด 7 ขั้นตอน
สิ่งสำคัญในการดำเนินการ TPM นั้น จะต้องได้รับการสนับสนุนและทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินการผ่านการทำแบบกิจกรรมกลุ่มย่อยแบบสามเหลี่ยมทับซ้อน ดังนั้นเราต้องวางแผนการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด โดยใช้ Autonomous Maintenance Pillar เป็นแกนหลัก
ภาพนี้เป็นตัวอย่างความสัมพันธ์แต่ละ Pillar และขั้นตอนของ Autonomous Maintenance โดยแบบออกได้ดังนี้
AM Step 0 เกี่ยวข้องกับ SHE Pillar จะเน้นความปลอดภัย รู้ถึงอันตรายของเครื่องจักร
AM Step 1 เกี่ยวข้องกับ FI , PM , ET Pillar มุ่งเน้นการสอน การให้ความรู้ขั้นเริ่มต้นของการทำกิจกรรม TPM ตามมาด้วยหาความสูญเสียและสิ่งผิดปกติของเครื่องจักร (Abnormal) พร้อมกับการสอนงานและสร้างคู่มือการใช้งานเครื่องจักร
AM Step 3 เกี่ยวข้องกับ EM Pillar โดยการสร้างมาตรฐานชั่วคร่าวของเครื่องจักรที่จะนำไปใช้ต่อในการซื้อหรืออกแบบเครื่องจักรใหม่ที่ไม่มีความสูญเสียหรือไม่ต้องบำรุงรักษา
AM Step 4 , 5, 6 เกี่ยวข้องกับ QM , ET Pillar เป็นการยกระดับพนักงงานเพื่อให้สามารถควบคุมที่ปัจจัยหรือจุดที่ทำให้เกิดปัญหา และป้องกันไม่ให้เกิดของเสียโดยการรักษาเงื่อนไขเหล่านั้นให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เน้น Processing point หรือจุดแปรรูป โดยผ่านการเราต้องสร้างระบบ Zero Defect ในเครื่องจักร โดยมุ่งเน้น “ตรวจเช็ค” (Check-tenken) : วัดแนวโน้มการเสื่อมภาพของเครื่องจักร โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งจะสัมผัสกับการทำ Autonomous maintenance และปัจจัยที่ทำให้เกิดของเสีย คือ การสึกหรอ เสื่อมสภาพของเครื่องจักร (Machine tools) –> ยูนิต (เพลาหลัก –>ชิ้นส่วน (รองเพลา) –>ชิ้นส่วนย่อย (ด้านที่หมุนวน) เป็นต้น
ทุกท่านคงเห็นกระดูกสันหลังของทำ TPM กันแล้วนะครับ !!!!
ซึ่งก่อนจะเริ่มคุณต้องทำ Manager Model เท่านั้น หากเหล่าผู้บริหารไม่เริ่มก่อน ก็อย่าหวังลูกน้องคุณจะทำ เพราะการทำเองเป็นตัอย่างและเป็นเครื่องจักรต้นแบบที่มีพนักงานระดับบริหารเข้ามาร่วมทำกิจกรรมด้วย โดยทดลองนำกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตัวเองและกิจกรรมการปรับปรุงเฉพาะเรื่องมาทำกันเพื่อทดสอบดูว่าปรัชญาของ TPM เมื่อนำมาปฏิบัติแล้วจะเกิดผลอย่างไร เป็นความจริงหรือไม่ ทำอย่างไรถูก ทำอย่างไรผิด เพื่อค้นหาความจริงและเกิดประสบการณ์จริงก่อนแล้วจึงนำไปขยายผลให้กับกลุ่มอื่นๆต่อไปทั่วทั้งโรงงาน
** Pursuit of optimal condition , the head-on , Shop floor approach and going back to first principles
😀😀😀
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
#productivityengineer
www.engiperform.com
You must be logged in to post a comment.