Manager Model ก้าวแรกสู่ความสำเร็จการทำ TPM

อีกหนึ่งความสำเร็จที่จำเป็นต้องทำสำหรับการใช้เครื่องมือบริหาร TPM  นั้นคือ

การดำเนินกิจกรรม เครื่องจักรต้นแบบ หรือ Manager Model Machine /Line 

ซึ่งเราจะใช้เป็นที่เรียนรู้แบบปรัชญา TPM และเป็นสถานที่ฝึกฝนภาคปฏิบัติการทำกิจกรรมให้กับทีมงานของคณะต่างๆที่ประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้จัดการและหัวหน้างาน หลังจากเรียนรู้และมีประสบการณ์มากพอแล้วก็จะนำความรู้ไปถ่ายทอดต่อตามหลักการ Cascade Training

ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการจะใช้ Autonomous Maintenance  โดยจะดำเนินการเพียง 3 Step ดังนี้

Autonomous Maintenance Step 1

Autonomous Maintenance Step 1 : Initial Cleaning (Cleaning and Inspection)

  1. เพิ่มทักษะในการค้นพบข้อบกพร่อง
  2. เพิ่มทักษะการแก้ไข ฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรให้กลับสู่ Basic condition
  3. กำจัดความสูญเปล่า (ทุกอย่างที่เกินความจำเป็น ทั้งของและขั้นตอนการทำงาน)

AM Step2

Autonomous Maintenance Step 2 : Countermeasure for contamination sources and hard-to-access areas หรือ มาตรการต่อการกำจัดจุดที่เข้าถึงยากและจุดที่ก่อให้เกิดสิ่งสกปรก  โดยขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อไคเซ็นแหล่งที่เกิดสิ่งสกปรก ป้องกันการฟุ้งกระจาย ไคเซ็นจุดที่เข้าตรวจสอบได้ยาก เพื่อลดเวลาทำความสะอาด หล่อลื่น ตรวจสอบ และเพิ่มความสามารถในการปรับปรุงและแก้ไขของพนักงาน

  1. Kaizen : Eliminate , Localize , Modify ทำไคเซ็นเพื่อทำงานได้ง่าย ใช้เวลาน้อบลง เพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษ
  2. กำจัด 4 K ( Kiken Kitanai  Kusai  Kitsui ) ( อันตราย  สกปรก เหม็น ที่ทำงานหนัก )

AM Step 3

Autonomous Maintenance Step 3 : Establish autonomous maintenance Tentative Standards

เป็นการจัดทำการมาตรฐานการทำงานที่สามารถรักษาเงื่อนไขการทำความสะอาด การตรวจสอบ การหล่อลื่น ได้อย่างแน่นอนและในเวลาอันสั้น เพิ่มและปรับปรุงการควบคุมโดยดูด้วยตา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำความสะอาด , ตรวจสอบ ใจความสำคัญคือ

  1. ป้องกันการเสื่อมสภาพ (รักษาสิ่งที่ฟื้นฟู จาก Step 1 และ สิ่งที่ไคเซ็น จาก step 2 ไว้ให้ได้)
  2. ปรับปรุงการควบคุมด้วย Visual Control เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำสะอาด และ ตรวจสอบ
  3. มาตรฐานชั่วคราว (ที่สามารถป้องกันการเสื่อมสภาพแบบเร่ง ได้อย่างแน่อนในเวลาอันสั้น โดยจัดทำด้วยตัวเอง ปฏิบัติด้วยตัวเอง อย่างถูกต้อง และ รวดเร็ว สาธิตให้ดูได้)

โดยเหตุผลหลักๆ ของการที่ต้องทำ Manager Model นั้น มีเหตุที่ต้องการให้ระดับบริหาร ลงมือทำจริง ไม่ได้แค่ยืนสั่งการและลูกน้องทำอย่างเดียว  เนื่องจาก TPM เป็นกิจกรรมแบบ Top Down และระดับบริหาร (ระดับ Level 3,4 ) ต้องทำก่อน  เพราะระหว่างที่พวกท่านทั้งหลายไปทำ TPM จริง ท่านจะเจอคำถามมากมายจากลูกน้อง แต่ท่านจะผ่านมันไปได้เพราะท่านทำผ่านมาก่อนนั้นเอง

4 Level

และที่สำคัญอีกอย่างทุกกลุ่มที่จะเริ่มทำต้องใช้เครื่องจักรชุดนี้เป็นตัวอย่างเพื่อขยายผลการทำกิจกรรมไปยังเครื่องจักรอื่นๆต่อไป ซึ่งขั้นตอนนี้จะเป็นวิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการดำเนินงานตามสมการของ TPM-JIPM

😀😀😀
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
#productivityengineer

Posted in UncategorizedTagged