7 ขั้นตอน สร้างระบบคุณภาพเพื่อลดการสูญเสียคุณภาพ

     การสร้างผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์จำเป็นต้องกำหนดสภาพกระบวนการผลิตที่เหมาะสม (อุณหภูมิ   แรงดัน อัตราไหล ปริมาณการเร่งปฏิกิริยา และอื่น ๆ) สำหรับจัดการกับคุณสมบัติ การรวมตัวกันและปริมาตรวัตถุดิบ ตัวทำปฏิกิริยาและสารอื่น ๆ ในแต่ละกระบวนการผลิตเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ เครื่องจักรและส่วนประกอบ ชิ้นส่วนที่ใช้ในโรงงานจะต้องได้รับการติดตั้งและดูแลรักษาให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ และไม่ก่อให้เกิดของเสีย (Zero Defect)

         ขณะเดียวกันในโรงงานที่มีการทำปฏิกิริยาเคมีการควบคุมสภาพที่ไม่ดีไม่เพียงแต่ส่งผลต่อคุณภาพแต่มีอันตรายด้วย เพื่อให้โรงงานปลอดภัยสำหรับผลิตแต่สินค้าที่มีคุณภาพ ต้องวิเคราะห์กระบวนการผลิตและเครื่องจักรอย่างเต็มที่เพื่อกำหนดและรักษาสภาพที่จะไม่นำไปสู่การเกิดของเสีย (Defect-free conditions) นี่คือบทบาทของการบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ

    การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพประกอบไปด้วยกิจกรรมเพื่อกำหนดสภาพเครื่องจักรที่ไม่ก่อให้เกิดของเสีย โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบ ของเสียสามารถป้องกันได้โดยการตรวจเช็คและวัดค่าสภาพเครื่องจักรตามกำหนดเวลาและตรวจสอบว่าค่าที่วัดได้อยู่ในพิกัดที่กำหนดการคาดคะเนการเกิดของเสีย ทำโดยการดูแนวโน้มค่าที่วัดได้และสร้างมาตรการป้องกันไว้ล่วงหน้า มากไปกว่าการควบคุมโดยการตรวจสอบผลิตภัณฑ์และดำเนินการกับของเสียที่เกิดขึ้นแล้ว การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพใน TPM มีจุดประสงค์ที่จะไม่ให้ของเสียเกิดขึ้นโดยสิ้นเชิง ทำได้โดยการกำหนดจุดตรวจสอบของกระบวนการผลิตและสภาพเครื่องจักรที่ส่งผลเสียต่อคุณภาพ วัดค่าตามระยะเวลาและดำเนินมาตรการที่เหมาะสม

Slide1

Step 1: เข้าใจสภาพปัจจุบัน (Identify Existing Situation)

1.1. สำรวจสภาพปัญหาด้านคุณภาพในปัจจุบัน

– ระบุค่าของคุณภาพที่สมควรรักษาสภาพไว้ พร้อมกับค้นหาสภาพการเกิดของเสียด้านคุณภาพ (Quality defect)

1.2. สำรวจ กฎ/ข้อบังคับ/มาตรฐาน ในการควบคุมคุณภาพโดยการจัดเตรียม QA Matrix จะต้องทำขั้นตอนย่อย 4 ขั้นตอน คือ

  1. สืบสวนหาชนิดของเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการผลิต
  2. แยกประเภทคุณลักษณะด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้องและกำหนด Defect mode ทุกตัว ที่สัมพันธ์กับคุณลักษณะแต่ละตัว
  3. จัดลำดับ Defect mode ตามความรุนแรงและบ่งชี้ว่าอันไหนเป็นสาเหตุของปัญหาในอดีตว่าบ่อยครั้งหรือบางโอกาส เมื่อกำหนดความรุนแรงของ Defect Mode ควรปรึกษาหารือกับสมาชิกจากฝ่ายประกันคุณภาพเพื่อความมั่นใจยิ่งขึ้น
  4. แบ่งกระบวนการผลิตให้เป็นหน่วยเล็กเท่าที่จะทำได้ และชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของกระบวนการย่อยกับ defect modeหรือระบุสิ่งที่ควรปฏิบัติตามในปัจจุบันจากมาตรฐาน Work Instruction และคู่มือการใช้งาน ฯลฯ

1.3. ประเมินระดับการปฏิบัติตามกฎ/ระเบียบ/มาตรฐานในข้อ 1.2 หรือสำรวจหน้างานมีการทำตามมาตรฐาน?

 

Step 2: ฟื้นฟูสภาพในการควบคุมดูแลคุณภาพ (Restore)

ฟื้นฟูจุดบกพร่อง (ทำให้กลับคืนสู่สภาพที่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน) ซึ่งไม่ได้ถูกรักษาสภาพและถูกระบุชัดเจนแล้วจากการสำรวจหน้างาน

 

Step 3: วิเคราะห์ปัจจัยที่ทาให้เกิดของเสีย (Analyze Causes)

วิเคราะห์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น Why – Why Analysis , PM Analysis, FMEA ฯลฯ ซึ่งยืดตามหลักการและทฤษฎีการผลิต และระบุหัวข้อที่ขาดไป หรือค่ามาตรฐานที่ยังไม่เข้มงวดเพียงพอ

 

Step 4: กำจัดปัจจัยที่ทำให้เกิดของเสีย (Eradicate Causes)

ด้วยการปรับปรุงและประเมินผล ในรูปแบบ A3 Report: Theme Resolution Summary

 

Step 5: การตั้งค่าเงื่อนไขการควบคุมใหม่ (Establish Conditions)

ปรับปรุง / แก้ไขการวิเคราะห์เงื่อนไขปัจจัยการผลิตใหม่ หรือมาตรฐานและวิธีการทำงานในจุดที่เกี่ยวข้อง พื่อตรวจสอบว่าเงื่อนไขปัจจัยการผลิตนั้นเหมาะสมและถูกต้องหรือไม่ มีข้อผิดพลาดเหลืออยู่ในมาตรฐานหรือไม่ และอยู่ในสภาพที่น่าพอใจ รูปแบบ QM Matrix และเอกสารมารตรฐานตามระบบ ISO

 

Step 6: การปรับปรุงเงื่อนไขให้ทำตามได้ง่าย (Improve Conditions)

กำหนดการควบคุมด้วยสัญลักษณ์ (Visual Control) และให้การตรวจเช็คได้ดำเนินไป กำหนดปริมาณคุณลักษณะที่ใช้ใน Quality Check  และจัดเตรียมตาราง Quality component เพื่อตั้งมาตรฐานที่ปฏิบัติได้

  • Quality Components ตรวจสอบ Components ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและทำเครื่องหมายเพื่อการดูแลเป็นพิเศษเรียกว่า Quality Component
  • ตาราง Quality Component เพื่อให้แน่ใจว่า Quality Component ได้รับความสำคัญการบำรุงรักษาจึงต้องจัดเตรียมตาราง Quality Component และพัฒนามาตรฐานที่ปฏิบัติได้

 

Step 7: การจัดการควบคุมคุณภาพ (Maintain Condition)

เพิ่มเติม/แก้ไข/ปรับปรุง มาตรฐานการตรวจสอบเครื่องจักร การตรวจสอบคุณภาพและดำเนินการตรวจสอบตามคาบเวลา รวมถึงการสร้าง Trend management สำหรับเฝ้าระวัง, ตรวจวัดและขั้นตอนปฏิบัติการก่อนออกนอกค่าควบคุม ที่เรียกว่า Quality Control Plan

😀😀😀
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
#productivityengineer

Posted in UncategorizedTagged