% OEE เท่าไรถึงจะใช่ !!!

ผู้จัดการโรงงานท่านหนึ่งได้ถามผมว่า OEE  70 % เท่านี้ดีหรือไม่ ??

ผมเองนิ่งไป 3 วินาทีแล้วตอบกลับพี่แกว่า ดีนะพี่สำหรับโรงงานที่ไม่เคยคิดค่า OEE

แต่จะไม่ดีกับโรงงานที่ตั้งเป้าหมายค่า OEE 80% แต่ทำได้เพียง 70%

พี่แกไม่ได้งงอะไรมากนะ แต่ปัญหาที่พี่แกกังวลคือ ตรูจะทำอะไรต่อว่ะ จากนั้นพี่เค้าหันไปข้างหลังมองดูป้ายนโยบายเสร็จ แกก็ถามผมว่า ถ้าจะดำเนินการต่อต้องทำอย่างไร ???

เพื่อเป็นการไม่รอช้า ผมบอกแกไปว่า ต้องทำ 3 สิ่งต่อจากนี้ก่อนเลยครับ 

1. ให้ความรู้ OEE 

     การให้ความรู้นั้นเป็นสิ่งสำคัญ จากประสบการณ์ที่ได้ลงมือทำและสร้างระบบ OEE System ขึ้นมา เพราะสมการการคิดคำนวณ OEE นั้น มากจากการเก็บข้อมูลในไลน์การผลิต ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มจากจดด้วยมือลงกระดาษและมากรอกข้อมูลใน Excel  หากพนักงาน หัวหน้างาน ผู้จัดการ ผู้จัดโรงงาน ไม่รู้หมวดหมู่ความสูญเสียแล้วนั้น ก็จะเกิดการทะเลาะหรือหาข้อสรุปไม่ได้ว่าใครต้องกำจัด โดยให้เริ่มจากทำความเข้าใจนิยามความสูญเสียและแยกข้อมูล 8 Major Loss หรือมากว่านั้น และ Workshop การลงข้อมูลเพื่อให้ทุกท่านเข้าใจตรงกัน

Slide5

2 . เลือกเครื่องจักรหรือไลน์การผลิตที่จะดำเนินการ

   เมื่อเราลงมือทำให้เลือกเครื่องจักรหรือไลน์การผลิตที่เป็นต้นแบบ อย่าเปิดศึกหลายด้าน ค่อยๆทำ ค่อยๆเรียนรู้ เพราะบางโรงงานนั้นมีบุคลากรกำจัด เพื่อกำจัดความสูญเสียนั้นต้องมีความรู้และอำนาจ ไม่ใช้ว่าใครๆก็ทำได้ คุณต้องมีความรู้เชิงลึกในเครื่องจักรหรือไลน์นั้นๆเป็นอย่างดีในระดับนึง (อายุงาน 3 ปี ขึ้นไปโดยประมาณ) เพราะงานนี้มีเป้าหมายคือความสำเร็จ

3. กำหนดทีมงานผู้รับผิดชอบ

เพื่อความชัดเจนต้อจัดตั้งทีมงานแบบ  Cross-functional team ที่มีหลายหน่วยงานอยู่ในทีม สำหรับการบริหารกิจกรรมความสูญเสีย งานนี้ต้องเริ่มจากระดับ Manager ก่อนครับ

     จากนั้นเรามาก็คำนวณค่า % OEE ออกมาแล้ว งานนี้ความสำคัญมันอยู่ที่การเลือกและกำหนดจำนวนเรื่องที่ต้องการทำ หรือ เป้าหมายของกิจกรรมความสูญเสียให้เหมาะกับคน เลือกผิดชีวิตเปลี่ยน เพราะไม่เพียงแต่แก้ไขปัญหาไม่ได้ ยังเพิ่มความเครียดให้กับทีมงานคนนั้นอีกด้วย เราเองต้องใช้ Losses Tree Deployment ในการเลือกเรื่องต่อไป

Slide4

อะไร คือ Losses Tree Deployment ???

Losses Tree Deployment คือ การนำเอาการสูญเสียแจกแจง ความการสูญเสียแบบไหมมีมากน้อยกว่ากัน และการสูญเสียในแต่ละแบบนั้นต้องมีการระบุ %, จำนวนเงิน เพื่อแสดงเป็นตัวเลขการสูญเสียในแต่ความสูญเสีย ว่าเกิดขี้นใน line, machine ไหน เพื่อใช้ในการเลือกมาตั้งเป็นโครงการลดการสูญเสียที่ส่งผลองค์กร (ยิงเน้นๆที่หัวแบบ Head shot)

Slide1

      เมื่อรู้แล้วว่าต้องทำอะไรให้  “ Why-Why ” Analysis และ  PM Analysis เพื่อแก้ไขปัญหา งานนี้ท่านต้องใช้ความรู้ ความสามารถ และความอดทนในการแก้ไขปัญฆา เพราะงานนี้ไม่ได้ทำแค่ 1 เดือนเสร็จ มันอาจจะกินเวลายาวไปถึง 3-4 เดือน  เมื่อปรับปรุงเสร็จให้จัดทำเอกสารการปรับปรุงสำหรับการยืนยันผลการดำเนินการของกิจกรรมความสูญเสียและยืนยันผลัพธ์ด้วยข้อมูลที่สามารถชีวัดเป็นตัวเลขตามดัชนีชี้วัด PQCDSME

เมื่อยืนยันผลลัพธ์เสร็จแล้วสิ่งที่ท่านต้องทำเพื่อสรุปโปรเจคนั้นเรื่อง Theme Resolution Summary หรือบทสรุปโปรเจคนั้นเอง

Slide2

สิ่งสุดท้ายนั้นคือการขยายผลและทำซ้ำในแนวราบ สำหรับเครื่องจักรและสายการผลิตอื่นที่มีความใกล้กัน

Slide3

ท้ายที่สุดแล้วการตั้งเป้าหมายนั้น คุณต้องดูนโยบายองค์กรว่าเค้าไปทางไหน เพราะค่า %OEE  นั้นเป็นเพียงดัชนีชี้วัดด้าน Productivity หากจะให้สมบูรณ์นั้น คุณต้องดำเนินการและขับเคลื่อนด้วย

Focus Improvement Pillar

 

ตัวอย่างการตั้งเป้าหมาย

คะแนน OEE 100% เป็นการผลิตที่สมบูรณ์แบบหรือเป็นมาตรฐานระดับโลกสำหรับผู้ผลิตที่ต่อเนื่อง

คะแนน OEE 85% เป็นมาตรฐานระดับโลกสำหรับผู้ผลิตที่ไม่ต่อเนื่อง (World Class)

คะแนน OEE 70% เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ผลิตที่ไม่ต่อเนื่อง

คะแนน OEE 50% ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับผู้ผลิตที่ไม่ทำ TPM หรือ Lean Project

 

😊😊😊
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
www.engiperform.com

Posted in UncategorizedTagged