ทำไมเราต้องทำ Quick Changeover ???
ประเด็นแรก เกิดจากความสูญเสียจากการปรับแต่ง หรือ Set up & Adjustment Loss ซึ่งเป็นความการสูญเสียที่ทำให้ประสิทธิภาพเครื่องจักรลดลง (Equipment) มุมมองภายในทำงานไม่ได้มาตรฐานหรือไม่มีมาตรฐาน
ประเด็นที่สอง เป็นความสูญเสียจากการปรับแต่ง หรือ Set up & Adjustment Loss เวลาเนื่องจากการปรับลดการผลิตให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการของลูกค้าหรือตลาด
ในมุมมองภายนอก งานขายต้องขายของตาม “ ความต้องการของลูกค้า ” นั้นสำคัญ เพราะถ้าเราผลิตสินค้าที่ลูกค้าไม่ต้องการแล้วนั้น ค่าใช้จ่ายเพิ่มแน่นอน (ผู้ปฎิบัติการนั้นไม่มีใครอยากเปลี่ยนรุ่นผลิต)
ในแวดวงโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตนั้น เราเป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อมีเปลี่ยนแปลงรุ่นการผลิต (Job Change) , เปลี่ยนแปลงการผลิตสินค้า (Product Change) มักจะเกิดปัญหาเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งเหตุการณ์หรืออาการที่ผมพบเป็นประจำ เช่น ถอดประกอบช้ากว่าค่าที่กำหนด , ติดตั้งเสร็จไม่สามารถผลิตของดีได้ และสุขภาพจิตเสียทุกครั้งเมื่อรู้ว่าต้องเปลี่ยนรุ่น (อันนี้อารมณ์ของผู้เขียนเอง 555) เป็นต้น
ธุรกิจบางประเภทนั้นแข่งขันด้วยการเปลี่ยนเร็วที่สุด เช่น การแข่งรถสูตรหนึ่ง หรือ ฟอร์มูลาวัน Formula One หรือ เอฟวัน ที่แข่งกันจนถึงการเข้า Pit Stop
Cr. http://www.johnmurphyinternational.com/pit-stop/
เช่นเดียวกับในสงครามการทำธุรกิจนั้น ตราบใดที่มีคู่แข่งทางการค้า ยังไงก็ต้องลดต้นทุนให้ได้หากต้องการเพิ่มกำไร ส่วนกำไรที่ได้มาจะนำไปใช้อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท ซึ่งนโยบายนั้นอาจจะเป็นการตอบแทน สังคม ให้สวัสดิการแก่พนักงาน ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะนำไปใช้อย่างไร การเพิ่มกำไรก็เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการลดต้นทุนเป็นสิ่งสำคัญ และการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิต เพื่อทำให้บริษัทสามารถ สร้างผลกำไรได้โดยมีวิธีการ คือ การกำจัด “ความสูญเสีย” ทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไปด้วยการทำให้
ในโครงสร้าง 16 ความสูญเสียของ JIPM มีความสูญเสียจากการปรับแต่ง หรือ Set up & Adjustment Loss
จึงถูกกำจัดด้วยวิธีการที่มีชื่อว่า SMED (Single Minute Exchange of Die) ซึ่งเป็นทฤษฎีและชุดเทคนิคที่ช่วยให้สามารถดำเนินการติดตั้งและปรับเปลี่ยนเครื่องจักรภายใน 10 นาที ที่มีพื้นฐานของ Dr.Shigeo Shingo และแนวคิดจาก F1 ซึ่งแก่นของหลักการนี้ คือ การปฏิบัติการติดตั้งเครื่องจักรที่ต้องแยกการติดตั้งเป็น 2 แบบ
- การติดตั้งเครื่องภายใน (Internal Setup) : การติดตั้งเครื่องจักรแบบที่สามารถทำได้ก็ต่อเมื่อ “ เครื่องจักรหยุดทำงานเท่านั้น ”
- การติดตั้งเครื่องภายนอก (External Setup) : การติดตั้งเครื่องจักรแบบที่สามารถทำได้ในขณะที่ “ เครื่องจักรทำงานอยู่ ”
หลักการดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน หลัก
- เริ่มจากการแยะแยะงานติดตั้งภายในและภายนอก (Separate Internal Activities form External ) ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นเช็ครายการการตรวจสอบแบบละเอียด ซึ่งเป็นขั้นตอนนี้จะเป็นการทำงานโดยการถ่าย VDO และเช็ครายการการตรวจสอบ Motion & Time study เพื่อแยกแยะการติดตั้งเครื่องภายในและภายนอก จากนั้นก็ทำการปรับปรุง ซึ่งโดยปกติจะสามารถลดความสูญเปล่าได้ 30% – 50%
- ตามมาด้วยการปรับปรุงการติดตั้งงานภายในให้เป็นงานภายนอก (Covert Internal Setup Activities , Standardize External Activities) หลักจากที่ดำเนินการขั้นตอนที่ 1 แล้ว ต่อไปจะเป็นเปลี่ยนการติดตั้งเครื่องภายในเป็นการติดตั้งภายนอก ซึ่งสามารถย่อยได้ 2 รูปแบบ คือ
- การจัดเตรียมสภาวะการปฎิบัติงานล่วงหน้า ซึ่งงานนี้ต้องอาศัยความรู้แบบ Intrinsic Technology เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรู้ในงาน การใช้เทคโนโลยีในการผลิต ตลอดจนความรู้ที่จะใช้เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
- การทำหน้าที่ให้เป็นงานมาตรฐาน ซึ่งจะเป็นเชื่อมโยงคน วัสดุ และเครื่องจักรเข้าไว้ด้วยกันเพื่อคงรักษาคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย
สาระสำคัญ : คุณต้องมองการติดตั้งเครื่องจักรภายในแบบปัจจุบันของคุณเสมือนคุณเพิ่งเคยเห็นมันครั้งแรก “ อย่าปล่อยให้นิสัยและความเชื่อเก่าๆเข้ามาขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
- ปรับปรุงการติดตั้งทั้งภายในและภายนอก ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ( Improve Internal Setup and External Activities , Mechanization of Activities, Complete Elimination ) ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นปรับปรุง เพื่อเพิ่มผลผลิตมากขึ้นซึ่งการปรับปรุงนี้จะดำเนินการทั้งการติดตั้งเครื่องภายและการติดตั้งภายนอก เน้นการยกระดับทางวิศวกรรมซึ่งเป็นการสร้างหรือทำให้เป็นกลไก , สร้างระบบบริหารเครื่องมือและแม่พิมพ์ หรือการกำจัดการปรับแต่งออกไปให้ได้ เป็นต้น
ท้ายที่สุดนี้ การเปลี่ยนแปลงนั้นคุณต้องมี 2 อย่างสำหรับการขับเคลื่อน คือ
“ อำนาจและความรู้ ”
** งั้นเริ่มจากการสร้างกิจกรรมลดความสูญเสีย ตามแบบฉบับ TPM
You must be logged in to post a comment.