การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance) นั้นจะต้อง 2 ส่วนงานหลักที่ต้องหันหน้าเข้าหากันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คือส่วนงานผลิตและส่วนงานซ่อมบำรุง เพราะทั้ง 2 ส่วนงานนี้ถือเป็นกำลังหลัก ส่วนงานผลิตถือกำลังคนและใช้เครื่องจักรในการผลิต ส่วนงานซ่อมบำรุงถือกำลังเครื่องจักรและซ่อมเครื่องจักรเมื่อเกิดเหตุชำรุด
เครื่องมือบริหาร TPM นั้นมีอยู่เสาที่เป็นเอกลักษณ์หรือลักษณะพิเศษอย่างแท้จริง ไม่มีเครื่องมือไหนที่จะเน้นการพัฒนาคนอย่างเป็นระบบจริงจัง โดยแนวคิดมาจากว่า
“ เราจะดูแลเครื่องจักรของเราเอง ”
โดยเน้นการการปรับปรุงสภาพหน้างานจริง เสานั้นก็คือ Autonomous Maintenance นั้นเอง หากมองบริบทของเสานี้จะพบว่าเป็นการพัฒนาบุคคลอย่างเป็นขั้นตอน เพราะพัฒนาบุคคลเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเพิ่มผลผลิตขององค์กร การฝึกให้พนักงานรู้และชำนาญด้านเครื่องจักรเป็นเป้าหมายสูงสุด
หลายคนเคยสงสัยว่าทำไมต้องทำกิจกรรม Autonomous Maintenance ผมเองก็เช่นเดียวกัน เพื่อให้ภาพชัดๆ คุณลองจินตนาการเป้นพนักงานฝ่ายผลิตและกำลังใช้เครื่องจักรในขณะเดียวกันนั้นเครื่องจักรของคุณก็หยุดจะเสียตามลำดับ ทำให้ต้องตามช่างบำรุงมาซ่อม หากใช้เวลาซ่อม 5-10 นาที ก็คงดีแต่ในความเป็นจริงแล้วใช้เวลาเป็นชั่วโมงและอีกอย่างนึงที่สำคัญในโลกปัจจุบันนี้ คือ การเจริญเติบโตของเหล่าหุ่นยนต์มีมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งทำให้ความต้องการ บุคคลทางด้านเทคโนโลยีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งในการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาแต่ละครั้งนั้น จะมีแต่มนุษย์เพียงคนเดียวเท่านั้น ที่สามารถเป็นผู้ป้อนข้อมูลคำสั่งเข้าไปในระบบ เพื่อออกคำสั่งให้แก่หุ่นยนต์ได้ และซ่อมบำรุงเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
บทบาทของหน่วยงานผลิตและหน่วยงานบำรุงรักษาในกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง
การแยกประเภทใหญ่ ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายการบำรุงรักษา
- กิจกรรมบำรุงรักษา : หยุดยั้งเครื่องเสีย แก้ไขเครื่องเสีย
- กิจกรรมไคเซ็น : ยืดอายุการใช้งาน ลดเวลาการบำรุงรักษา กำจัดการบำรุงรักษาให้หมดไป
วิธีการของกิจกรรมบำรุงรักษา
- การเดินเครื่องปกติ
- การบำรุงรักษาประจำวัน การบำรุงรักษาตามรอบ การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์
วิธีการของกิจกรรมไคเซ็น
- การบำรุงรักษาเชิงปรับปรุง -> ไคเซ็นความน่าเชื่อถือ ไคเซ็นความง่ายในการบำรุงรักษา
- การป้องกันการบำรุงรักษา -> การออกแบบที่ไม่ต้องการการบำรุงรักษา
การบำรุงรักษาด้วยตนเอง : กิจกรรมของส่วนงานผลิต
- กิจกรรมป้องกันการเสื่อมสภาพ
1.1 การเดินเครื่องอย่างถูกต้อง (ป้องกัน Human Error)
1.2 จัดเตรียมเงื่อนไขพื้นฐาน (ทำความสะอาด หล่อลื่น ขันแน่น)
1.3 ปรับแต่ง (โดยเฉพาะการปรับแต่งในการเดินเครื่องหรือ Set up)
1.4 บันทึกข้อมูลการปรับแต่งหรือข้อบกพร่องอื่น ๆ
1.5 ความร่วมมือกับหน่วยงานบำรุงรักษาในการพิจารณามาตรการไคเซ็น
- กิจกรรมตรวจวัดความเสื่อมสภาพ
2.1 การตรวจสอบประจำวัน
2.2 ส่วนหนึ่งของการตรวจสอบตามรอบ
- กิจกรรมฟื้นฟูการเสื่อมสภาพ
3.1 การซ่อมบำรุงเล็กน้อย (การเปลี่ยนชิ้นส่วนง่าย ๆ หรือการแก้ไขแบบปัจจุบันทันด่วน)
3.2 การแจ้งเรื่องเครื่องเสีย และสภาพข้อบกพร่องต่าง ๆ อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
3.3 การสนับสนุนการซ่อมแซมกะทันหัน
การบำรุงรักษาด้วยตนเอง : กิจกรรมของส่วนงานบำรุงรักษา
- กิจกรรมบำรุงรักษาซึ่งเป็นงานดั้งเดิม
- สนับสนุนกิจกรรมบำรุงรักษาด้วยตนเองของหน่วยงานเดินเครื่อง
・เนื้อหาการสนับสนุนการบำรุงรักษาด้วยตนเอง Step 1 ถึง Step 3
- การอบรมชี้แนะเรื่องโครงสร้าง ฟังก์ชั่น ชื่อชิ้นส่วน ส่วนที่ไม่ควรถอดของเครื่องจักร
- การอบรมชี้แนะการหล่อลื่น รวมประเภทสารหล่อลื่น และชี้แนะการจัดทำมาตรฐานการหล่อลื่น
(จุดหล่อลื่น ประเภทสารหล่อลื่น รอบการหล่อลื่น)
- สนับสนุนด้านเทคโนโลยีต่อกิจกรรมไคเซ็น เช่น มาตรการแหล่งต้นตอ มาตรฐานจุดทำความสะอาดได้ยากและสร้างประสิทธิภาพ เป็นต้น
- การจัดการอย่างรวดเร็วต่อการแจ้งซ่อมข้อบกพร่อง เช่น การเสื่อมภาพ เงื่อนไขพื้นฐาน เป็นต้น
・เนื้อหาการสนับสนุนการบำรุงรักษาด้วยตนเอง Step 4 ถึง Step 5
- การอบรมชี้แนะเกี่ยวกับการขันแน่น เช่น โบลต์ นัท เป็นต้น
- การอบรมชี้แนะทักษะการ tenken และจัดทำมาตรฐาน tenken (จุดสำคัญ รอบ เป็นต้น)
- ค้นคว้า พัฒนาเทคโนโลยีการบำรุงรักษา ตลอดจนกำหนดมาตรฐานการบำรุงรักษา
- บันทึกผลการบำรุงรักษา สร้างระบบสารสนเทศการบำรุงรักษา และระบบการวัดผลการบำรุงรักษา
- ศึกษาเทคนิคการวิเคราะห์เครื่องเสีย และดูผลของกิจกรรมป้องกันเครื่องเสียรุนแรงเกิดซ้ำ
- ร่วมมือกับหน่วยงานออกแบบพัฒนาเครื่องจักร (การออกแบบMP กิจกรรมการควบคุมตั้งแต่ระยะต้น)
- การควบคุมอะไหล่สำรอง จิ๊กเครื่องมือ เอกสารเทคโนโลยี
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่
Autonomous Maintenance กับแนวคิดสร้างกิจกรรมป้องกันความสูญเสีย http://bit.ly/2OrtFAA
Initial Cleaning (Cleaning and Inspection) http://bit.ly/2MkyuOB
Countermeasure for contamination sources and hard-to-access http://bit.ly/2NbPFhV
Establish Tentative Standard http://bit.ly/2BNkNCX
10 Step เทพ :Planned Maintenance http://bit.ly/2tPb7Bw
.
.
#Productivityengineer
You must be logged in to post a comment.