5 วิธี ลดต้นทุนอย่างรวดเร็ว

โควิด-19 ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของโลก ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็กระทบไปหมด ค้าขายไม่ได้ ไปทำงานไม่ได้ ออกจากบ้านไม่ได้ และต้องทำงานที่บ้าน หลายๆ อย่างกำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว  และคุณต้องอยู่กับมันให้ได้ บริษัทหรือองค์กรก็เช่นเดียวกัน ต้องปรับตัวให้อยุ่รอด กำจัดหรือตัดอะไรได้ก็ต้องทำ เริ่มด้วยการออกมาตรการรัดเข็มขัดที่เรียกว่า “การลดต้นทุน” ผมเองในฐานมนุษย์เงินเดือน ต้องทำเรื่องนี้อย่างเร่งด้วย ซึ่งผมเองเลยงัดวิชา TPM มาใช้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถแบ่งการหาแนวทางการลดต้นทุนได้ 5 วิธี ลดต้นทุนอย่างรวดเร็ว ที่ทำได้เลย ทำได้เร็วดังนี้ ลดการรั่วไหลของพลังงานในโรงงานซึ่งเป็นการสูญเสียพลังงาน (Energy losses) การสูญเสียพลังงานไฟฟ้า,  เชื้อเพลิง,  ไอน้ำ,  ลม,  น้ำ  (รวมทั้งการกำจัดน้ำเสีย) ลดการรั่วไหลหรือสาเหตุให้เกิดของเสีย (Quality defect source) ของวัตถุดิบ เช่น จุดรั่วไหม สิ่งแปลกปลอม ฝุ่น  เศษวัสดุ  เศษโลหะ  สนิม   แมลง ที่ทำให้เกิดความเสียหายกับวัตถุดิบสำหรับการผลิต การรักษา Basic Condition ของเครื่องจักรเพื่อลดอัตราการเร่งเสื่อมของเครื่องจักร ยิ่งทำเร็ว … Continue reading 5 วิธี ลดต้นทุนอย่างรวดเร็ว

สร้างรากฐานการเพิ่มผลผลิตด้วย Bottom Up Activity

การสร้างบ้านต้องเริ่มจากการปรับที่ดินให้แน่น หากเปรียบเทียบกับการทำงานให้โรงงานก็จะเหมือนกับดัชนีชี้วัดที่เรียกว่า ขวัญกำลังใจ (Moral) ซึ่งจะเป็นการวัดการมีส่วนร่วมของพนักงานเช่น จำนวนข้อเสนอนแนะ , คะแนนการทำ 5ส หรือไม่ก็กิจกรรมกลุ่ม QCC ซึ่งทั้ง 3 กิจกรรมนี้จะถูกเรียกว่า  Bottom Up Activity คือ การดำเนินการกิจกรรมจากล่างขึ้นบน โดยเน้นพนักงาน (Small group) เป็นหลักและบ่อยครั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ เพราะอะไรนะเหรอ ??? ซึ่งจากประสบการณ์ที่ได้ร่วมและลงมือทำร่วมกับองค์กรมากว่า50 แห่ง ปัญหาหลัก คือ ผู้บริหารต้องการความสำเร็จอย่างรวดเร็วโดยไม่สนใจกระบวนการใด ๆ ทั้งสิ้น อะไรถึงได้เกิดเหตุเป็นอย่างนั้น สาเหตุเกิดมาจากการทำกิจกรรมด้านเพิ่มผลผลิตที่เน้นเฉพาะระดับผู้จัดการขึ้นไปหรือทำเฉพาะพนักงานระดับปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไม่ทำทั้งหมด  ตามมาด้วยการไม่ได้วางแผนที่จะทำแบบต่อเนื่องหรือระยะยาว ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดคือ การทำแบบระยะสั้น 1 ปีจบ เสร็จแล้วแยกย้ายไปทำงานต่อหรือยกยระดับตัวเองแบบงง ๆ เพื่อเอาหน้า หากมองให้ลึกลงไปแล้วการสร้างรากฐานได้ดี ท่านสังเหตุพื้นที่สีน้ำเงินของรูป House of TPM 8 Pillar จะพบว่ามีกิจกรรมอยู่ 4 ซึ่งประกอบไปด้วย 5S , … Continue reading สร้างรากฐานการเพิ่มผลผลิตด้วย Bottom Up Activity

Posted in UncategorizedTagged

How to Improve MTBF & MTTR

MTBF หมายถึง Mean Time Between Failures หมายถึง ระยะเวลาเฉลี่ยก่อนการเสียหายแต่ละครั้ง MTTR หมายถึง Mean Time to Repair คือ ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่เสียหายจนใช้งานได้แต่ละครั้ง ตัวชี้วัดของส่วนงานวิศวกรรมและช่างซ่อมบำรุงที่เด่น ๆ ที่ TPM สนใจ          ทำไมต้องวัดค่านี้  เพราะเป็นการวัดสมรรถนะความเชื่อถือได้ ( Reliability Performance) เป็นเวลาเฉลี่ยที่เครื่องจักรสามารถทํางานได้ตามปกติระหวางจุดการทํางาน ซึ่งเนื่องมาจากการบํารุงรักษาเครื่องจักรที่มีสมรรถนะสูงเชื่อถือได้สูง และการวัดค่าสมรรถนะการบํารุงรักษาได้ (Maintainability Performance) ซึ่งสมรรถนะการบํารุงรักษาสมรรถนะการบํารุงรักษาได้วัดจากค่าเฉลี่ยของเวลาในการซ่อมแซมเครื่องจักร การปรับปรุงด้านเครื่องจักรเป็นศาสตร์ด้านวิศวกรรมที่คุณต้องมีความเข้าใจในเครื่องจักรนั้นๆเป็นอย่างดี ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “ จะทำอย่างไรที่ทำให้ ให้เครื่องเครื่องเดินนานและซ่อมได้เร็ว “  โดยแบ่งเป็น 2 แนวทาง ดังนี้ กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างเทคโนโลยีและทักษะการบำรุงรักษา มุ่งเน้นกิจกรรมเพื่อขยายระยะเวลาเดินเครื่องจักร (MTBF) และกิจกรรมเพื่อย่นเวลาการซ่อมเครื่องจักร (MTTR) เพื่อสร้างระบบที่เพิ่มผลผลิตและความสูญเสียและของเสียเป็นศูนย์ กิจกรรมเพื่อการบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สามารถแบ่งการดำเนิน การทำให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์ 4 เฟส ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนหลัก … Continue reading How to Improve MTBF & MTTR

Posted in UncategorizedTagged

PDCA ก้าวแรกสู่ความสำเร็จ

หลักการทำงานขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องมีก่อนการปรับปรุง คือ PDCA ของคุณ W. Edwards Deming โดยหลักการนี้ใช้ได้กับทุกเรื่องในโลกนี้ และวงล้อนี้ไม่มีหยุดนิ่ง ถ้าคนๆคนนั้นยังมีชีวิต เหตุที่ผมหยิบเอาเรื่องนี้มาเล่านั้น เกิดจากได้พบกับเหตุการณ์ที่ผู้คนเริ่มทำงานด้านปรับปรุงงานต่างๆ และประสพปัญหาไม่ได้ตามเป้าหมายตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งผมเองได้เข้าไปคุยและลุยหน้างานก็พบว่า การใช้ PDCA ที่ไม่ครบขั้นตอนหรือบางขั้นไม่ทำเลย สิ่งที่ผมเห็นบ่อยมากส่วนใหญ่เน้นที่ Do ทำเป็นอย่างเดียวไม่หยุดคิดอะไรเลย และที่หนักไปนั้นคือ ทำแต่แบบเดิมๆ เพื่อหวังว่ามันจะได้ตามที่ความหวัง ตามมาด้วยการ “ ไม่ชอบวางแผน” เพราะ “ วางแผนไม่เป็น ” (Plan) ซึ่งรายละเอียดการวางแผนนั้นละเอียดมากและมีจุดชี้เป็น ชี้ตาย ตรงที่ “ การวิเคราะห์สาเหตุ ”  เพราะหาสาเหตุนั้นจะนำไปสู่การ Action ที่คุณต้องทำต่อ คุณคิดว่าคนที่ประสบสำเร็จนั้น เค้าใช้เวลาคิดวางแผนและข้อมูลมากเพียงใดเพื่อตัดสินใจ  อันนี้ผมก็ไม่รู้นะครับ 555 แต่ที่แน่ๆ — ABRAHAM LINCOLN กล่าวไว้ “ หากผมมีเวลา 6 ชั่วโมง ในการตัดต้นไม้ ผมจะใช้เวลา … Continue reading PDCA ก้าวแรกสู่ความสำเร็จ