MTBF หมายถึง Mean Time Between Failures หมายถึง ระยะเวลาเฉลี่ยก่อนการเสียหายแต่ละครั้ง
MTTR หมายถึง Mean Time to Repair คือ ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่เสียหายจนใช้งานได้แต่ละครั้ง
ตัวชี้วัดของส่วนงานวิศวกรรมและช่างซ่อมบำรุงที่เด่น ๆ ที่ TPM สนใจ
ทำไมต้องวัดค่านี้ เพราะเป็นการวัดสมรรถนะความเชื่อถือได้ ( Reliability Performance) เป็นเวลาเฉลี่ยที่เครื่องจักรสามารถทํางานได้ตามปกติระหวางจุดการทํางาน ซึ่งเนื่องมาจากการบํารุงรักษาเครื่องจักรที่มีสมรรถนะสูงเชื่อถือได้สูง และการวัดค่าสมรรถนะการบํารุงรักษาได้ (Maintainability Performance) ซึ่งสมรรถนะการบํารุงรักษาสมรรถนะการบํารุงรักษาได้วัดจากค่าเฉลี่ยของเวลาในการซ่อมแซมเครื่องจักร
การปรับปรุงด้านเครื่องจักรเป็นศาสตร์ด้านวิศวกรรมที่คุณต้องมีความเข้าใจในเครื่องจักรนั้นๆเป็นอย่างดี ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “ จะทำอย่างไรที่ทำให้ ให้เครื่องเครื่องเดินนานและซ่อมได้เร็ว “ โดยแบ่งเป็น 2 แนวทาง ดังนี้
- กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างเทคโนโลยีและทักษะการบำรุงรักษา มุ่งเน้นกิจกรรมเพื่อขยายระยะเวลาเดินเครื่องจักร (MTBF) และกิจกรรมเพื่อย่นเวลาการซ่อมเครื่องจักร (MTTR) เพื่อสร้างระบบที่เพิ่มผลผลิตและความสูญเสียและของเสียเป็นศูนย์
- กิจกรรมเพื่อการบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
สามารถแบ่งการดำเนิน การทำให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์ 4 เฟส ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนหลัก ดั้งนี้
ขั้นที่ 1 : ประเมินสภาพเครื่องจักรและสำรวจสภาพปัจจุบัน
- สร้างระบบการใช้และบันทึกประวัติเครื่องจักร
- ประเมินเครื่องจักร : มาตรฐานการประเมิน จัดระบบเครื่องจักรตามความสำคัญและเลือกเครื่องจักรและชิ้นส่วนเพื่อทำ PM หรือ Machine Ranking
- การตั้งเป้าหมายการบำรุงรักษา (ดัชนี้วัดผล วิธีการวัดที่มีประสิทธิภาพ)
ขั้นที่ 2 : ฟื้นฟูสภาพเสื่อมและปรับปรุงจุดอ่อน ( ช่วยเหลือการบำรุงรักษาด้วยตนเองและป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ )
- ฟื้นฟูสภาพเสื่อม สร้างสภาพพื้นฐาน กำจัดสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเสื่อม (Support Autonomous Maintenance: Red Tag Remove)
- การปรับปรุงจุดอ่อนและปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อยืดอายุการใช้งาน ( Kaizen : ECRS )
- มาตรการป้องกันการเกิดซ้ำของการขัดข้องที่รุนแรง (Breakdown Maintenance)
ขั้นที่ 3 : สร้างระบบการบริหารข้อมูลการบำรุงรักษา
- สร้างระบบบริหารข้อมูลการขัดข้องและบริหารข้อมูลการบำรุงรักษาเครื่องจักร (Preventive Maintenance)
- สร้างระบบการบริหารงบประมาณเครื่องจักร
- การจัดการอะไหล่ และการจัดการเอกสาร
ขั้นที่ 4 : สร้างระบบการบำรุงรักษาตามคาบเวลา
- กิจกรรมเตรียมการเพื่อการบำรุงรักษาตามคาบเวลา (Periodic Maintenance)
- สร้างระบบการบำรุงรักษาตามคาบเวลา เน้นการคัดเลือกเครื่องจักร ชิ้นส่วนประกอบเพื่อการบำรุงรักษา
- สร้าง ปรับปรุงมาตรฐานและแผนงานซ่อมบำรุง (มาตรฐานวัสดุ มาตรฐานงาน มาตรฐานการตรวจสอบ และมาตรฐานการตรวจรับ) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการซ่อมบำรุงตามคาบเวลา และเพิ่มพูนคุณภาพในการดูแลผู้รับเหมา
ขั้นที่ 5 : สร้างระบบการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance)
- สร้างระบบหรือกระบวนการการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
- การคัดเลือกเครื่องจักร และชิ้นส่วนประกอบในการทำการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์และขยายผลการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ให้มากขึ้น
- เน้นพัฒนาเทคโนโลยีและใช้เครื่องมือการตรวจวิเคราะห์
ขั้นที่ 6 : ประเมินผลการบำรุงรักษาตามแผนงาน
- ประเมินผลระบบการบำรุงรักษาตามแผนงาน
- ประเมินผลการปรับปรุงค่า Reliability จำนวนการขัดข้องและการหยุดเล็กๆ น้อยๆ ค่า MTBF ความถี่ เป็นต้น
- ประเมินผลการปรับปรุงการบำรุงรักษา อัตราการบำรุงรักษาตามคาบเวลา อัตราการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ ค่า MTTR เป็นต้น
- ประเมินผลการลดต้นทุนการบำรุงรักษา การลดต้นทุนการบำรุงรักษา การปรับปรุงการกระจายของค่าซ่อมบำรุง
Cr. รูปการทำให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์ อ.มณี สุวรรณรัตน์ ที่ปรึกษา WCM
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
บทความที่เกี่ยวข้อง
10 Step เทพ :Planned Maintenance : https://bit.ly/2REiV5l
การบำรุงรักษาเชิงประสิทธิผล (Productive Maintenance) : https://bit.ly/2VfSh3n
You must be logged in to post a comment.