การสร้างบ้านต้องเริ่มจากการปรับที่ดินให้แน่น หากเปรียบเทียบกับการทำงานให้โรงงานก็จะเหมือนกับดัชนีชี้วัดที่เรียกว่า ขวัญกำลังใจ (Moral) ซึ่งจะเป็นการวัดการมีส่วนร่วมของพนักงานเช่น จำนวนข้อเสนอนแนะ , คะแนนการทำ 5ส หรือไม่ก็กิจกรรมกลุ่ม QCC ซึ่งทั้ง 3 กิจกรรมนี้จะถูกเรียกว่า Bottom Up Activity
คือ การดำเนินการกิจกรรมจากล่างขึ้นบน โดยเน้นพนักงาน (Small group) เป็นหลักและบ่อยครั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ
เพราะอะไรนะเหรอ ???
ซึ่งจากประสบการณ์ที่ได้ร่วมและลงมือทำร่วมกับองค์กรมากว่า50 แห่ง
ปัญหาหลัก คือ ผู้บริหารต้องการความสำเร็จอย่างรวดเร็วโดยไม่สนใจกระบวนการใด ๆ ทั้งสิ้น
อะไรถึงได้เกิดเหตุเป็นอย่างนั้น สาเหตุเกิดมาจากการทำกิจกรรมด้านเพิ่มผลผลิตที่เน้นเฉพาะระดับผู้จัดการขึ้นไปหรือทำเฉพาะพนักงานระดับปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไม่ทำทั้งหมด ตามมาด้วยการไม่ได้วางแผนที่จะทำแบบต่อเนื่องหรือระยะยาว ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดคือ การทำแบบระยะสั้น 1 ปีจบ เสร็จแล้วแยกย้ายไปทำงานต่อหรือยกยระดับตัวเองแบบงง ๆ เพื่อเอาหน้า
หากมองให้ลึกลงไปแล้วการสร้างรากฐานได้ดี ท่านสังเหตุพื้นที่สีน้ำเงินของรูป House of TPM 8 Pillar จะพบว่ามีกิจกรรมอยู่ 4 ซึ่งประกอบไปด้วย 5S , KSS , QCC , Daily Management ซึ่งทั้ง 4 เครื่องมือนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำให้คล่องและเรียบง่าย ๆ
เริ่มจากเครื่องมือ Level 1 ว่าด้วย 5S ซึ่งความหมายคือ ระบบพื้นฐานที่มุ่งสร้างวินัยและนำไปสู่ความสำเร็จ เพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นการสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในการทำงาน เครื่องมือนี้ไม่มีอะไรมากที่ง่ายแต่ทำยาก เคล็ดลับขอการทำ 5S ให้ประสบผลสำเร็จนั้นต้องวางเป้าหมายในการดำเนินการแต่ละปีให้ท้าทายขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช้ทำแค่มีหรือทำแบบเพื่อสวยงาม
เครื่องมือต่อมา KSS หรือชื่อเต็มว่า KAIZEN Suggestion System คือ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้พนักงานระดับปฏิบัติได้ฝึกคิดปรับปรุงงานในโรงงานและยังเป็นการสื่อข้อความจากพนักงานไปสู่ผู้บริหารได้รับทราบ และนำไปปฏิบัติ แต่ผมขอเน้นย้ำนะครับต้องเป็น Kaizen Level 1 = Individual Improvement คิดเองทำเอง ทำได้ตัวคนเดียวก่อน แล้วค่อยๆขยับความยากขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็น Poka Yoka , Karakuri kaizen Etc.
เครื่องมือ Quality Control Circle หรือ QCC เป็นเครื่องมือการปรับปรุงที่ยกระดับต่อจาก KSS ซึ่งเป็น Level 2 = Small Group Improvement ซึ่งกลุ่มคณุภาพ หรือ Quality Circle (QC) หมายถึง “กลุ่มคนที่ไม่ควรเกิน 6 คน ในสถานที่ทำงานเดียวกันซึ่งมีลักษณะงานเหมือนหรือใกล้เคียงกัน รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มขึ้น
โดยยึดโครงสร้างขององค์กรเป็นหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหา การปรับปรุงงาน และการบริการ หลักการของกลุ่มคุณภาพจะต้องไม่ขัดต่อนโยบายของหน่วยงานที่ตนสังกัด หลักการนั้นต้องการปรับปรุงงานเริ่มจากการค้นหาความสูญเสีย (Losses) ภายในหน่วยงานของสมาชิกและได้รับการเห็นชอบจากหัวหน้างาน
การดำเนินการกลุ่มคุณภาพ คือ การบริหารและการจดัการแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบ (Systematic Problem Solving) และปรับปรุงประสิทธิภาพ ในการทำงานขององค์กรอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ซึ่งประกอบด้วย
-Plan : การวางแผน – Do: การดำเนินการ – Check: การตรวจสอบผล – Act: การจัดตั้งเป็นมาตรฐาน
เครื่องมือสุดท้าย คือ Daily Management คือ การบริหารงานประจำอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยป้องกันการถดถอย ( Standardization for prevention ) ของผลลัพธ์ที่เราต้องการ ซึ่งหัวใจของการบริหารงานประจำอยู่ที่ SDCA ( S แบบ Effective Work Std)
คุณสมบัติที่สำคัญนั้น คือ การฝึกให้คุณคิดแบบ Systematic : ภาพการทำงานร่วมกันเป็นระบบ ดังเช่น ต้องเป็นระบบ ไม่มั่วส่งไม้หากยังไม่ได้รับ และ Scientific : การใช้ข้อมูล และข้อเท็จจริงในการทำงาน – สามารถทำ Target เดิมซ้ำได้ ไม่ฟลุ๊ก
** เลือกกลุ่มเป้าหมายให้ถูกนะครับ เพราะงานนี้เป็นการสร้างวัฒนาธรรมองค์กรขึ้นใหม่กันเลยทีเดียว
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
You must be logged in to post a comment.