Zero Defect ฉบับเข้าใจง่าย ตอน 1

ปัญหาคุณภาพ ถือเป็นเรื่องที่ที่ยอมกันไม่ได้  เพราะลูกค้าต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ         คุณต้องเข้าใจเรื่องนี้ก่อนนะครับ “ ไม่มีของดี ราคาถูก ”  เพราะทุกสินค้านั้นมีค่าต้นทุนของคุณภาพ ( Cost of Quality)  ที่เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินการด้านคุณภาพทั้งหมด          เรื่องนี้จะเป็นเรื่องของการสร้างระบบ Quality Maintenance ผ่านการดำเนินในรูปแบบ TPM ที่จะเน้นการกำจัดของเสียให้เป็นศูนย์  กล่าวคือ การหาแต่มาตรการแก้ไขเฉพาะหน้าเมื่อเกิดของเสียขึ้นนั้น จะทำให้แนวโน้มของการเกิดของเสียไม่ลดลง เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากปัญหาบุคลากรของบริษัทฯ ขาดทักษะในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดสภาวะเงื่อนไขที่ถูกต้องของกระบวนการผลิตยังไม่ดีพอ, พนักงานขาดจิตสำนึกด้านคุณภาพ โดยพนักงานไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด รวมถึงพนักงานขาดทักษะการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง ทำให้สภาพเครื่องจักรมี Basic condition         สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ ปรับแนวคิด โดยต้องเชื่อว่าเราสามารถไม่ผลิตของเสียได้ ซึ่งต้องเริ่มจากที่ตัวเราก่อน หากคุณไม่เชื่อข้อนี้ ขอให้เลิกอ่านบทความนี้ได้เลย เพราะสิ่งที่ระบบนี้ต้องการมีเพียงคุณลงมือทำ 2 อย่าง 1 ธำรงรักษามาตรฐานและปรับปรุง แต่จะอยู่ในรูปแบบของ … Continue reading Zero Defect ฉบับเข้าใจง่าย ตอน 1

Posted in UncategorizedTagged

One Point Lesson เอกสารที่เป็นมากกว่าความรู้

เครื่องมือที่ใช้ในการสอนงานนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น Work instrution , Standard work หรือ เอกสารอื่นๆ มากกว่า ซึ่งแต่ละเอกสารก็มีจุดประสงค์การใช้งานที่ต่างกัน ยกตัวอย่าง Work instrution = จะบอกคุณว่าต้องทำอย่างไรในสถานการณ์ที่กำหนด Standard work = จะบอกสิ่งที่คุณต้องรู้เพื่อให้งานเสร็จในครั้งแรก แต่ในความเป็นจริงเรื่องหนึ่งที่ผมพบ การที่เราทำงานทุกวันนั้นมีเรื่องราวมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน และจำเป็นต้องสื่อสารให้กับทีมงานรับทราบ  เพราะเมื่อผ่านไปเป็นเวลานาน เราก็อาจจะลืมเรื่องราวนั้นๆ แล้ว ผมได้เรียนเครื่องมือหนึ่งจากการทำ TPM ใน Autonomous Maintenance หรือ การบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตัวเอง ที่มีชื่อเรียกว่า บทเรียนเฉพาะจุด (One Point Lesson) ซึ่งเป็นการสรุปสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานในกระดาษ 1 ใบ และสามารถช่วยผมเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและสื่อสารได้ดีมาก ซึ่งแบ่งออกได้ 3 ประเภท ความรู้พื้นฐาน (Basic Knowledge)  คือ ความรู้เบื้องต้นที่จำเป็นต้องรู้ ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงรักษา การใช้งาน ความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องจักร ปัญหาที่เกิดขึ้น (Problem … Continue reading One Point Lesson เอกสารที่เป็นมากกว่าความรู้

Posted in UncategorizedTagged

ปกป้องเครื่องจักรของตนเอง ด้วย Tentative Standard

การรักษามาตรฐาน หรือ Hozen เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของการผลิตที่ใช้เครื่องมือบริหาร TPM ซึ่งได้จากการดำเนินการ Jishu-Hozen ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง การที่พนักงานแต่ละคนได้จัดการดูแลเครื่องจักรของตนเอง โดยการหมั่นตรวจสอบเติมน้ำมัน เปลี่ยนชิ้นส่วน ซ่อมแซม ตรวจหาสิ่งผิดปกติ ตรวจเช็คอย่างละเอียดอยู่เป็นประจำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ “ปกป้องเครื่องจักรของตนเอง”             เริ่มต้น Step 1ที่คุณได้ทำความสะอาดขั้นพื้นฐานกับเครื่องจักร เพื่อ กำจัดฝุ่นและสิ่งสกปรกที่ตัวเครื่องจักร , ค้นหาสิ่งผิดปกติ เช่น จุดบกพร่องเล็กน้อยแหล่งกำเนิดความสกปรก บริเวณเข้าถึงได้ยาก และแหล่งที่มาของการเกิดของเสีย (Quality defect) จนำถึงการกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นและรายการที่เลิกใช้งาน พร้อมทั้งปรับปรุงเครื่องจักรให้ง่าย (Simplify)              ตามด้วย Step 2 ด้วยการกำจัดแหล่งกำเนิดความสกปรกและบริเวณเข้าถึงได้ยาก เพื่อลดเวลาการทำความสะอาดโดยการกำจัดแหล่งกำเนิดฝุ่นผงและสิ่งสกปรก ป้องกันการฟุ้งกระจายและปรับปรุงชิ้นส่วนที่เป็นอุปสรรคในการเข้าไปทำความสะอาด ตรวจเช็ค หล่อลื่น ขันแน่น หรือสัมผัสเครื่องจักร … Continue reading ปกป้องเครื่องจักรของตนเอง ด้วย Tentative Standard

Posted in UncategorizedTagged

มาตรการเพื่อไปสู่ Zero Breakdown

1 ในปัญหาของโรงงาน คือ เครื่องจักร Breakdown เมื่อผมเข้าโรงงานใหม่ ด้วยความคาดหวังจะสร้างโรงงานที่ใช้เครื่องมือบริหาร TPM สร้างกำไร แต่คำถามแรกที่ได้รับหลังจากทำงานไปสักระยะคือ เครื่องจักร Failure จะทำอย่างไรดี ซึ่งเป็นคำถามจากผู้จัดการผลิต  ผมเองก็ตอบไปตรงๆว่า  “ไม่รู้ครับ” แต่ผมมีจุด Check point เพื่อช่วยตรวจสอบว่าระบบป้องกันการเกิด Breakdown ยังใช้งานได้อยู่หรือไม่ หากพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ การตรวจว่าคุณได้ทำคู่มือการทำงาน ทำตามเงื่อนไขการผลิตหรือทำตามแผน PM หรือไม่ หากคุณละเลยการดำเนินการก็จะมีแนวโน้มที่คุณจะเจอ เครื่องจักร Breakdown แน่นอนรายการที่คุณต้องไปตรวจสอบมีดังต่อไปนี้ การจัดเตรียมเงื่อนไขพื้นฐาน เงื่อนไขพื้นฐาน คือ การทำความสะอาด ขันแน่น หล่อลื่น และตรวจสอบ. Failure นั้นเกิดจากการเสื่อมสภาพ กลไกจะค่อยๆ เสื่อมที่ละน้อยตามเวลาที่ผ่านไป และไม่ได้มีการดำเนินการในเงื่อนไขพื้นฐานทั้ง 4 อย่าง การปฎิบัติตามเงื่อนไข เครื่องจักรแะอุปกรณ์ มีเงื่อนไขการใช้งานที่กำหนดไว้ ซึ่งหากเราดำเนินการตามเงื่อนไขนั้นแล้ว คงจะไม่เกิด failure ขึ้นง่ายๆ การฟื้นฟูความเสื่อมสภาพ ต้องทำการตรวจสอบอย่างถูกต้อง … Continue reading มาตรการเพื่อไปสู่ Zero Breakdown

Posted in UncategorizedTagged

เร่งผลลัพธ์จาก TPM ต้องลงมือทำ

ในเหตุการณ์ตอนนี้ปี 2020 Covid-19 กำลังใกล้จบ (อาจจะยืดระยะไปถึงสิ้นปี) ไม่ว่าภาครัฐบาล เอกชน ช่วยเหลือกันอย่างขะมักเขม้น  ออกมาตรการต่างๆ เพื่อตอบโต้และกำจัดพื้นที่การแพร่กระจาย เราเองซึ่งพลเมืองมีหน้าที่ปฎิบัติตาม และตั้งคำถามเพื่อหาความอยู่รอดในชีวิตต่อไป เช่นเดียวกับบริษัท องค์กร ผู้ประกอบการ ก็ต้องหาหนทางการอยู่รอดให้ได้ ก็ได้มีออกมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อป้องกันตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น WFH , ระงับโครงการพัฒนาต่างๆ , คิดเรื่องการลดต้นทุนการผลิต รวมไปถึงแผนการปลดพนักงาน ผมเขียนเรื่องนี้เพราะให้ทุกท่านได้ตระหนักถึงการเป็นผู้จ้างมืออาชีพ เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นว่าเครื่องมือบริหาร TPM นั้นสามารถช่วยโรงงานของท่านได้ ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จของการทำระบบ TPM ที่เน้นการ “ ลงมือทำ ” และยิ่งสถานการณ์ตอนนี้หากบริษัทของคุณไม่ลงมือทำอะไรสักอย่าง อาจจะเกิดความเสียหายถึงขั้นปิดกิจการเลยก็ได้ แต่ทว่าในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น  คุณยังมีทางรอดจากเหตุการณ์นี้  การลดต้นทุนอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการที่จะชนะสงครามแห่งความอยู่รอด  ส่วนกำไรที่ได้มาจะนำไปใช้อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท  แต่ไม่ว่าจะนำไปใช้อย่างไร  การเพิ่มกำไรก็เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการลดต้นทุนเป็นสิ่งสำคัญ เครื่องมือบริหาร TPM : FI Pillar จะมีการระดับความยากในการลดต้นทุนนั้นต่างกัน คุณจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ให้เหมาะสมกับความสามารถและเงินเดือนที่เค้าได้รับ ซึ่งแบ่ง 3 ระดับ … Continue reading เร่งผลลัพธ์จาก TPM ต้องลงมือทำ