เร่งผลลัพธ์จาก TPM ต้องลงมือทำ

ในเหตุการณ์ตอนนี้ปี 2020 Covid-19 กำลังใกล้จบ (อาจจะยืดระยะไปถึงสิ้นปี)

ไม่ว่าภาครัฐบาล เอกชน ช่วยเหลือกันอย่างขะมักเขม้น  ออกมาตรการต่างๆ เพื่อตอบโต้และกำจัดพื้นที่การแพร่กระจาย เราเองซึ่งพลเมืองมีหน้าที่ปฎิบัติตาม และตั้งคำถามเพื่อหาความอยู่รอดในชีวิตต่อไป เช่นเดียวกับบริษัท องค์กร ผู้ประกอบการ ก็ต้องหาหนทางการอยู่รอดให้ได้ ก็ได้มีออกมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อป้องกันตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น WFH , ระงับโครงการพัฒนาต่างๆ , คิดเรื่องการลดต้นทุนการผลิต รวมไปถึงแผนการปลดพนักงาน

ผมเขียนเรื่องนี้เพราะให้ทุกท่านได้ตระหนักถึงการเป็นผู้จ้างมืออาชีพ เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นว่าเครื่องมือบริหาร TPM นั้นสามารถช่วยโรงงานของท่านได้ ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จของการทำระบบ TPM ที่เน้นการ

“ ลงมือทำ ”

และยิ่งสถานการณ์ตอนนี้หากบริษัทของคุณไม่ลงมือทำอะไรสักอย่าง อาจจะเกิดความเสียหายถึงขั้นปิดกิจการเลยก็ได้ แต่ทว่าในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น  คุณยังมีทางรอดจากเหตุการณ์นี้  การลดต้นทุนอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการที่จะชนะสงครามแห่งความอยู่รอด  ส่วนกำไรที่ได้มาจะนำไปใช้อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท  แต่ไม่ว่าจะนำไปใช้อย่างไร  การเพิ่มกำไรก็เป็นสิ่งสำคัญ

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการลดต้นทุนเป็นสิ่งสำคัญ

เครื่องมือบริหาร TPM : FI Pillar จะมีการระดับความยากในการลดต้นทุนนั้นต่างกัน คุณจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ให้เหมาะสมกับความสามารถและเงินเดือนที่เค้าได้รับ ซึ่งแบ่ง 3 ระดับ ( Rank A B C )

Rank A : เจ้าของหรือผู้บริหาร – ต้องการเงิน

โครงการลดต้นทุนต้องเป็นเรื่องที่ยาก ทำทั้งทีต้องให้กระทบต่อโครงสร้างต้นทุน เรื่องกลุ่มนี้อาจเป็นการสูญเสียและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อหลายหน่วยงาน , แหล่งที่ก่อให้เกิดการหกล้นหรือรั่วซึม ที่ปล่อยไว้เป็นเวลานาน , ปัญหารุนแรง และเร่งด่วน เป็นเหตุให้ส่งมอบล่าช้า  ลูกค้าตำหนิ

Rank B : ผู้จัดการ – ต้องได้ตามเป้าหมาย (ที่ตนเองได้รับ)

การสูญเสียและปัญหาที่จำกัดอยู่ภายในหน่วยงาน  ความรุนแรง จากแหล่งสกปรกปานกลางแก้ไขจุดบกพร่องของเครื่องจักร หรือแค่ทำตามมาตรฐาน

Rank C : ปฎิบัติการ – ต้องการอะไรที่ง่าย เร็ว ไม่หนื่อย (อยู่เฉยๆ ก็ได้เงิน)

การสูญเสียที่ตัวเองหรือกลุ่มย่อยสามารถกำจัดได้ด้วยตนเอง จากการชี้แนะและช่วยเหลือจากผู้รู้ปรับปรุงบริเวณเข้าถึงลำบาก ต่อการเดินเครื่อง  ตรวจสอบ และหล่อลื่น  เป็นกิจวัตร กำจัดแหล่งความสกปรกโดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องจักรมากเกินไป

96513657_628919511035871_3703005057537540096_n

งานทั้งหมดนั้นจะต้องผ่านการทำงานแบบใช้ “ หลักคิด ”ทั้ง 4 นี้

  1. Logic : ต้องชัดเจนในความเป็นเหตุเป็นผล เช่นผลสำเร็จได้ ก็รู้ว่าสำเร็จจากปัจจัยไหน หรือหากผลไม่สำเร็จ ก็รู้ว่าไม่สำเร็จเพราะปัจจัยอะไร
  2. Linkage : มีความเชื่อมโยง  ที่ทำได้อย่างนี้ ก็จะรู้ว่าเชื่อมโยงมาจากขั้นตอนที่ทำมาแล้วอย่างไร
  3. Scientific : สามารถทำ ผลลัพธ์ เดิมซ้ำได้ ไม่ฟลุ๊ก (ทำงานแบบวิทยาศาสตร์ตรงข้ามกับไสยศาสตร์ทำซ้ำไม่ได้เดี๋ยวจะไม่ขลัง)
  4. Systematic : ภาพการทำงานร่วมกันเป็นระบบ ดังเช่น การวิ่งผลัดส่งไม้ ต้องเป็นระบบ ไม่มั่วส่งไม้หากยังไม่ได้รับ หรือ โยนไม้ให้ เมื่อยังวิ่งไม่ถึง

จงลงมือทำด้วยตัวเอง เพราะการแก้ไขปัญหาต้องใช้ 5 Gen ประกอบไปด้วย Genba , Genbutsu , Genjitsu , Genri และ Gensoku

5-gen

จากนั้นตั้งคำถามว่า ” ทำไม ” กับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น

Why-Why Analysisจุดเริ่มต้นสู่การปรับปรุงลดความสูญเสีย

Why-Why Analysis Concept

เพื่อให้ได้มาซึ่ง แนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไป

งานนี้คุณจะเจอตัวจริงที่สามารถช่วยองค์รได้มากมาย หากยิ่งองค์กรคุณมีคนที่ทำงานปรับปรุง แก้ไขปัญหามากๆ ก็จะสามารถสร้างผลกำไรและอยู่รอดอย่างแน่นอน

สุดท้ายนี้ TPM เน้นการทำงานแบบ cross functional team จะได้ผลและสร้างความยั้งยืนที่สุด

Profitable Company

 

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

#HozenKaizen