New Normal ของกิจกรรมเพิ่มผลผลิต

ผ่านไปครึ่งปีแล้ว ผลประกอบการเป็นยังไงกันบ้างครับ ตัวชี้วัดต่างๆ ยังคงดำเนินการของมันทุกเดือน เหตุการณ์เกิดขึ้นมากมายในปีนี้ ไม่ว่าจะ Covid-19 , การทำงานแบบ WFH หรือการหาอาชีพเสริมเพื่อรองรับในกรณีฉุกเฉินต่างๆ ผมเองก็กระทบไม่น้อย ในสายธุรกิจผมรู้เลยว่า กำไรน้อยแน่นอน  ปัญหาคืออะไรเป็นสิ่งที่ต้องทำก่อนในเวลานี้ คุณเองก็ต้องใช้สมองช่วยบริษัทให้มากขึ้น  สิ่งที่ผมสัมผัสได้ในตอนนี้มีการดำเนินการต่างๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายอย่างหนักหน่วงเพื่อรักษาบริษัทให้อยู่รอด  ดังนั้นการทำกิจกรรมเพิ่มผลผลิตแบบ New Normal คือ “ การเพิ่มผลผลิตเพื่อการอยู่รอดของตัวเอง ” ผมขอพูดมุมมองพนักงานบริษัทที่มีส่วนร่วมในการเพิ่มผลผลิตบริษัท ซึ่งผลเองเริ่มต้นจาการวิเคราะห์ดัชนีชี้วัด KMI , KPI, KAI ของบริษัทและตัวเองก่อนว่ามีเรื่องใดบ้างที่เราได้ตามเป้าหมายและไม่ได้เป้าหมาย เมื่อทราบถึง Gap Analysis แล้ว จงหา Action ที่ตอบสนองนั้นให้เร็วที่สุด ต้องรู้ให้ได้ว่าเราความสูญเสียเพราะอะไรและจะต้องแก้ไขต่อไปอย่างไร  “ ยิ่งในเวลานี้คุณเคลื่อนไหวช้า คุณก็จะพลาดโอกาส ” ตัวอย่าง TPM Goal ต่อมากิจกรรมที่ต้องทำคือหาความสูญเสียหรือ Losses ในการทำงาน  ยกตัวอย่างง่าย เนื่องจากผมทำงานกับเครื่องจักรเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเครื่องมือที่ผมใช้ คือ OEE … Continue reading New Normal ของกิจกรรมเพิ่มผลผลิต

Posted in UncategorizedTagged

Zero Defect Endgame ฉบับเข้าใจง่าย

ตอนนี้คุณก็รู้แล้วว่าต้องทำอย่างไรต่อจากบทความที่แล้ว Zero Defect ตอน 1 และ Zero Defect ตอน 2  เมื่อคุณคืนสภาพเสร็จก็ต้อง เทียบข้อมูลกับ Quality rate เพื่อยืนยันตรวจสอบผลการฟื้นฟู และตัดสินใจว่าจะดำเนนิการต่อไปสู่ Step 3 หรือ Step 6 ซึ่งจะเป็นส่วนที่คุณต้องลงมืออย่างเข้มข้นซึ่งผมจะอธิบายใน 2 มิติ Improve loop หรือขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหา ที่ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น Why-Why Analysis, PM Analysis ซึ่งยืดตามหลักการและทฤษฎีการผลิต และระบุหัวข้อที่ขาดหายไป หรือค่ามาตรฐานที่ยังไม่เข้มงวดเพียงพอเพื่อให้ได้ Solution สำหรับนำไปสู่การแก้ไขและกำจัดปัจจัยข้อบกพร่องและ Revise Standard มุ่งเน้นการกำหนดเงื่อนไข มาตรฐานและวิธีการทำงานในจุดที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบ QM matrix (ปรับปรุงแก้ไขเอกสารมาตรฐานต่างๆ ด้วยหัวข้อที่ถูกเพิ่มเติมหรือทบทวนใหม่) เพื่อไปยัง Maintain loop Maintain loop หรือขั้นตอนควบคุมและปรับปรุงเงื่อนไข เพื่อรักษามาตรฐานการทำงานให้ได้ตามที่ต้องการ รวบรวมหัวข้อการตรวจสอบ … Continue reading Zero Defect Endgame ฉบับเข้าใจง่าย

Posted in UncategorizedTagged

Zero Defect ฉบับเข้าใจง่าย ตอน 2

หลังจากที่คุณได้ตรวจสอบ 4M condition ผ่านเกณฑ์ในการประเมินไปแล้วก็จะพบว่าอยู่ 4 อย่าง 1 = ไม่มีมาตรฐาน แต่มีการปฎิบัติ 2 = มีมาตรฐานแต่ไม่สมบูรณ์ 3 = มีมาตรฐานแต่ไม่ปฎิบัติตาม 4 = มีมาตรฐาน / มีการปฏิบัติ และมีผลลัพท์ที่แสดงเห็นชัดเจน เพราะว่าการตรวจสอบ 4M Condition ของกระบวนการที่เป็นต้นเหตุของการเกิดของเสีย จะมีการสำรวจ ว่าเงื่อนไข 4M เหล่านั้นผู้ปฏิบัติงานได้มีการควบคุมโดยกำหนดเป็นมาตรฐานต่างๆไว้หรือไม่ และเข้าตรวจสอบ เงื่อนไข 4M เหล่านั้นว่ายังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ ถ้าพบจุดพกพร่องจะทำการแก้ไขให้กลับสู่ สภาพปกติ และมีการติดตามผลของการเกิดของเสียของกระบวนการผลิต เมื่อเกิดของเสียขึ้นจะมีการดำเนิน การป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ ซึ่งจุดนี้เองจะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป ซึ่งเป็น Step 2 ที่เรียก ว่า Restore หรือการฟื้นฟูสภาพ อะไรที่เรียกว่าการฟื้นฟูสภาพ เครื่องจักรหรือชิ้นส่วน ไม่ตรงตามสภาพที่กำหนด “ต้องเปลี่ยน” การไม่ปฏิบัติ งานตามคู่มือมาตรฐาน “ต้องทำ” เพราะการฟื้นฟูจุดบกพร่อง … Continue reading Zero Defect ฉบับเข้าใจง่าย ตอน 2

Posted in UncategorizedTagged