Zero Defect Endgame ฉบับเข้าใจง่าย

ตอนนี้คุณก็รู้แล้วว่าต้องทำอย่างไรต่อจากบทความที่แล้ว Zero Defect ตอน 1 และ Zero Defect ตอน 2  เมื่อคุณคืนสภาพเสร็จก็ต้อง เทียบข้อมูลกับ Quality rate เพื่อยืนยันตรวจสอบผลการฟื้นฟู และตัดสินใจว่าจะดำเนนิการต่อไปสู่ Step 3 หรือ Step 6 ซึ่งจะเป็นส่วนที่คุณต้องลงมืออย่างเข้มข้นซึ่งผมจะอธิบายใน 2 มิติ

Improve loop หรือขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหา ที่ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น Why-Why Analysis, PM Analysis ซึ่งยืดตามหลักการและทฤษฎีการผลิต และระบุหัวข้อที่ขาดหายไป หรือค่ามาตรฐานที่ยังไม่เข้มงวดเพียงพอเพื่อให้ได้ Solution สำหรับนำไปสู่การแก้ไขและกำจัดปัจจัยข้อบกพร่องและ Revise Standard มุ่งเน้นการกำหนดเงื่อนไข มาตรฐานและวิธีการทำงานในจุดที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบ QM matrix (ปรับปรุงแก้ไขเอกสารมาตรฐานต่างๆ ด้วยหัวข้อที่ถูกเพิ่มเติมหรือทบทวนใหม่) เพื่อไปยัง Maintain loop

Maintain loop หรือขั้นตอนควบคุมและปรับปรุงเงื่อนไข เพื่อรักษามาตรฐานการทำงานให้ได้ตามที่ต้องการ รวบรวมหัวข้อการตรวจสอบ , ทบทวนรอบระยะเวลาการตรวจสอบ , ปรับปรุงวิธีตรวจสอบ แก้ไข Check sheet  ของแต่ละหน่วยงาน ฝึกอบรมซ้ำต่อการตรวจสอบ ซึ่งมีความสำคัญมาและทำการตรวจสอบอย่างจริงจัง รวมถึงการปรับปรุงเงื่อนไขตรวจสอบตามมาตรฐานการตรวจสอบมีสาเหตุทำให้ปฏิบัติตามยาก เนื่องจากมีหัวข้อมาก รอบเวลาสั้น เสียเวลามาก และในขั้นตอนนี้จะดำเนินการในลักษณะตรงข้าม และสุดท้ายการจัดการสภาพ (Condition management ) เป็นการควบคุมติดตามดูแนวโน้มการดำเนินการ ซึ่งควบคุมติดตามดูแนวโน้มของผลการตรวจสอบ เพื่อจัดสร้างระบบที่สามารถดำเนินมาตรการแก้ไขได้ก่อนที่เกิดปัญหา

หากใครยังไม่รู้จักเริ่มต้นยังไงขอให้ลงไป Gamba หน้างานโดยเน้นที่กระบวนที่มีมูลค่า จากนั้นให้ทำตามลำดับ

  • กำหนดเป้าหมายที่เครื่องจักรสามารถทำให้ชัดเจน
  • กำหนดลำดับกระบวนการผลิตและการเชื่อมต่อระหว่างโปรเซสให้ชัดเจน
  • กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละโปรเซสกับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน
  • ตรวจจับสาเหตุที่ทำให้เกิดของเสียทุกสาเหตุที่จะเป็นไปได้ในทุกโปรเซส
  • สาเหตุของเสียที่ตรวจจับได้ กำหนดเงื่อนไขเครื่องจักรที่ไม่ก่อให้เกิดของเสียอย่างชัดเจน
  • ทำรายการจุดตรวจสอบที่ยังไม่ชัดเจน หลังวิเคราะห์ปัจจัยการผลิตและจุดอื่นๆ ที่ต้องการตรวจเช็คทั้งหมด  ตัดสินใจว่าใครจะรับผิดชอบปัญหาเหล่านี้ ต้องแก้ไขเมื่อไหร่ และจะแก้ไขอย่างไร

สุดท้ายนี้ การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพประกอบไปด้วยกิจกรรมเพื่อกำหนดสภาพเครื่องจักรที่ไม่ก่อให้เกิดของเสีย โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบ ของเสียสามารถป้องกันได้โดยการตรวจเช็คและวัดค่าสภาพเครื่องจักรตามกำหนดเวลา และตรวจสอบว่าค่าที่วัดได้อยู่ในพิกัดที่กำหนดการคาดคะเนการเกิดของเสีย ทำโดยการดูแนวโน้มค่าที่วัดได้ และสร้างมาตรการป้องกันไว้ล่วงหน้า

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

#HozenKaizen

Posted in UncategorizedTagged