New Normal ของกิจกรรมเพิ่มผลผลิต

ผ่านไปครึ่งปีแล้ว ผลประกอบการเป็นยังไงกันบ้างครับ ตัวชี้วัดต่างๆ ยังคงดำเนินการของมันทุกเดือน เหตุการณ์เกิดขึ้นมากมายในปีนี้ ไม่ว่าจะ Covid-19 , การทำงานแบบ WFH หรือการหาอาชีพเสริมเพื่อรองรับในกรณีฉุกเฉินต่างๆ

ผมเองก็กระทบไม่น้อย ในสายธุรกิจผมรู้เลยว่า กำไรน้อยแน่นอน  ปัญหาคืออะไรเป็นสิ่งที่ต้องทำก่อนในเวลานี้ คุณเองก็ต้องใช้สมองช่วยบริษัทให้มากขึ้น  สิ่งที่ผมสัมผัสได้ในตอนนี้มีการดำเนินการต่างๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายอย่างหนักหน่วงเพื่อรักษาบริษัทให้อยู่รอด  ดังนั้นการทำกิจกรรมเพิ่มผลผลิตแบบ New Normal คือ

“ การเพิ่มผลผลิตเพื่อการอยู่รอดของตัวเอง ”

ผมขอพูดมุมมองพนักงานบริษัทที่มีส่วนร่วมในการเพิ่มผลผลิตบริษัท ซึ่งผลเองเริ่มต้นจาการวิเคราะห์ดัชนีชี้วัด KMI , KPI, KAI ของบริษัทและตัวเองก่อนว่ามีเรื่องใดบ้างที่เราได้ตามเป้าหมายและไม่ได้เป้าหมาย เมื่อทราบถึง Gap Analysis แล้ว จงหา Action ที่ตอบสนองนั้นให้เร็วที่สุด ต้องรู้ให้ได้ว่าเราความสูญเสียเพราะอะไรและจะต้องแก้ไขต่อไปอย่างไร  “ ยิ่งในเวลานี้คุณเคลื่อนไหวช้า คุณก็จะพลาดโอกาส ”

ตัวอย่าง TPM Goal

ต่อมากิจกรรมที่ต้องทำคือหาความสูญเสียหรือ Losses ในการทำงาน  ยกตัวอย่างง่าย เนื่องจากผมทำงานกับเครื่องจักรเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเครื่องมือที่ผมใช้ คือ OEE (Overall Equipment Efficiency)  เป็นการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร และวิธีการที่ทำให้รู้ประสิทธิภาพของเครื่องจักรแล้วยังรู้ถึงสาเหตุของความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งในระบบ คือ สามารถแยกการสูญเสียและรายละเอียดของสาเหตุนั้นได้ ทำให้สามารถที่จะปรับปรุงแก้ไข ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ถูกต้อง 

เครื่องจักรที่ดีไม่ใช่เป็นเพียงแค่เครื่องจักรที่ไม่เสีย เปิดสวิตช์เมื่อใดทำงานได้เมื่อนั้น หากแต่ต้องเป็นเครื่องจักรที่เปิดขึ้นมาแล้วทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คือ เดินเครื่องได้เต็มกำลังความสามารถ แต่ถ้าเครื่องจักรใช้งานได้ตลอดเวลาและเดินเครื่องได้เต็มกำลัง แต่ชิ้นงานที่ผลิตออกมาไม่มีคุณภาพ ก็คงไม่มีประโยชน์อะไร ดังนั้น เรื่องคุณภาพของงานที่ออกมาจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะใช้ในการพิจารณาเครื่องจักรและที่สำคัญเครื่องจักรที่ดีต้องใช้งานได้อย่างปลอดภัย  จงทำให้เป็นศูนย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิต  ทำให้บริษัทสามารถสร้างผลกำไรได้โดยมีวิธีการ คือ การกำจัด Loss ทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไปด้วยการทำให้ 

งานสุดท้ายที่ผมต้องรีบทำ คือ เพิ่มคุณค่าให้ตนเอง ก็คือ ตัวเองต้องทำงานได้หลายอย่างมากขึ้น คือ คนน้อยลง สินค้าได้มากขึ้น เป็นรูปแบบที่ผู้บริหารอยากได้มากที่สุด หรือเรียกได้ว่า “ ยอดมนุษย์ ”

หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆ คือ พนักงาน 1 คน ทำงานได้ตั้งแต่ ผลิตสินค้า ตรวจคุณภาพสินค้าเอง จัดสินค้าเอง และซ่อมเครื่องจักรเอง กลุ่มคนประเภทนี้จะพบเห็นได้น้อย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคนกลุ่มนี้จะผ่านการอบรมอย่างถูกต้องและเข้มข้นจากองค์กรของตนเองเป็นหลัก  ซึ่งทักษะที่คุณได้ทำนั้นจะติดตัวคุณไปตลอดชีวิต (ถึงตกงานคุณก็จะรอด เพราะมีทักษะอื่นติดตัว )

Knight of Wands ต้องลุย อาจคือคำตอบสุดท้าย ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ต้องมีความมานะพยายามที่จะฝ่าฟันอุปสรรคไปให้จงได้ บางครั้งต้องเป็นคนเปิดเกมก่อน

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #HozenKaizen

Posted in UncategorizedTagged