ข้อดีของการทำ Basic condition เท่ากับการลดต้นทุน

เรื่องนี้เริ่มจากวิกฤต COVID-19 เมื่อคุณไม่สามารถลงทุนอะไรใหม่ๆได้ในช่วงนี้ ทางเลือกก็มีไม่มาก แต่ต้องลดต้นทุนให้ได้

TPM เป็นเครื่องมือบริหารที่ลักษณะเด่น คือการทำ Autonomous Maintenance เพื่อเปลี่ยน mind set ของผู้ปฎิบัติงาน แนวคิดการบำรุงรักษาด้วยตนเอง เริ่มจากการที่มีการปรับปรุงตลอดมา และความซับซ้อนในงานซ่อมบำรุงที่หลากหลายส่งผลให้เกิดการแบ่งฝ่ายผลิต และฝ่ายซ่อมบำรุงอย่างชัดเจน ทำให้ประสิทธิภาพของการอำนวยความสะดวกลดลงอย่างมาก Jishu-Hozen หรือการบำรุงรักษาด้วยตนเองจะสามารถปรับปรุงสิ่งเหล่านี้ได้ โดยมีแนวคิดดังต่อไปนี้

แนวคิดขั้นต้น

  • ของเสียเป็นศูนย์และเครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์จะเป็นจริงได้ถ้าทุกคนที่เกี่ยวข้องปรับแนวความคิดและปฏิบัติเสียใหม่
  • เมื่อเครื่องจักรดีขึ้นคนก็จะดีขึ้น ถ้าคนดีขึ้นบรรยากาศการทำงานก็จะดีขึ้นตามลำดับ
  • ภายใต้ภาวะผู้นำของฝ่ายจัดการทุก ๆ คน จะต้องมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาที่แท้จริงที่มีอยู่ตามขั้นตอนที่ถูกกำหนดขึ้น

ดังนั้นการเรียนรู้เครื่องจักร ( Know my machine ) ชิ้นส่วนต่างๆ ทำหน้าที่อะไร หากไม่สามารถทำงานได้จะเกิดอะไร  สภาพที่ควรจะเป็นเป็นอย่างไร และข้อควรระวังมีอะไรบ้าง โดยความรู้เล่านี้จะได้มาทีมงานวิศวกรของโรงงาน

เพราะ “ ก่อนจะปรังปรุงอะไรให้คืนสภาพเงื่อนไขพื้นฐานก่อน ”

หรือ Basic condition 

หากพูดให้เข้าใจกันภาษาชาวบ้านนั้นก็ คือ การทำให้เครื่องจักรใหม่เหมือนตอนพึ่งซื้อมาครั้งแรก หรือตามสภาพกาลเวลานั้นๆ ซึ่งข้อดีของการคืนสภาพนั้นจะเหมือนการตรวจสอบความสมบูรณ์ทุกชิ้นส่วนของเครื่องจักร เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องจักรพร้อมใช้หรือไม่

จาก Case study ของบริษัทแห่งหนึ่งที่ผมเข้าไปช่วยในการสร้างระบบป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำมีผลลัพธ์ที่ตอกย้ำ ว่าการแค่คืน Basic Condition นั้น สามารถลดต้นทุนได้จริง เหตุการณ์เกิดจากที่ผู้จัดการวิศวกรรมต้องการซื้อเครื่งจักรใหม่ เพื่อสร้างระบบป้องการหยุดของกระบวนการผลิต แต่ตอนนี้ไม่มีเงินเพราะ Covid-19 การตัดค่าใช้จ่ายต่างๆต้องทำก่อนเพื่อความอยู่รอดของบริษัท

แต่ในความโชคร้ายก็มีข่าวดีอยู่บ้าง เพราะบริษัทนี้มีทีมงาน TPM ที่สร้างมาเพื่อทำงานปรับปรุงโดยเฉพาะ โดยผมเป็นแกนนำและถูกส่งเข้าไปให้คำแนะนำเรื่องการลดต้นทุนจากเครื่องจักร ซึ่งผมได้เริ่มแผนการทำ Autonomous Maintenance  และเริ่มขั้นตอน Step 0 คือ การเรียนรู้เครื่องจักร ( Know my machine ) ถือเป็นการ X-ray เครื่องจักรดูว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ แล้วแก้ไขเป็นจุดๆ มันคงไม่เสียทั้งเครื่องหรือไม่ ผ่านการหาสิ่งผิดปกติของเครื่องจักรทั้ง 7 ประเภท มุ่งเน้นจุดของเครื่องจักรที่คุณจะต้องทำความสะอาดขั้นพื้นฐาน ถือเป็นคืนสภาพเครื่องจักรจะผ่านรูปแบบการติด Tag แล้วดำเนินการแก้ไขให้ครบถ้วนซึ่งเป็นดำเนินการตาม AM Step 1 : Cleaning for Inspection

  • กำจัดฝุ่นและสิ่งสกปรกที่ตัวเครื่องจักร
  • ค้นหาสิ่งผิดปกติ เช่น จุดบกพร่องเล็กน้อยแหล่งกำเนิดความสกปรก บริเวณเข้าถึงได้ยาก และแหล่งที่มาของการเกิดของเสีย (Quality defect)
  • กำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นและรายการที่เลิกใช้งาน พร้อมทั้งปรับปรุงเครื่องจักรให้ง่าย (Simplify)

ผ่านไป 2 เดือน สามารถคืนสภาพเครื่องจักรได้สำเร็จ พร้อมสร้างมาตรฐานในการทำงานแบบ Daily maintenance เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่มูลค่า 20 ล้านบาท

แค่คุณคืนสภาพเครื่องจักร ปัญหาต่างๆก็ลดลงแล้ว ไม่เชื่อลองดูกันนะครับ

#วิศวกรเค้รประสิทธิภาพ #HozenKaizen