มีน้องคนนึง inbox มาถามเรื่องการสร้างระบบเพิ่มผลผลิต ควรจะเริ่มต้นอย่างไรดีครับ
หลังจากคุยกันไปสักพักก็ได้ขอสรุปที่น่าจะเหมาะสมกับองค์กรของน้องเค้า ที่ต้องถามเยอะเพราะการสร้างระบบการเพิ่มผลผลิตนั้นแม้จะรูปแบบการดำเนินการที่คล้ายๆกันหลายองค์กร แต่อย่าลืมวัฒธรรมองค์กรนั้นต่างกัน บางที่จริงจังกับการทำงาน บ้างที่สนุกกันเป็น Event ไม่ได้ต้องการสร้างระบบ
สิ่งแรกที่คุณต้องดำเนินการ คือ Lean Mfg System Plant Audit หรือ Fact finding เพื่อหา Gap ในการปรับปรุงโรงงาน คุณจะทำเองหรือจ้างผู้เชี่ยวชาญมาก็ได้ เพราะสิ่งที่สำคัญนั้นคือ การมองให้เห็นถึงปัญหา
ตามมาด้วยการประเมินความสูญเสียและความสูญเปล่าให้เป็นมูลค่าที่เรียกว่า “ เงิน “ เพราะทุกบริษัทนั้นเปิดมาเพื่อผลกำไร
เมื่อเห็นตัวเลขที่นำออกมาแล้วทำไว้ในใจก่อน จากนั้นก็คุณต้องมาศึกษาเครื่องมือบริหารให้เหมาะสมกับคุณ ยกตัวอย่างที่เห็นกันชัดๆของค่ายญี่ปุ่น คือ TQM TPM TPS (LEAN) โดยทั้ง 3 เครื่องมือบริหารนี้ก็จะมีลักษณธเด่นต่างกัน

เมื่อเลือกเสร็จแล้วคุณต้องก็มาจัดทำโครงการเพื่อนำเสนอ งานนี้คุณต้องเขียนออกและนำเสนอโครงการได้ดี เพราะผู้บริหารแต่ละท่านนั้นมีความต้องการไม่ได้เหมือน ต้องไปเก็บรายละเอียดให้ดีๆครับ
หากใครเลือก TPM จะมุ่งเน้นโรงงานที่มีเครื่องจักรเป็นฐานการผลิตหลัก และถือเป็นเครื่องมือที่เป็นลิขสิทธิ์ของ JIPM ซึ่งการดำเนินการนั้นจะมาลักษณะแบบแผนเป็นขั้นเป็นตอน แม้แต่การที่คุณจะเริ่มดำเนินการ TPM ก็จะมีรูปแบบที่ชัดเจนเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จากหนังสือ “ การดำเนินการกิจกรรม TPM เพื่อการปฎิรูปการผลิต ”
ได้ระบุไว้ด้วยกัน 12 ขั้นตอน Startup for the 12 Steps of TPM
เริ่มจากวัตถุประสงค์ (Objective)
– การเพิ่มผลผลิตที่เห็นผลชัดเจน
– เพื่อสร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีชีวิตชีวา
– เพื่อยกระดับความสามารถบุคลากร
PREPARATION (ขั้นเตรียมการ) 3-6 Months
1. ผู้บริหารสูงสุดประกาศให้นำ TPM เข้ามาใช้พัฒนาองค์กร
2. อบรมให้ความรู้ TPM แก่พนักงานทุกคนและประชาสัมพันธ์
3. แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริม TPM
4. กำหนดนโยบายและตั้งเป้าหมาย
5. เขียนแผนดำเนินงานหลัก
6. พิธีเปิด
IMPLEMENTATION (ขั้นดำเนินการ) 3 years
7. สร้างองค์ประกอบให้ระบบการผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุด
7.1 การปรับปรุงเพื่อลดการสูญเสีย
7.2 การบำรุงรักษาด้วยตนเอง
7.3 การบำรุงรักษาตามแผนงาน
7.4 การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการเดินเครื่องและบำรุงรักษา
8. การจัดการเครื่องจักรใหม่
9. การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ
10. การปรับปรุงสำนักงาน
11. การจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
CONSOLIDATION (ขั้นประสบความสำเร็จ)
12. ดำเนิน TPM อย่างต่อเนื่องและยกระดับเป้าหมายให้สูงขึ้น
สุดท้ายนี้องค์กรที่จะอยู่รอดได้ต้องทำงานปรับปรุงและธำรงรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และใครตั้งใจทำงานด้านนี้ก็ยังเป็นทักษะที่ติดตามสำหรับเตรียมบินได้ในอนาคต
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #HozenKaizen
You must be logged in to post a comment.