TPM ต้องมี 8 Pillar ในการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่ Zero Loss

ทำคนเดียวไปเร็ว ทำเป็นทีมไปแบบยั้งยืน
เพราะสำเร็จของหลายองค์กร คือ การทำงานเป็นทีมที่ต้องทำแบบ Cross functional team

เช่นเดียวกันกับ TPM ต้องมี 8 Pillar ในการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่ Zero Loss ยกตัวอย่างการสร้างระบบบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ ต้องใช้การสนับสนุนทั้ง 7 Pillar โดยการผลิตต้องอาศัยเครื่องจักร คุณภาพจึงขึ้นอยู่กับสภาพเครื่องจักรมากขึ้น การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพมีความสำคัญในกิจกรรม TPM ในอุตสาหกรรมการประกอบชิ้นส่วนที่มีระบบอัตโนมัติมากขึ้น ในสภาพการใช้คนที่น้อยลง เป้าหมายของการบำรุงรักษาเชิงคุณภาพก็คือ ดูแลรักษาและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ โดยปัจจัยพื้นฐานที่ต้องเตรียมเพื่อให้การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพมีความสำเร็จ มีด้วยได้ 3 อย่าง

  1. การกำจัดสภาพเสื่อม
    เมื่อเครื่องจักรอยู่ในสภาพเสื่อม องค์ประกอบและชิ้นส่วนจะมีอายุสั้น เครื่องจักรไม่มีเสถียรภาพ และขัดข้องกระทันหัน ความคืบหน้าเพื่อให้เกิดของเสียเป็นศูนย์จะล่าช้าถ้าเครื่องจักรยังขัดข้องอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพจะเริ่มใช้งานได้ สภาพเสื่อมจะต้องถูกกำจัดและการขัดข้องกระทันหันต้องลดให้ต่ำสุด โดยการดำเนินงาน TPM ทั้ง 7 Pillar คือ การปรับปรุงเพื่อลดการสูญเสีย การบำรุงรักษาด้วยตนเอง การบำรุงรักษาตามแผนงานและการอบรมทักษะการเดินเครื่องและซ่อมบำรุง
  2. การกำจัดปัญหาในกระบวนการผลิต
    อุปสรรคในอุตสาหกรรมโปรเซส คือ การขัดข้องในกระบวนการผลิต เช่น การอุดตัน การรั่วซึม การหกล้น การเปลี่ยนองค์ประกอบและปัจจัยอื่นที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิตที่มีเสถียรภาพ การอุดตัน การรั่วและการหยุดเครื่องนับเป็นอันตรายต่อโรงงานประเภทโปรเซส ถ้าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จะกำจัดได้โดยการปรับปรุงเพื่อลดการสูญเสีย หรือให้โอเปอเรเตอร์ทำการบำรุงรักษาด้วยตนเอง ก็จะทำให้การบำรุงรักษาเชิง คุณภาพเกิดประสิทธิผล
  3. พัฒนาโอเปอเรเตอร์ให้เชี่ยวชาญ
    การพัฒนาโอเปอเรเตอร์ที่เชี่ยวชาญการผลิต และเชี่ยวชาญด้านเครื่องจักรโอเปอเรเตอร์จะต้องได้รับการฝึกฝนให้ค้นหาและแก้ไขความผิดปกติที่เป็นอันตรายต่อระบบ
    ในกิจกรรม TPM สิ่งสำคัญมาก คือการวิเคราะห์ด้วยหลัก “3 จริง” สถานที่จริง (location) ของจริง (object) และเกิดขึ้นจริง (phenomenon) เพราะว่าของเสียจะเกิดขึ้นในแต่ละสถานที่ที่มีกระบวนการผลิตโดยเฉพาะ และเป็นของจริง (ผลิตภัณฑ์บกพร่องหรือชิ้นส่วนเครื่องจักร) และเกิดขึ้นจริง คือรายละเอียดของลักษณะปัญหาแสดงให้เห็น กำหนดเบาะแสที่ดีที่สุดเพื่อชี้ชัดถึงแหล่งที่มาให้ได้

” จงทำงานเพิ่มที่มีคุณค่า เพื่อความอยู่รอด ”

http://www.leantpm.co

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #HozenKaizen

Posted in UncategorizedTagged