ปัญหาอยู่ที่หน้างาน (Problem in workplace)

1 ในการค้นหาปัญหาแบบคลาสสิคที่เป็นยอดนิยามสไตส์ญี่ปุ่น เป็นพากายหยาบหน้างานจริง (Gamba) เพื่อหา สิ่งของที่เป็นตัวปัญหา (Genbutsu) และไปอยู๋ในสถานการณ์จริง (Genjitsu)     

รูปแบบการทำงานแบบนี้ทำให้เราได้ “ ข้อมูลเท็จจริง ” ใช้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้จริง

เมื่อไปถึงที่หน้างานแล้ว ข้อสังเกตุที่ผมใช้จะเป็นการตรวจสอบจากรายงานการตรวจสอบประวัน Daily Maintenance ซึ่งแต่ละเครื่องจักรหรือพื้นที่การทำงานจะมีไว้ (โรงงานที่มีระบบ)   โดยมีหัวข้ออยู่ 7 ข้อ

  • หัวข้อตรวจสอบ (Inspection items) มีอะไรบ้างที่ต้องทำความสะอาด ตรวจเช็ค และหล่อลื่น เพื่อดูแลรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพปกติ
  • จุดสำคัญ (Key Point)  เป็นการตรวจให้เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากชิ้นส่วนนี้เกิดสกปรก หลวมหรือหล่อลื่นไม่เพียงพอ วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถจดจำถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง    คำแนะนำจากหัวหน้างานในสิ่งเหล่านี้จึงมีความจำเป็นมาก
  • วิธีการ (Method)  เลือกวิธีการตรวจเช็คที่ง่ายและเหมาะสมที่สุดคิดค้นสร้างวิธีการควบคุมโดยการมอง (Visual control) เพื่อให้ทุกคนสามารถตรวจเช็คได้ถูกต้องและเชื่อถือได้
  • เครื่องมือ  (Tools) เลือกเครื่องมือที่จะใช้ในการทำความสะอาดหล่อลื่น และตรวจสอบ พร้อมติดป้ายชื่อให้ชัดเจน
  • เวลา  (Times) กำหนดเวลาที่จะใช้ในแต่ละงาน และกำหนดเป้าหมายการลดเวลาโดยการปรับปรุงอยู่เรื่อย ๆ ให้ทำงานได้ง่ายขึ้นและ ลดเวลาการทำงานให้น้อยที่สุด
  • ช่วงเวลา  (Interval)  กำหนดความถี่ในการตรวจสอบและวัดความสำเร็จตามเป้าหมาย เพื่อยืดช่วงเวลาการตรวจให้ยาวขึ้น งานบางอย่างต้องขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญการบำรุงรักษา เช่น การเปลี่ยนถ่ายสารหล่อลื่น เป็นต้น
  • ผู้รับผิดชอบ  (Responsibility)  กำหนดให้มีผู้ดูแลรับผิดชอบในแต่ละหน้าที่ เพื่อให้มั่นใจว่า จะไม่มีการหลงลืม และให้ทุกคนมีบทบาทในการสร้างความรู้สึกในการเป็นเจ้าของเครื่องจักรมากขึ้น

เพียงเท่านี้ก็สามารถมองเห็นสิ่งผิดปกติได้อย่างไม่ต้องนั่งเขียนบนห้องประชุม  จากนั้นก็ตามด้วยการหมุนวงล้อ PDCA หลักการทำงานขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องมีก่อนการปรับปรุง คือ PDCA ของคุณ W. Edwards Deming โดยหลักการนี้ใช้ได้กับทุกเรื่องในโลกนี้ และวงล้อนี้ไม่มีหยุดนิ่ง ถ้าคนๆคนนั้นยังมีชีวิต เหตุที่ผมหยิบเอาเรื่องนี้มาเล่านั้น เกิดจากได้พบกับเหตุการณ์ที่ผู้คนเริ่มทำงานด้านปรับปรุงงานต่างๆ และประสพปัญหาไม่ได้ตามเป้าหมายตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งผมเองได้เข้าไปคุยและลุยหน้างานก็พบว่า การใช้ PDCA ที่ไม่ครบขั้นตอนหรือบางขั้นไม่ทำเลย

สิ่งที่ผมเห็นบ่อยมากส่วนใหญ่เน้นที่ Do ทำเป็นอย่างเดียวไม่หยุดคิดอะไรเลย และที่หนักไปนั้นคือ ทำแต่แบบเดิมๆ เพื่อหวังว่ามันจะได้ตามที่ความหวัง ตามมาด้วยการ “ ไม่ชอบวางแผน” เพราะ “ วางแผนไม่เป็น ” (Plan) ซึ่งรายละเอียดการวางแผนนั้นละเอียดมากและมีจุดชี้เป็น ชี้ตาย ตรงที่ “ การวิเคราะห์สาเหตุ ”  เพราะหาสาเหตุนั้นจะนำไปสู่การ Action ที่คุณต้องทำต่อ

จงฝึกใช้ PDCA Step ให้คล่องๆ และหัดประยุกต์ในเข้ากับเหตุการณ์ (อย่าใช้แบบตรงๆเกินไปนะ ยืนหยุ่นให้เป็น)

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ