การสร้างดัชนีชี้วัดแบบ TPM (Setting the Basic Policy and Goals of TPM)

ดัชนีตัวชี้วัดประสิทธิภาพเพื่อวัดผลการทำงานที่บริษัทนั้น มีมากมายไม่มีอะไรตายตัวนัก แต่ตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนให้เห็นเป็นรูปธรรม ต้องเลือกแบบมีความเชื่อมโยง แต่ในความเป็นจริงนั้น จะมีดัชนีวัดบางตัวไม่เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงผลการปฏิบัติงานที่แท้จริง ทำไมถึงผมต้องบอกแบบนี้ล่ะ เพราะตัวชี้วัดนั้นจะติดตามและกำหนดทิศทางของกิจกรรมอย่างชัดเจน

การสร้างดัชนีชี้วัดแบบ TPM คือ การตั้งเป้าหมายหรือ Target Deployment จะแบ่งเป็นระดับ3 Key หลักๆ  เพื่อการตั้งเป้าหมายต้องสามารถทำได้จริง มีที่มาที่ไป มีเหตุและผล ไม่ใช่ทำไปทุกเรื่องหรือทำแบบไม่มีการวิเคราะห์อะไรเลย หรืออยากทำอะไรก็ทำ เพราะตัวชี้วัดทุกเรื่องคุณต้องสร้างความเชื่อโยงหลายๆ มิติ  เช่น  ด้านการเงิน , ด้านคุณภาพ , ด้านการส่งมอบ เป็นต้น

1. Key Management indicator (KMI) ที่ได้มาจาก TPM Policy

ค่าดัชนีชี้วัดนี้จะสอดคล้องกับนโยบายบริษัทหลัก โดย KMI สอดคล้องใหญ่จะยึดตามหลัก PQCDSME ดัชนีชี้วัดนี้เป็นของผู้บริหารระดับสูง

2. Key Performance indicator (KPI)

ดัชนีแสดงผลลัพธ์การดำเนินการว่าของเป้าหมายขององค์กร ที่สอดคล้องกับ KMI และตัวชี้บ่งว่ามีกำไรหรือได้โบนัสได้เลยเพราะถ้าคุณไม่ทำ KPI ก็จะไม่ส่งผลต่อ KMI ดัชนีชี้วัดนี้เป็นของผู้บริหารระดับกลางหรือผู้จัดการแผนกต่างๆ

3. Key Activity indicator (KAI)

เพื่อแสดงผลลัพธ์การดำเนินการกิจกรรมนั้นๆ ว่าส่งผลต่อเป้าหมายหลักขององค์หรือไม่ กิจกรรมจะเป็นการยืนยันผลว่าถ้าทำกิจกรรมนี้แล้วจะต้องส่งกับ KPI ซึ่งกิจกรรมนี้ล่ะ จะได้มาจากการกำหนดความสูญเสีย 16 Major Loss ดัชนีชี้วัดนี้เป็นของระดับ Operation , Engineer , Supervisor เป็นต้น

สามารถแบ่ประเภทของ KPI สามารถแบ่งได้เป็น 7 กลุ่มหลักๆ ดังนนี้

P = Productivity ติดตามประสิทธิภาพและปัญหาการผลิต: OEE , Mean time Between Failure (MTBF) , Mean time to Repair (MTTR)

Q = Quality ติดตามแสดงปัญหาด้านคุณภาพที่ส่งผลต่อองค์กรและสายการผลิต: Claim , Quality rate

C = Cost เชื่อมโยงถึงองค์ประกอบของต้นทุนการผลิต: Cost reduction , Energy cost

D = Delivery ติดตามเรื่องการส่งมอบสินค้าและจัดส่งเป็นไปตามแผน: Leadtime , Delivered In Full, On Time (DIFOT) , On Time In Full (OTIF)

S = Safety ติดตามเรื่องความปลอดภัยของพนักงาน: Accident , Lost time Accident

M = Morale ติดตามเรื่องขวัญกำลังใจและความรู้สึกที่ดีของพนักงาน: Skill Management , No. of Kaizen , No of why -why analysis.

E = Environment ติดตามปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการผลิต: Environment complain , Waste management.

การบริหารงานแบบ TPM นั้นจะดำเนินการแบบเสาหรือ Pillar ซึ่งประกอบไปด้วยทั้ง 8 Pillar

Pillar 1 : Focus Improvement (การปรับปรุงเพื่อลดการสูญเสีย)

วัตถุประสงค์ : การปรับปรุงเฉพาะจุด เน้นการสร้างผลกำไร มุ่งกำจัดความสูญเสียทั้งหมดภายในองค์กร

Pillar 2 : Autonomous Maintenance (การบำรุงรักษาด้วยตนเอง)

วัตถุประสงค์ : พัฒนาบุคลากรให้เก่งในเครื่องจักร ซึ่งเป็นกิจกรรมเด่นที่สุดของ TPM

Pillar 3 : Planned Maintenance (การบำรุงรักษาตามแบบแผน)

วัตถุประสงค์ : บริหารการบำรุงรักษาเครื่องจักร มุ่งไปสู่ Zero Breakdown

Pillar 4 : Education and Training (ฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการเดินเครื่องจักร)

วัตถุประสงค์ : ออกแบบการเพิ่มทักษะการเดินเครื่องและการบำรุงรักษาอย่างเป็นระบบ

Pillar 5 : Early Management (การจัดการเครื่องจักรใหม่)

วัตถุประสงค์ : กิจกรรมที่สร้างมาเพื่อป้องปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น ( Vertical Startup ) ทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่และเครื่องจักรใหม่

Pillar 6 : Quality Maintenance  (การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ)

วัตถุประสงค์ :  สร้างจิตสำนึก ด้านคุณภาพ กำจัดของเสีย เน้นการควบคุมเงื่อนไขและกำจัดเงื่อนไข ( Quality Processing )  มุ่งไปสู่ Zero Defect

Pillar 7 : Office Improvement (การปรับปรุงสำนักงาน)

วัตถุประสงค์ :  ทำให้ส่วนงานสนับสนุนมีประสิทธิภาพ สร้างมาตรฐาน มีความสามารถหลากหลายและสร้างที่ทำงานที่ทำให้ทำงานง่าย

Pillar 8 : Safety Health and Environment Management  (การจัดการด้านความปลอดภัย อนามัยและสิ่งแวดล้อม)

วัตถุประสงค์ :  กำจัดปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยง  มุ่งไปสู่ Zero Accident

ตัวอย่าง KPI ประจำเสา

24 KPIs Pillar

สุดท้ายนี้ Total Productive Maintenance ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อทำให้บริษัทสามารถสร้างผลกำไรได้โดยมีวิธีการ คือ การกำจัด Loss ทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไป  ด้วยการทำให้  “เป็นศูนย์”  และ “ป้องกันการเกิดซ้ำ , ป้องกันล่วงหน้าก่อนเกิด” โดย ทุกคนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเพื่อกำจัดความสูญเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Loss)

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

Posted in UncategorizedTagged