จุดสำคัญ ก็คือทำไมจึงเกิดวิธีคิดเช่นนี้ขึ้น นั่นก็เพราะว่าเกิดปัญหาขึ้นมา !!!
ซึ่งปัญหานั้นคือ การไม่มีเงิน หากเป็นมหาเศรษฐีมีเงินมากมาย จะของดีหรือของเสียก็ไม่สนใจยังไงก็ผลิตออกมาก่อนแล้วค่อยแยกทีหลัง ถ้ามีของเสียก็ทิ้งไปหรือซ่อมก็ได้ แต่เนื่องจากบริษัทมีเงินจำกัดจึงต้องไม่ผลิตของเสียออกมา
ความจริงแล้ว สิ่งที่เรียกว่าของเสียนั้นหากผลิตขึ้นมา 1 ชิ้นก็เท่ากับว่าวัตถุดิบและสิ่งต่างๆที่ใช้ในการผลิตกลายเป็นมุดะมากมายมหาศาล เป็นการทิ้งเงินนั่นเอง และถึงแม้ว่าจะซ่อมได้แต่ในการซ่อมก็มีกระบวนการ อุปกรณ์ ฯลฯ ที่ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเข้าไปอีก ซึ่งการเสียเวลาและค่าใช้จ่ายโดยตัวมันเองก็เป็นมุดะอยู่แล้ว ดังนั้นแทนที่จะไปเสียเวลาซ่อมก็อย่าผลิตของเสียออกมาเลยจะดีกว่า
การแยกงานของคนและงานของเครื่องจักร คือ การทำให้คนสามารถทำงานได้ในขณะที่เครื่องจักรอัตโนมัติเดินเครื่องอยู่ เนื่องจากว่าเงินทุนจำกัดจึงไม่สามารถซื้ออุปกรณ์เครื่องจักรได้ ต้องพึ่งคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทั้งหมดให้ได้แม้จะน้อยนิดเพียงใดก็ตาม ดังนั้นจึงเกิดวิธีคิดว่าให้คนทำงานอื่นในขณะที่เครื่องจักรเดินอยู่
ตัวอย่างเช่น : เวลาที่ทุกคนจะต้มน้ำร้อนที่บ้านตัวเอง ถ้าใช้กาไฟฟ้าคงไม่มีใครมาคอยมองตอนต้มหรอกว่า จะเป็นอะไรไหม พอกดสวิตช์เสร็จ ก็ไปทำงาน ดูทีวี กล่าวคือไปทำงานอื่น พอน้ำเดือดสวิตช์ก็จะตัดโดยอัตโนมัติหรือถ้าใช้กาน้ำร้อนรุ่นใหม่ๆต้ม พอเดือดก็จะมีเสียงปี๊ดออกมา ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ก็สบายใจไปทำงานอื่นได้เพราะพอเดือดก็มีเสียงเตือนออกมา แต่ถ้าเราใช้กาน้ำร้อนแบบเก่าต้มน้ำดูจะเป็นอย่างไร ยังไงก็ต้องรู้สึกกังวลว่า จะเดือดหรือยัง จะเดือดเกินไปไหม ต้องคอยเดินไปดูเป็นระยะ หากลืมไปดู ในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดก็จะเกิดไฟไหม้โดยไม่รู้ตัว
ความคิดในเรื่องคุณภาพเป็นเรื่องหนึ่งที่เน้นมากที่สุด ความคิดพื้นฐานในเรื่องคุณภาพดังกล่าวก็คือเรื่อง Build – In – Quality กล่าวคือ เราควรคำนึงว่ากระบวนการของตนเองแต่ละคน ๆ นั้นเป็นกระบวนการสุดท้ายและกระบวนการถัดไปก็คือลูกค้า ดังนั้นจึงจำเป็นที่เราทุกคนควรช่วยกันมีส่วนร่วมรับผิดชอบ โดยผลิตคุณภาพเข้าไปในกระบวนการของเรา หัวหน้างานจำเป็นต้องชี้แนะลูกน้องเน้นอยู่เสมอถึงความจำเป็นเรื่องคุณภาพโดยไม่ปล่อยของไม่ดีให้กระบวนการถัดไปเด็ดขาด
ในกรณีที่ใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ในการผลิต เวลาที่มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในสิ่งที่ผลิต หรือที่เครื่องจักรอุปกรณ์นั้น เครื่องจักรอุปกรณ์สามารถตรวจสอบสิ่งผิดปกติได้ด้วยตัวเอง และหยุดเองอัตโนมัติ หรือว่าทำให้หยุดเองได้ เราเรียกว่า “จิโดกะ”
และในกระบวนการสำคัญของจิโดกะนั้นเน้น การป้องกันการเกิดการเสีย หรือของที่ต้องแก้ไขใหม่เป็นเรื่องยาก ดังนั้นวิธีการจัดการกับของเสียที่เกิด ขึ้นแล้วจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
ในวิธีแก้ไขเฉพาะแค่การจัดการอย่างเร่งด่วนนั้น โอกาสที่ของเสียจะเกิดขึ้น เนื่องจากสาเหตุเดิมมีค่อนข้างสูงดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีแก้ไขเพื่อป้องกันมิให้เกิดซ้ำและเพื่อที่จะป้องกันมิให้เกิดผิดพลาดซ้ำสอง จำเป็นต้องค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของของเสียที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน และวางแผนป้องกันตามสาเหตุที่แท้จริง สิ่งที่จำเป็นในการป้องกันมิให้เกิดขึ้นซ้ำสองก็คือ
“ การศึกษาสาเหตุแท้จริงและเข้าใจปัญหานั้นอย่างถูกต้อง ”
Jidoka มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างเรียบง่ายเพียง 2 แนวทาง
Problem Management : ระบบจัดการปัญหา เริ่มจากการกำหนดกฎและมาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สำหรับให้ทุกคนสามารถทำงานได้เหมือนกัน การกำหนดขั้นตอนตั้งแต่แรกเลยว่าคุณทำตามลำดับนี้ ตามเวลาที่กำหนดนี้ไปเรื่อยๆ นี่คือสภาพปกติหรือที่เราเรียกว่าทำงานมาตรฐานเวลามีปัญหาเกิดขึ้นเราก็ต้องหาสาเหตุ เมื่อพบสาเหตุก็ต้องทำการแก้ไขและกำหนดไว้ให้เป็นมาตรฐาน เมื่อเรากำหนดมาตรฐานได้แล้วเราก็ยังคงต้องหมั่นหามุดะอีกด้วย เมื่อพบมุดะต้องทำการแก้ไขและกำหนดมาตรฐานใหม่ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆให้เป็นวงจร
การกำหนดให้ชัดเจนว่าอะไร คือ สภาพปกติ ในด้านการปฏิบัติของคนจะต้องสร้างมาตรฐานการตรวจสอบที่เพียงพอและชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นคนหรือเครื่องจักรต้องทำในสิ่งเดิมๆหรือซ้ำๆกันไม่ว่ากี่ครั้งก็ตาม หากเราเฝ้าสังเกตอยู่ตลอดเวลาจะรู้ ได้ว่าจุดนี้มีมุดะ เราก็จะต้องกำจัดมุดะออกไปโดยการสร้างงานมาตรฐานขึ้นมาใหม่
Built-In Quality : สร้างระบบการผลิตที่ยืนยันคุณภาพได้ 100% ให้เกิดขึ้นจริง ต้องสร้างการยืนยันคุณภาพผ่านตลอดระบบ (เอกสารหน้างาน) หรืออีกความหมาย Built In Quality into Standardized Work
LEAN Tool Set
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #hozenkaizen
แนะนำหนังสือ LEAN ด่วน ของมีจำนวนจำกัด
-
การเริ่มต้นแบบLean: ผู้ประกอบการในปัจจุบันใช้เครื่องฉายโปรเจคเตอร์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องอย่างไร https://bit.ly/3e0aStM
-
ปรับปรุงการผลิตด้วยแนวคิดแบบลีน : Improving Production with Lean Thinking โปรโมชั่นสุดคุ้ม โค้งสุดท้าย https://bit.ly/3uS96lo
-
แนวคิดแบบลีน : LEAN THINKING https://bit.ly/3tktF9K
-
LEAN LOGISTICS ลอจิสติกส์แบบลีน https://bit.ly/3mMfVSE
-
หนังสือ ชุด Value Stream Mgt. – VSM การจัดการสายธารคุณค่า เครื่องมือ Tool ลีน Lean องค์กร โรงงาน https://bit.ly/2QsqNJ6
-
หนังสือ ชุด Lean Six Sigma – เครื่องมือ Tool ลีน Lean องค์กร โรงงาน ซิกม่า https://bit.ly/2Q4RkMW
You must be logged in to post a comment.