โลกของโรงงานที่มีเครื่องจักรผลิตสินค้าเป็นหลัก การที่เครื่องจักรหยุดหรือผลิตแต่ของเสีย บริษัทคงไม่ชอบใจแน่ๆ แต่ถ้าหากเหลวร้ายที่สุด การหยุดของเครื่องจักรส่งผลต่อลูกค้า ความบรรลัยของคุณเกิดขึ้นแน่นอน
ดัวชี้วัดประสิทธิภาพเครื่องจักรมีหลากหลายตั้งแต่ เวลาเครื่องจักรหยุด , ของเสียจากเครื่องเป็นเท่าไร , จำนวซ่อมกี่ครั้ง และเครื่องจักรเดินได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่ ในทางการบริหารนั้น สามารถใช้ได้หมด เพราะที่และที่บริษัทบริหารต่างกัน แต่มีตัวชี้วัดอยู่หนึ่งค่าที่ผมใช้และดีที่สุด คือ OEE (Overall Equipment Efficiency) ได้รับการพัฒนาโดย Seiichi Nakajima ในประเทศญี่ปุ่น JIPM ซึ่งนิยามความหมายของการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรไว้ว่า
การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร และวิธีการที่ทำให้รู้ประสิทธิภาพของเครื่องจักรแล้วยังรู้ถึงสาเหตุของความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งในระบบ คือ สามารถแยกการสูญเสียและรายละเอียดของสาเหตุนั้นได้ ทำให้สามารถที่จะปรับปรุงแก้ไข ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ถูกต้อง
เครื่องจักรที่ดีไม่ใช่เป็นเพียงแค่เครื่องจักรที่ไม่เสีย เปิดสวิตช์เมื่อใดทำงานได้เมื่อนั้น หากแต่ต้องเป็นเครื่องจักรที่เปิดขึ้นมาแล้วทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คือ เดินเครื่องได้เต็มกำลังความสามารถ แต่ถ้าเครื่องจักรใช้งานได้ตลอดเวลาและเดินเครื่องได้เต็มกำลัง แต่ชิ้นงานที่ผลิตออกมาไม่มีคุณภาพ ก็คงไม่มีประโยชน์อะไร ดังนั้น เรื่องคุณภาพของงานที่ออกมาจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะใช้ในการพิจารณาเครื่องจักรและที่สำคัญเครื่องจักรที่ดีต้องใช้งานได้อย่างปลอดภัย
การคำนวณประสิทธิภาพโดยรวม จะเป็นการคูณของ 3 ฟังก์ชั้น ดังนี้
Overall Equipment Efficiency = Availability X Performance Rate X Quality Rate
สามารถแปลความหมายได้ดังนี้
Availability : ความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร
“ กระบวนการผลิต/เครื่องจักร ไม่พร้อมใช้งาน (ไม่มีสินค้าออกจากกระบวนการผลิต) ”
Performance : สมรรถนะการผลิตของเครื่องจักร
“กระบวนการผลิต/เครื่องจักร มีปัญหาทำให้ผลิตได้ไม่เต็มสมรรถภาพของเครื่องที่ออกแบบไว้ ”
Quality : อัตราการผลิตของดีของเครื่องจักร
“ สินค้า(ที่ผลิตสมบูรณ์แล้ว)เสียและถูกคัดออกเนื่องจากปัญหาคุณภาพ ”
สิ่งสำคัญที่ทำให้สามารถคำนวณ OEE ได้นั้นเป็นการเก็บข้อมูลความสูญเสียที่เรียกว่า 8 Big Equipment losses ซึ่งเป็นความสูญเสียด้านเครื่องจักรที่มากจาก 16 Major Losses in Production System
ท้ายสุดนี้การใช้ OEE ให้มีประสิทธิภาพคุณต้องทำอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ ทำอย่างต่อเนื่อง เพราะบ่อยครั้งบริษัทเอาไว้ใช้เพียงดูอย่างเดียวว่าอะไรมีค่ามาก อะไรมีค่าน้อยหรือมาก โดยลืมไปว่าต้องนับและสะสมจำนวนเรื่องการปรับปรุงตามความสูญเสียที่เกิดขึ้น
ติดตามสาระดี ๆ จากวิศวกรเค้นประสิทธิภาพได้ตามช่องทางเหล่านี้ครับ
Website : http://www.leantpm.co
Blockdit: https://bit.ly/3pSvlWX
Consult : FB. HozenandKaizen
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://wp.me/p8e77v-4d , https://bit.ly/3zomrEO ,https://bit.ly/3zjvhDT ,https://bit.ly/35dGzvS, https://bit.ly/3xhxEVW
You must be logged in to post a comment.