Autonomous Maintenance หรือ การปกป้องรักษาเครื่องจักรของตัวเอง Autonomous Maintenance มาจากคำว่า Jishu-Hozen ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง การที่พนักงานแต่ละคนได้จัดการดูแลเครื่องจักรของตนเอง โดยการหมั่นตรวจสอบเติมน้ำมัน เปลี่ยนชิ้นส่วน ซ่อมแซม ตรวจหาสิ่งผิดปกติ ตรวจเช็คอย่างละเอียดอยู่เป็นประจำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ “ ปกป้องเครื่องจักรของตนเอง ”
ขณะที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าทำให้เครื่องจักรมีขีดความสามารถและความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โรงงานมีการขยายใหญ่ขึ้น หน้าที่การบำรุงรักษาก็มีความหลากหลายมากขึ้นเรื่อย ๆ พนักงานเดินเครื่องมีหน้าที่เพื่อการผลิตเสียเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่พนักงานซ่อมบำรุงก็มุ่งเน้นแต่การซ่อมบำรุงแต่อย่างเดียว
แนวความคิดที่ว่า “ฉันมีหน้าที่ผลิต คุณมีหน้าที่ซ่อม” ได้ขยายวงกว้างในโรงงาน ทำให้ฝ่ายผลิตก็จะดูแลเฉพาะในส่วนของเพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ส่วนงานด้านการซ่อมบำรุงเครื่องจักรหน้าที่เติมสารน้ำมันหล่อลื่น ขันแน่น ตรวจสอบ ความสะอาดและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องจักรก็ยกให้ฝ่ายซ่อมบำรุงรับผิดชอบไป
ทำให้พนักงานเดินเครื่องเกิดความรู้สึกว่า “การขัดข้องถือเป็นความผิดพลาดของฝ่ายซ่อมบำรุง” หรือ “สาเหตุการขัดข้องเกิดจากการติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง เราไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรด้วยเลย” แนวความคิดที่ไม่ถูกต้องนี้ควรได้รับการแก้ไขการขัดข้องหลายชนิดสามารถป้องกันได้โดยพนักงานเดินเครื่อง เช่น การขันแน่น หยอน้ำมัน และทำความสะอาด สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นก็จะค่อย ๆ หมดไป ถ้าพนักงานเดินเครื่องได้มีการสัมผัส และขจัดสิ่งสกปรกออกไปจากเครื่องจักรเพราะการได้สัมผัสเครื่องจักรเป็นประจำก่อให้เกิดการรู้สึกถึงความผิดปกติของเครื่องจักรได้ เกิดการพัฒนาโอเปอเรเตอร์ที่ชำนาญเครื่องจักร
ผู้ที่จะเป็นโอเปอเรเตอร์ที่ชำนาญด้านเครื่องจักรได้ ควรมีความสามารถดังต่อไปนี้
-
- ความสามารถในการกำหนดหลักเกณฑ์ของอาการเครื่องจักรปกติและผิดปกติ
- ความสามารถในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์มาตรฐานควบคุมสภาพเครื่องจักร
- ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติ
ดังนั้นโอเปอเรเตอร์ จึงต้องศึกษาสิ่งเหล่านี้
-
- ความสามารถในการค้นหาและปรับปรุงสิ่งผิดปกติที่เกิดกับเครื่องจักร
- ความสามารถในการเข้าใจโครงสร้างและฟังก์ชั่น (หน้าที่) ของเครื่องจักรและค้นหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดการผิดปกติ
- ความสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องจักร กับคุณภาพผลิตภัณฑ์ คาดคะเนสิ่งผิดปกติและค้นหาสาเหตุได้
แนวคิดการบำรุงรักษาด้วยตนเองหรือ Autonomous Maintenance
จากการที่มีการปรับปรุงตลอดมา และความซับซ้อนในงานซ่อมบำรุงที่หลากหลายส่งผลให้เกิดการแบ่งฝ่ายผลิตและฝ่ายซ่อมบำรุงอย่างชัดเจน ทำให้ประสิทธิภาพของการอำนวยความสะดวกลดลงอย่างมาก การบำรุงรักษาด้วยตนเองจะสามารถปรับปรุงสิ่งเหล่านี้ได้ โดยมีแนวคิดดังต่อไปนี้
แนวคิดขั้นต้น
- ของเสียเป็นศูนย์ และเครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์จะเป็นจริงได้ถ้าทุกคนที่เกี่ยวข้องปรับแนวความคิดและปฏิบัติเสียใหม่
- เมื่อเครื่องจักรดีขึ้นคนก็จะดีขึ้น ถ้าคนดีขึ้นบรรยากาศการทำงานก็จะดีขึ้นตามลำดับ
- ภายใต้ภาวะผู้นำของฝ่ายจัดการทุก ๆ คน จะต้องมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาที่แท้จริงที่มีอยู่ตามขั้นตอนที่ถูกกำหนดขึ้น
เริ่มด้วยการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการบำรุงรักษาไว้เพื่อดูแลรักษาหรือปรับปรุงเครื่องจักร เพื่อบรรลุเป้าหมายในการทำให้เครื่องจักรมีสภาพดีเยี่ยม และประสิทธิภาพสูงสุด รักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่ต้องการ โดยการป้องกันและแก้ไขเหตุขัดข้องเป็นความร่วมมือระหว่างฝ่ายผลิตและฝ่ายซ่อมบำรุง
การบำรุงรักษาโดยฝ่ายผลิต
(1) การป้องกันการเสื่อมของเครื่องจักร
-
- การใช้เครื่องจักรอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการผิดพลาดจากคน
- การปรับแต่งเครื่องอย่างถูกวิธี , ป้องกันการเกิดของเสีย
- ดูแลเครื่องจักรขั้นพื้นฐาน (ทำความสะอาด หล่อลื่น และขันแน่น)
(2) การวัดการเสื่อมของเครื่องจักร
-
- การตรวจสอบประจำวัน –> ตรวจเช็คโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
- การตรวจสอบเป็นระยะ –> การยกเครื่องเพื่อตรวจสอบ ขณะชัตดาวน์
(3)การซ่อมแซมให้กลับสู่สภาพปกติ
-
- การซ่อมแซมเล็กน้อยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าขณะเกิดการผิดปกติ และเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ง่าย ๆ รายงานการเกิดขัดข้อง และปัญหาได้ทันเหตุการณ์และแม่นยำ
กิจกรรมของฝ่ายซ่อมบำรุง ให้ความช่วยเหลือฝ่ายผลิตในการบำรุงรักษาด้วยตนเอง
-
- แนะนำทักษะการตรวจสอบและช่วยเหลือโอเปอเรเตอร์ในการจัดทำมาตรฐานการตรวจสอบ (จุดตรวจ, ระยะเวลา และอื่น ๆ)
- สอนเทคนิคการหล่อลื่น ชนิดสารหล่อลื่นตามมาตรฐาน และช่วยเหลือโอเปอเรเตอร์ ในการจัดทำมาตรฐานการหล่อลื่น (จุดหล่อลื่น ชนิดสารหล่อลื่น ระยะเวลาและอื่น ๆ)
- ช่วยแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว กรณีโอเปอเรเตอร์ค้นพบเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพจุดบกพร่องเล็กน้อยและปัจจัยพื้นฐานของเครื่องจักรที่เป็นปัญหา
- ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคในกิจกรรมการปรับปรุง เช่น กำจัดแหล่งสกปรกทำให้เข้าถึงได้ง่ายต่อการทำความสะอาด หล่อลื่นและตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร
- จัดให้มีกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ (ประชุมตอนเช้า, ตรวจตราเพื่อรับทราบงานซ่อมบำรุงที่จะต้องทำ)
- จัดเตรียมคู่มือมาตรฐานการซ่อมบำรุง
- สร้างระบบการเก็บข้อมูลการบำรุงรักษา จัดการและวัดผลข้อมูลการบำรุงรักษา
- พัฒนาและใช้เทคนิควิเคราะห์การขัดข้อง และมาตรการการป้องกันการเกิดการขัดข้องอย่างรุนแรงซ้ำอีก
- เป็นผู้ช่วยให้ฝ่ายออกแบบและพัฒนาเครื่องจักร (มีส่วนร่วมในงานออกแบบเพื่อป้องกัน การบำรุงรักษาและกิจกรรมการจัดการเครื่องจักรในระยะเริ่มต้น)
งานเพิ่มนี้เป็นงานที่ได้รับสารพิสูจน์มาแล้วว่าสามารถทำได้จริงและสร้างความยั่งยืนในหลายองค์กร ซึ่งเครื่องมือจาก Japan Institute of Plant Maintenance (JIPM) https://jipmglobal.com / https://www.jipm.or.jp / https://www.jipm40tpm50.com
.
อ่านเพิ่มเติมขั้นตอนการทำการบำรุงรักษาด้วยตนเองได้ที่….
Manager Model , Initial Cleaning , Countermeasure , Tentative Standard
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
You must be logged in to post a comment.