สายการผลิตที่น่าเชื่อถือนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการลดต้นทุนได้ หากความสามารถในการผลิตต่ำจะส่งผลให้ต้องผลิตมาเยอะขึ้นเพื่อสต๊อก ซึ่งถือเป็นเพื่อความสูญเสียอย่างหนึ่งของการผลิตแบบ LEAN (7 waste)
ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องลดสต็อก เพราะสินค้าที่ขายไม่ได้จะถือว่าเป็นต้นทุนคงไม่ต้องบอกนะครับว่าถ้ามีสต็อกสินค้าเยอะเกินความจำเป็นผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร แต่ในมุมมองที่ผมต้องการสื่อก็คือการเพิ่มความมั่นคงให้กับบริษัทและสร้างกำไร เพราะสาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถผลิตตามความเร็วในการขายได้จนเกิดสต๊อกสินค้านั้นมีหลายประการ เช่น ผลิตเลยรวดเดียวทั้งหมด ลีดไทม์ยาวเกินไป มีการหยุดนิ่งเข้ามา เหล่านี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่ง หรืออาจจะมีส่วนที่น่าจะผลิตได้ในเวลาเดียวกันแต่พอลองทำจริงกลับทำไม่ได้ นี่ก็เหมือนกับความน่าเชื่อถือในการผลิต ถ้าพูดแบบเป็นรูปธรรมแล้วความน่าเชื่อถือคืออะไร ตัวอย่างเช่น เครื่องจักรเสีย เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับคุณภาพของสินค้า ถ้าวันนี้มีคนหยุดก็จะเกี่ยวข้องกับอัตราการเข้างาน หรือไม่ก็วันนี้มีคนลาหยุดแต่มีคนใหม่เข้ามาต้องฝึกงานให้ปัญหาก็จะมีหลากหลาย ซึ่งเราก็จะเรียกสิ่งที่รวมเรื่องเหล่านี้เข้าไปด้วยว่าความน่าเชื่อถือ ในเวลาเดียวกัน
ซึ่งแนวทางการเพิ่มความน่าเชื่อถือของไลน์การผลิตนั้น สามารถเริ่มต้นได้จากแนวคิดดังนี้
- มุ่งเน้นลดของเสีย ซึ่งถืเป็นการความสูญเสียที่ต้องกำจัดอย่างเร่งด่วน อย่างปล่อยให้เป็นเรื่องจนเคยชิน ถ้าเกิดบ่อยและมีจำนวนมาก ความน่าเชื่อถือในเรื่องคุณภาพจะลดลง งานนี้ไม่ต้องคิดถึงเครื่องมือปรับปรุงครับ ให้ทำงานตามมาตรฐานที่มีทั้งหมดก่อน หากไม่มีมาตรฐานก็สร้างขึ้นมา (Standardize)
2.เพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
2.1. สร้างประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มความสามารถในการบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องจักรไม่เสีย ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เพิ่มความสามารถในการบำรุงรักษา งานนี้เริ่มทำงานร่วมกับส่วนงานอื่น แนวคิดคือ
– โพกะโยเคะ (จิโดกะ) ไม่ทำให้อุปกรณ์เครื่องจักรเสียหาย (การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน)
– ถึงจะเสียก็สามารถซ่อมได้ทันที
– การป้องกันการเกิดความผิดพลาดซ้ำสอง
งานนี้ผมแนะนำให้เริ่มจาก AM หรือ Autonomous Maintenance แปลเป็นไทย คือ การบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง ซึ่งเป็นเป็นการเรียนรู้ปรัญชาการป้องกันล่วงหน้าแบบฉบับ TPM ผ่านการฝึกอบรมบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์และการทำงานและสามารถบริหารจัดการการซ่อมบำรุงได้ โดยรูปแบบการเรียนรู้แบบเป็นขั้นตอน ทีละขั้น อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบสนองและพัฒนาบุคลากรที่สามารถตอบรับยุค Factory Automation
2.2. เพิ่มอัตราการทำงานคงที่ การขาดลามาสายของพนักงานอาจส่งผลกระทบถึงผลการผลิตโดยตรง ต้องรักษาผลการมาทำงานของพนักงานให้อยู่ในอัตราที่กำหนด งานนี้เป็นศาสตร์และศิลป์ แต่ถ้ามาเป็นสไตล์ผมจะเน้นเรื่องความเป็นมืออาชีพ แต่อยู่ในพื้นฐานความเชื่อใจ และสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา อันนี้ผมเน้นการบริหารงานประจำวันหรือ Daily Management
2.3 การไคเซ็นกระบวนการที่ใครก็สามารถทำได้ เป็นงการปรับปรุงงานมาตรฐาน Standardized Work KAIZEN สำหรับให้ทุกคนเรียนรู้วิธีการทำงานได้ง่ายจากการทำงานมาตรฐานและการฝึกปฏิบัติที่ถูกต้อง ไคเซ็น (Kaizen (改善)) เป็นคำมาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแปลว่า ปรับปรุงดีขึ้น โดยเป็นแนวคิดพื้นฐานที่เกิดจากการอยากพัฒนา แก้ไขและการริเริ่มความคิดสร้างสรรค์เล็กๆ ในระดับปฏิบัติการกระตุ้นความคิดการพัฒนาและแก้ปัญหาหน้างานทำได้ง่าย รวดเร็ว ไม่ซับซ้อนสร้างความภาคภูมิใจในผลงานตัวเอง ไคเซ็นมีพื้นฐานของการวิเคราะห์แบบวิทยาศาสตร์ เมื่อคุณวิเคราะห์องค์ประกอบต่างหรือกระบวนการเพื่อทำความเข้าใจว่าทำงานอย่างไร จากนั้นก็ค้นหาว่าจะปรับปรุงหรือจัดการทำอย่างไรให้ดีขึ้น
การทำงานแบบลีนที่มีรากฐานจากแนวคิดพื้นฐานของไคเซ็น นั่นคือ เป็นการปรับเปลี่ยนทีละเล็กทีละน้อยตลอดช่วงระยะเวลานาน สะสมจนส่งผลประทบต่อผลลัพธ์ จากการเปลี่ยนวิธีการทำและยกระดับงาน
ผมเองทำงานในโรงงานมันเริ่มจากโครงการที่เรียกว่า “ KSS ” หรือชื่อเต็มว่า KAIZEN Suggestion System มันคือ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้พนักงานระดับปฏิบัติติได้ฝึกคิดปรับปรุงงานในโรงงานเทคนิคหรือหลักการง่าย ๆ
โดยการใช้ภูมิปัญญา(Know How) การทำในสิ่งที่ไม่ยุ่งยาก ,ทำได้ทันที ,การปรับปรุงที่ไม่ต้องใช้เงินมาก และใช้ Creative Idea ในการปรับปรุงงาน เพราะในสมองเรานั้นมีลิ้นชักความรู้ หรือ ภูมิปัญญาที่สั่งสมไว้มากมายคิดให้มาก ๆ เพื่อนำ Idea มาใช้ปรับปรุงงาน โดยไม่ต้องใช้เงิน
นี้เป็นแค่ตัวอย่างการเริ่มต้นของการทำงานที่ต่อยอดเยี่ยม หากอยากไปต่อนั้นต้องทำให้เป็นระบบอย่าง สงเสริมการเพิ่มคุณค่าและลดความสูญเปล่าในกระบวนต่างๆ หากสังเกตดีๆ จะพบการว่าการทำงานไคเซ็นนั้นคือการพัฒนาบุคลากรนั้นเอง
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #hozenkaizen
ติดตามสาระดี ๆ จากวิศวกรเค้นประสิทธิภาพได้ตามช่องทางเหล่านี้ครับ
Website : http://www.leantpm.co
Blockdit: https://bit.ly/3pSvlWX
Consult : https://bit.ly/3BCAurI
You must be logged in to post a comment.