เป้าหมายภายในองค์กรมีหลายระดับ ต่างคนต่างมีหน้าที่ของตัวเอง ตำแหน่งคุณจะบ่งบอกความรับผิดชอบ !!!
สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการทำ TPM นั้นคือการทำ KMI , KPI , KAI เพื่อเชื่อมโยงกับ Pillar หรือหน่วยทำงานย่อยหรือที่เรียกว่า Hoshin Kanri คือ กลยุทธ์การวางแผนจากประเทศญี่ปุ่น
เป็นการสร้างเป้าหมายแบบแผนผังเมตริกซ์ (Matrix Diagrams) แผนผังที่ประกอบด้วยข้อความในแนวตั้ง(columns) และข้อความในแนวนอน(Rows)ณ จุดที่ตัดกันนี้จะเป็นตำแหน่งที่ใช้พิจารณาข้อความที่เป็นแนวคิดสำคัญสำหรับการแก้ปัญหา
ทั้งนี้ข้อดีของแผนผังแมทริกซ์ ยังช่วยให้เราสามารถนำข้อมูลจากความคิดเห็นที่มีฐานจากประสบการณ์ ออกมาใช้ งานได้อย่างรวดเร็วและเต็มที่ สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากกว่าข้อมูลที่เป็น ตัวเลขเสียอีกทำให้ความสัมพันธ์กันในกลุ่มที่มีสถานการณ์แตกต่างกันกระจ่าง ชัดเจนขึ้น ซึ่งทำให้ปัญหาโดยรวมปรากฏชัดขึ้นมาทันทีแผนผังนี้ช่วยกำหนดตำแหน่งของปัญหาได้อย่างชัดเจน
การตั้งเป้าหมายต้องสามารถทำได้จริง มีที่มาที่ไป มีเหตุและผล ไม่ใช่ทำไปทุกเรื่องหรือทำแบบไม่มีการวิเคราะห์อะไรเลย อยากทำอะไรก็ทำ ซึ่ง Target Deployment หรือการกระจายนโนบายไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งการบริหารงานแบบ TPM นั้นแบ่งเป้าหมายเป็น 3 ระดับ ซึ่งมีดัชนีชี้วัดต่างกัน
KMI = Key Management Index คือ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จระดับสูง หรือ ระดับบริหาร
ค่าดัชนีชี้วัดนี้จะสอดคล้องกับนโยบายบริษัทหลัก โดย KMI สอดคล้องใหญ่จะยึดตามหลัก PQCDSME ดัชนีชี้วัดนี้เป็นของผู้บริหารระดับสูง
KPI = Key Performance Index คือ ดัชนีชี้วัดความมสำเร็จระดับกลาง หรือ ระดับการจัดการ
ดัชนีแสดงผลลัพธ์การดำเนินการว่าของเป้าหมายขององค์กร ที่สอดคล้องกับ KMI และตัวชี้บ่งว่ามีกำไรหรือได้โบนัสได้เลยเพราะถ้าคุณไม่ทำ KPI ก็จะไม่ส่งผลต่อ KMI ดัชนีชี้วัดนี้เป็นของผู้บริหารระดับกลางหรือผู้จัดการแผนกต่าง ๆ
KAI = Key Activity Index คือ ดัชนีชี้วัดความมสำเร็จระดับล่างหรือ ระดับกิจกรรมของพนักงาน
กิจกรรมที่ต้องทำเพื่อแสดงผลลัพธ์การดำเนินการกิจกรรมนั้น ๆ ว่าส่งผลต่อเป้าหมายหลักขององค์หรือไม่ กิจกรรมจะเป็นการยืนยันผลว่าถ้าทำกิจกรรมนี้แล้วจะต้องส่งกับ KPI ซึ่งกิจกรรมนี้ล่ะ จะได้มาจากการกำหนดความสูญเสีย 16 Major Loss ดัชนีชี้วัดนี้เป็นของระดับ Operation , Engineer , Supervisor เป็นต้น
การทำงานและความสัมพันธ์ของ KMI , KPI , KAI นั้นจะเริ่มจากระดับบริหารกำหนด KPI ที่สามารถส่งผลตาม KMI ขององค์กร ที่ได้มาจากการนโนบายหรือพันธะกิจ นอกจากนี้ระดับจัดการและปฏิบัติการจะมุ่งหากิจกรรม KAI ที่สามารถส่งผลลัพธ์ต่อ KPI ซึ่งการวิเคราะห์นั้นต้องมีลักษณะเกี่ยวกับการตัดสินด้วยเหตุผล (Logicality)
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
You must be logged in to post a comment.