การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive maintenance) คาดการ – ป้องกันเครื่องจักรเสีย

ว่าด้วยเรื่องการบำรุงรักษา ซึ่งในกิจกรรมของ TPM นั้นมี Planned Maintenance ที่ใช้กัน โดยจะมุ่งเน้น คือ การทำ Zero Breakdown แบบการบำรุงรักษาเชิงประสิทธิผล (Productive Maintenance)  เป็นเป้าหมายสำคัญหรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ หมายถึง การบำรุงรักษาที่ประหยัดที่สุดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจนตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักร โดยใช้แนวคิดที่ว่า การควบคุมเครื่องจักรไม่เพียงแต่เป็นการควบคุมหลังจากการได้ติดตั้งเครื่องจักรเท่านั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตสูงสุดนั้น จำเป็นต้องควบคุมในทุกๆขั้นตอนตั้งแต่การสำรวจก่อนสร้างหรือซื้อเครื่องจักร การออกแบบ การผลิตเครื่องจักรและติดตั้ง สิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นนั้น การบำรุงรักษานั้นแบ่งด้วยกัน 2 แบบ บำรุงรักษาตามแผนงาน (Planned Maintenance) และการบำรุงรักษาที่ไม่อยู่ในแผนงาน (Unplanned Maintenance) ซึ่งเป็นการบริหารจัดการนั้นแตกต่างกันอย่างมาก หากมองลงในรายละเอียดนั้นก็สามารถแบ่งได้ 3 ช่วงของการจัดการเครื่องจักร (Equipment Management) การจัดการเครื่องจักรก่อนติดตั้ง การจัดการเครื่องจักรในระหว่างการใช้งาน การจัดการเครื่องจักรหลังการเลิกใช้งาน ในโรงงานนั้นให้ความสำคัญกับช่วงการจัดการเครื่องจักรในระหว่างการใช้งานและถือเป็นกุญแจสำคัญ เพราะเครื่องจักร 1 เครื่องนั้นมีค่าเสื่อมขั้นต่ำ 5 ปี เครื่องจักรต้องใช้งานได้อย่างคุ้มค่า ยิ่งเครื่องจักรมีค่าระยะเวลาเดินเครื่องจักรให้ยาวนานขึ้น (MTBF) และเวลาในการซ่อมเครื่องจักรให้สั้นลง (MTTR) ยิ่งทำให้เราใช้เครื่องจักรได้อย่างคุ้มค่า … Continue reading การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive maintenance) คาดการ – ป้องกันเครื่องจักรเสีย

4 เฟสทำให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์

แปดโมงสามสิบนาทีเป็นเวลาประชุมเช้าของบริษัทเพื่อรายงานผลการดำเนินงานหารผลิตภายใน 24 ชั่วโมง ใช้เวลาเพียง 20 นาที (ตามมาตรฐาน) แต่ปัญหาโรงงานเรามีเยอะแยะ ซึ่งในทุกๆวันก็จะรายงานการผลิตเกือบ 1 ชั่วโมง เรื่องที่ได้ยินเป็นบ่อยครั้งที่สุดคือ เครื่องจักรชำรุด อาการตั้งแต่ มอเตอร์พัง , สายพานขาด , แกนเพลาขาด เป็นต้น เพราะผลเสียเนื่องจากการขัดข้องของเครื่องจักรในสายการผลิต พอจะแยกออกได้เป็น 5 กลุ่มหลัก คือ การขัดข้องที่เป็นเหตุให้ต้องหยุดสายการผลิต การขัดข้องที่ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ลดลง การขัดข้องที่ทำให้ต้องลดความเร็วลง (ผลผลิตลดลง) การขัดข้องที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย และทำลายสิ่งแวดล้อม การขัดข้องที่ทำให้สูญเสียพลังงานและสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ในการผลิต ผมเองได้เสนอแนวคิดการบริหารงานให้กับทางผู้บริหารโรงงานไปว่า หากจะให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์ ต้องเริ่มจากองค์ประกอบทีมงานที่ทำให้เครื่องจักรไม่ขัดข้อง 2 ทีมงาน คือ การบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองและการบำรุงรักษาตามแผน สโลแกน คือ “ AM + PM = One team ”   เรื่องนี้เป็นต้องทำให้เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติการ เพราะคนใช้เครื่องจักรกับคนซ่อมแซมเครื่องจักรต้องหันหน้าเข้าหากัน จับมือกัน … Continue reading 4 เฟสทำให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์