4 เฟสทำให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์

แปดโมงสามสิบนาทีเป็นเวลาประชุมเช้าของบริษัทเพื่อรายงานผลการดำเนินงานหารผลิตภายใน 24 ชั่วโมง ใช้เวลาเพียง 20 นาที (ตามมาตรฐาน) แต่ปัญหาโรงงานเรามีเยอะแยะ ซึ่งในทุกๆวันก็จะรายงานการผลิตเกือบ 1 ชั่วโมง เรื่องที่ได้ยินเป็นบ่อยครั้งที่สุดคือ เครื่องจักรชำรุด อาการตั้งแต่ มอเตอร์พัง , สายพานขาด , แกนเพลาขาด เป็นต้น เพราะผลเสียเนื่องจากการขัดข้องของเครื่องจักรในสายการผลิต พอจะแยกออกได้เป็น 5 กลุ่มหลัก คือ

  • การขัดข้องที่เป็นเหตุให้ต้องหยุดสายการผลิต
  • การขัดข้องที่ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ลดลง
  • การขัดข้องที่ทำให้ต้องลดความเร็วลง (ผลผลิตลดลง)
  • การขัดข้องที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย และทำลายสิ่งแวดล้อม
  • การขัดข้องที่ทำให้สูญเสียพลังงานและสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ในการผลิต

ผมเองได้เสนอแนวคิดการบริหารงานให้กับทางผู้บริหารโรงงานไปว่า หากจะให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์ ต้องเริ่มจากองค์ประกอบทีมงานที่ทำให้เครื่องจักรไม่ขัดข้อง 2 ทีมงาน คือ การบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองและการบำรุงรักษาตามแผน

สโลแกน คือ “ AM + PM = One team ”  

เรื่องนี้เป็นต้องทำให้เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติการ เพราะคนใช้เครื่องจักรกับคนซ่อมแซมเครื่องจักรต้องหันหน้าเข้าหากัน จับมือกัน กอดคอกัน ทำงานเกื้อกูลกัน  หากมองลงลึกในรายละเอียดของทุกโรงงานนั้นมีทัศนคติการทำงานที่แบ่งไซโลอย่างชัดเจน ฝ่ายผลิตที่เป็นคนใช้เครื่องจักรทำหน้าที่ผลิตอย่างเดียวหรือทำหน้าที่กดปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง เมื่อเครื่องจักรเสียก็เรียกช่างมาซ่อม หันทาที่ส่วนฝ่ายซ่อมบำรุงที่เป็นคนซ่อมแซมก็เช่นเดียวกัน ทำงานแค่ถ้าเครื่องจักรเสียก็ค่อยไปซ่อม ทำงานบำรุงตามแผนตามความจำเป็น จะเห็นได้ชัดว่าต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ของตัวเองแบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน ไม่ก้าวก่ายงานกัน  ซึ่งถือเป็นปัญหาระดับองค์กรทุกยุคทุกสมัย

แต่โลกปัจจุบันนั้นเน้นการทำงานแบบลีนที่ต้องสร้างคนให้สามารถทำงานได้หลากหลายมากขึ้นยังร่วมถึงการทำงานกับโลกดิจิตอลที่ต้องมีทักษะเฉพาะทางกับเครื่องจักรนั้นๆ การเริ่มพัฒนาคนให้ทันกับสิ่งที่นี้ต้องถูกวางรากฐานอย่างเป็นระบบ เครื่องมือบริหาร TPM  ย่อมาจาก Total Productive Maintenance มุ่งเน้นการปรับปรุงพัฒนาคนและระบบเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้น

การจับมือของฝ่ายผลิตและฝ่ายซ่อมบำรุง ต้องดำเนินการ Autonomous Maintenance กับ Planned Maintenance  เพราะซึ่งต้องแบ่งการทำงานบำรุงรักษาได้ดังนี้

การบำรุงรักษาโดยฝ่ายผลิต

  1. การป้องกันการเสื่อมของเครื่องจักร
  • การใช้เครื่องจักรอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการผิดพลาดจากคน
  • การปรับแต่งเครื่องอย่างถูกวิธี –> ป้องกันการเกิดของเสีย
  • ดูแลเครื่องจักรขั้นพื้นฐาน (ทำความสะอาด หล่อลื่น และขันแน่น)
  • คาดการณ์ล่วงหน้า และตรวจจับสิ่งผิดปกติ เพื่อไม่ให้เกิดการขัดข้องและอุบัติเหตุ
  • เก็บข้อมูลการบำรุงรักษา เพื่อเป็นข้อมูลในการป้องกันการเกิดซ้ำและส่งไปยังฝ่ายออกแบบเพื่อป้องกันการซ่อมบำรุง (MP Design)

2. การวัดการเสื่อมของเครื่องจักร

  • การตรวจสอบประจำวัน –> ตรวจเช็คโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • การตรวจสอบเป็นระยะ –>  การยกเครื่องเพื่อตรวจสอบ ขณะชัตดาวน์

3. การซ่อมแซมให้กลับสู่สภาพปกติ

  • การซ่อมแซมเล็กน้อย แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าขณะเกิดการผิดปกติ และเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ง่าย ๆ รายงานการเกิดขัดข้อง และปัญหาได้ทันเหตุการณ์และแม่นยำ

กิจกรรมของฝ่ายซ่อมบำรุง

  1. ให้ความช่วยเหลือฝ่ายผลิตในการบำรุงรักษาด้วยตนเอง
  • แนะนำทักษะการตรวจสอบและช่วยเหลือโอเปอเรเตอร์ในการจัดทำมาตรฐานการตรวจสอบ (จุดตรวจ, ระยะเวลา และอื่น ๆ)
  • สอนเทคนิคการหล่อลื่น ชนิดสารหล่อลื่นตามมาตรฐาน และช่วยเหลือโอเปอเรเตอร์ ในการจัดทำมาตรฐานการหล่อลื่น (จุดหล่อลื่น ชนิดสารหล่อลื่น  ระยะเวลาและอื่น ๆ)
  • ช่วยแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว กรณีโอเปอเรเตอร์ค้นพบเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพจุดบกพร่องเล็กน้อย และปัจจัยพื้นฐานของเครื่องจักรที่เป็นปัญหาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคในกิจกรรมการปรับปรุง เช่น กำจัดแหล่งสกปรกทำให้เข้าถึงได้ง่ายต่อการทำความสะอาด หล่อลื่นและตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร
  • จัดให้มีกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ (ประชุมตอนเช้า, ตรวจตราเพื่อรับทราบงานซ่อมบำรุงที่จะต้องทำ)

 กิจกรรมที่สำคัญอื่น ๆ

  • วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ของการบำรุงรักษา
  • จัดเตรียมคู่มือมาตรฐานการซ่อมบำรุง
  • สร้างระบบการเก็บข้อมูลการบำรุงรักษา จัดการและวัดผลข้อมูลการบำรุงรักษา
  • พัฒนาและใช้เทคนิควิเคราะห์การขัดข้อง และมาตรการการป้องกันการเกิดการขัดข้องอย่างรุนแรงซ้ำอีก
  • เป็นผู้ช่วยให้ฝ่ายออกแบบและพัฒนาเครื่องจักร (มีส่วนร่วมในงานออกแบบเพื่อป้องกัน การบำรุงรักษาและกิจกรรมการจัดการเครื่องจักรในระยะเริ่มต้น)
  • ควบคุมอะไหล่ ,จิ๊ก เครื่องมือ และข้อมูลทางเทคนิค

รายละเอียดของการทำงานร่วมกันจากบทความนี้เป็นแค่ตัวอย่างส่วนนึงที่ผมเคยลงมือทำ เพียงคุณลองเปิดใจคุยกัน การดำเนินการ Zero Breakdown ก็ใกล้แค่เอื้อม

บทความที่เกี่ยวข้อง

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ