Author: Kittikorn Chantarasenar
อย่าทำกลับข้างกันครับ คุณต้องกำจัดงานทีไม่จำเป็นก่อนที่จะลดคน เรื่องจริงและเป็นปัญหาของคนทำงานที่ผู้บริหารไม่เคยสนใจ ท่านเพียงสั่งงานและสั่งการตามใจ ทำให้เกิดภาวะงานไม่ลดแต่คนลด ผมเองเป็นหนึ่งคนที่ถูกสั่งงานเหมือนอย่างกับสั่งก๋วยเตี๋ยว เดี๋ยวสั่งงานนั้น โทรเรียกจากสายการผลิตขึ้นสั่งงานทุกวัน อยากทำนั้นโน่นนี้ บางครั้งสั่งวันชั่วโมง ของานชั่วโมงถัดไป งานที่วางแผนไว้ไม่เคยได้ทำ ผลลัพธ์คือ งานไม่เสร็จ งานไม่ออก ผลประเมินต่ำทุกเดือน จากนั้นก็ลาออกไปหางานใหม่หรือทนอยู่กันไป เรื่องนี้เป็นที่มาของการใช้เครื่องลีน เข้ามาจัดการการทำงานครั้งนี้ " เพราะ ทำได้เร็ว รุนแรง และไม่ซับซ้อน " ทำไมต้อง LEAN เพราะลีนเป็นเครื่องมือ แนวคิด และระบบการทำงานที่มุ่งเน้นการกำจัดสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มหรือที่มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการไหล หรือ เคลื่อนไปข้างหน้าของกระบวนการผลิต ความพยายามที่จะกำจัดมุดะ และมุ่งสร้างคุณภาพในกระบวนการ โดยคำนึงถึงหลักการของการลดต้นทุน กำไร , คน และความยั่งยืน การดำเนินการแบบ LEAN ไม่มีรูปแบบสำเร็จรูป คุณต้องคิดทุกอย่างและสร้างขึ้นมาเอง เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทคุณ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมชอบมากที่สุด โดยเน้นหลักการแนวแบบลีนคิด 5 ประการ 1.Value คุณค่ามุมมองของลูกค้า , บริการในมุมมองของลูกค้า ,ผู้ใช้บริการ เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าจะได้รับความพึงพอใจ ตัวอย่าง … Continue reading LEANงานก่อน ค่อยลดคน !!!
บริษัทคุณมีเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้หรือไม่ ? ขอร้องเรียนจากลูกค้า กำไรลดลง ต้นทุนเพิ่มขึ้น สินค้าส่งไม่ทัน เครื่องจักรเสีย ชำรุดก่อนกำหนด มองลึกลงไป “ ปัญหาใหญ่ๆ นั้นเกิดจาก ปัญหาเล็กๆ ที่ไม่ได้รับแก้ไข “ การรอคอย ของเสียระหว่างการผลิต สินค้ารอระหว่างผลิต ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม จุดที่ทำความสะอาดยาก จุดที่ก่อให้เกิดสิ่งสกปรก สึกกร่อน หลอม คลอน รั่วของเครื่องจักร กระบวนการทำงานซ้ำๆ ในหลายขั้นตอน ซึ่งไม่จำเป็น จากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานและบริหารของพวกคุณทั้งสิ้น ไม่ต้องโทษใครทั้งนั้น เพราะคุณมองเรื่องเล่านั้นเป็นสิ่งปกติและปล่อยให้ผ่านไปจนไม่ได้ลงมือทำอะไร ผู้จัดการหลายท่าน ได้ส่งข้อความมาในเพจ “ วิศวกรรมเค้นประสิทธิภาพ “ ถามผมว่าควรทำอย่างไรดี หากต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและตอบสนองความต้องการของลูกค้า อย่างรวดเร็ว คำตอบแบบกลางๆแต่ต้องทำจริง คือ สร้างและปรับปรุงงาน 3 ส่วนนี้ People, Process , Management system เมื่อคุณได้เริ่มมันจะไม่เสร็จง่ายๆ หนทางของการทำกิจกรรมสร้างและปรับปรุงงานเป็นงานมาราธอน เมื่อได้เริ่มต้องทำกันยาวๆ 1 … Continue reading LEAN คืออะไร
ว่าด้วยเรื่องการบำรุงรักษา ซึ่งในกิจกรรมของ TPM นั้นมี Planned Maintenance ที่ใช้กัน โดยจะมุ่งเน้น คือ การทำ Zero Breakdown แบบการบำรุงรักษาเชิงประสิทธิผล (Productive Maintenance) เป็นเป้าหมายสำคัญหรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ หมายถึง การบำรุงรักษาที่ประหยัดที่สุดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจนตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักร โดยใช้แนวคิดที่ว่า การควบคุมเครื่องจักรไม่เพียงแต่เป็นการควบคุมหลังจากการได้ติดตั้งเครื่องจักรเท่านั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตสูงสุดนั้น จำเป็นต้องควบคุมในทุกๆขั้นตอนตั้งแต่การสำรวจก่อนสร้างหรือซื้อเครื่องจักร การออกแบบ การผลิตเครื่องจักรและติดตั้ง สิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นนั้น การบำรุงรักษานั้นแบ่งด้วยกัน 2 แบบ บำรุงรักษาตามแผนงาน (Planned Maintenance) และการบำรุงรักษาที่ไม่อยู่ในแผนงาน (Unplanned Maintenance) ซึ่งเป็นการบริหารจัดการนั้นแตกต่างกันอย่างมาก หากมองลงในรายละเอียดนั้นก็สามารถแบ่งได้ 3 ช่วงของการจัดการเครื่องจักร (Equipment Management) การจัดการเครื่องจักรก่อนติดตั้ง การจัดการเครื่องจักรในระหว่างการใช้งาน การจัดการเครื่องจักรหลังการเลิกใช้งาน ในโรงงานนั้นให้ความสำคัญกับช่วงการจัดการเครื่องจักรในระหว่างการใช้งานและถือเป็นกุญแจสำคัญ เพราะเครื่องจักร 1 เครื่องนั้นมีค่าเสื่อมขั้นต่ำ 5 ปี เครื่องจักรต้องใช้งานได้อย่างคุ้มค่า ยิ่งเครื่องจักรมีค่าระยะเวลาเดินเครื่องจักรให้ยาวนานขึ้น (MTBF) และเวลาในการซ่อมเครื่องจักรให้สั้นลง (MTTR) ยิ่งทำให้เราใช้เครื่องจักรได้อย่างคุ้มค่า … Continue reading การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive maintenance) คาดการ – ป้องกันเครื่องจักรเสีย
แปดโมงสามสิบนาทีเป็นเวลาประชุมเช้าของบริษัทเพื่อรายงานผลการดำเนินงานหารผลิตภายใน 24 ชั่วโมง ใช้เวลาเพียง 20 นาที (ตามมาตรฐาน) แต่ปัญหาโรงงานเรามีเยอะแยะ ซึ่งในทุกๆวันก็จะรายงานการผลิตเกือบ 1 ชั่วโมง เรื่องที่ได้ยินเป็นบ่อยครั้งที่สุดคือ เครื่องจักรชำรุด อาการตั้งแต่ มอเตอร์พัง , สายพานขาด , แกนเพลาขาด เป็นต้น เพราะผลเสียเนื่องจากการขัดข้องของเครื่องจักรในสายการผลิต พอจะแยกออกได้เป็น 5 กลุ่มหลัก คือ การขัดข้องที่เป็นเหตุให้ต้องหยุดสายการผลิต การขัดข้องที่ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ลดลง การขัดข้องที่ทำให้ต้องลดความเร็วลง (ผลผลิตลดลง) การขัดข้องที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย และทำลายสิ่งแวดล้อม การขัดข้องที่ทำให้สูญเสียพลังงานและสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ในการผลิต ผมเองได้เสนอแนวคิดการบริหารงานให้กับทางผู้บริหารโรงงานไปว่า หากจะให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์ ต้องเริ่มจากองค์ประกอบทีมงานที่ทำให้เครื่องจักรไม่ขัดข้อง 2 ทีมงาน คือ การบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองและการบำรุงรักษาตามแผน สโลแกน คือ “ AM + PM = One team ” เรื่องนี้เป็นต้องทำให้เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติการ เพราะคนใช้เครื่องจักรกับคนซ่อมแซมเครื่องจักรต้องหันหน้าเข้าหากัน จับมือกัน … Continue reading 4 เฟสทำให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์
เป้าหมายภายในองค์กรมีหลายระดับ ต่างคนต่างมีหน้าที่ของตัวเอง ตำแหน่งคุณจะบ่งบอกความรับผิดชอบ !!! สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการทำ TPM นั้นคือการทำ KMI , KPI , KAI เพื่อเชื่อมโยงกับ Pillar หรือหน่วยทำงานย่อยหรือที่เรียกว่า Hoshin Kanri คือ กลยุทธ์การวางแผนจากประเทศญี่ปุ่น เป็นการสร้างเป้าหมายแบบแผนผังเมตริกซ์ (Matrix Diagrams) แผนผังที่ประกอบด้วยข้อความในแนวตั้ง(columns) และข้อความในแนวนอน(Rows)ณ จุดที่ตัดกันนี้จะเป็นตำแหน่งที่ใช้พิจารณาข้อความที่เป็นแนวคิดสำคัญสำหรับการแก้ปัญหา ทั้งนี้ข้อดีของแผนผังแมทริกซ์ ยังช่วยให้เราสามารถนำข้อมูลจากความคิดเห็นที่มีฐานจากประสบการณ์ ออกมาใช้ งานได้อย่างรวดเร็วและเต็มที่ สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากกว่าข้อมูลที่เป็น ตัวเลขเสียอีกทำให้ความสัมพันธ์กันในกลุ่มที่มีสถานการณ์แตกต่างกันกระจ่าง ชัดเจนขึ้น ซึ่งทำให้ปัญหาโดยรวมปรากฏชัดขึ้นมาทันทีแผนผังนี้ช่วยกำหนดตำแหน่งของปัญหาได้อย่างชัดเจน การตั้งเป้าหมายต้องสามารถทำได้จริง มีที่มาที่ไป มีเหตุและผล ไม่ใช่ทำไปทุกเรื่องหรือทำแบบไม่มีการวิเคราะห์อะไรเลย อยากทำอะไรก็ทำ ซึ่ง Target Deployment หรือการกระจายนโนบายไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งการบริหารงานแบบ TPM นั้นแบ่งเป้าหมายเป็น 3 ระดับ ซึ่งมีดัชนีชี้วัดต่างกัน KMI = Key Management Index คือ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จระดับสูง … Continue reading ข้อดีของการทำ KMI , KPI , KAI แบบ TPM
ทำไมต้องเริ่มด้วยการทำความสะอาด ? เพราะการทำความสะอาดของกิจกรรม AM ทำเพื่อตรวจสอบหาข้อบกพร่อง (Cleaning and Inspection) โดยเน้นการทำความสะอาดแบบ Deep Cleaning ทุกซอกทุกมุมของเครื่องจักร ย้ำ !!!! ทุกซอกทุกมุมของเครื่องจักร ต่อให้เครื่องคุณทำความสะอาดทุกวัหรือดูแลดูขนาดไหนก็ต้องทำ โดยวัตถุประสงค์แบ่งเป็น 2 ข้อ ด้านเครื่องจักร กำจัดความเสียหายเล็กน้อยที่เกิดจากความสกปรกและเศษขยะต่างๆ ที่อยู่ตามเครื่องจักร เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพแบบบังคับทำให้เป็นจุดบกพร่องที่ปรากฏเกิดขึ้น แล้วทำการฟื้นฟูสภาพ จัดเตรียมเงื่อนไขพื้นฐานสำหรับการขันแน่น ทำความสะอาด เติมน้ำมัน หรือมาตรฐานชั่วคราวของชั่วคราวของ ด้านคน พัฒนาการมอง ให้เห็นว่า จุดบกพร่องของเครื่องผ่านสิ่งผิดปกติทั้ง 7 อย่าง หรือ 7 Abnormal เรียนรู้แนวคิด วิธีการฟื้นฟูสภาพ เพราะการทำความสะอาดแบบ Deep Cleaning เพื่อตรวจสอบหาสิ่งผิดปกติและฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรให้ได้ตาม Basis condition ก่อนถึงจะเริ่มปรับปรุงเครื่องจักร และเครื่องมืออันทรงพลังที่ผมใช้ทุกครั้งเมื่อเริ่มการทำ Autonomous Maintenance Step 1 คือ Tag ซึ่งเป็นป้ายที่ใช้ชี้งบ่งความผิดปกติที่งเราเจอหลังจากการทำความสะอาดเพื่อตรวจสอบ แบ่งได้ … Continue reading Abnormality Tag เครื่องมือชี้บ่งความผิดปกติ
“ เฮ้น้อง เราจะเพิ่ม OEE ได้อย่างไรว่ะ ” คำถามจาก GM Plant พูดขึ้นมาถามผม เพราะ OEE ของโรงงานไม่ได้ตามเป้าหมายมา 3 เดือน ติดต่อกัน ยืนคิดอยู่สักแปปก็เดินไปหา GM พร้อมปากกาไวด์บอร์ดไปที่กระดาน พร้อมลงมือเขียน Thought model การสร้างระบบกำจัดตวามสูญเสียอย่างง่ายๆ (เอามาทำให้มันดูง่าย) แต่หลายครั้งที่เราเจอปัญหาและต้องการเข้าไปปรับปรุงอย่างรวดเร็ว ปัญหา (sporadic) ที่ไม่ซับซ้อนเราเองอาจจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว แต่ในโลกปัจจุบันปัญหานั้นซับซ้อนมากขึ้นการแก้ไขปัญหาต้องอาศัยความรู้และสติปัญญามากขึ้น เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วเหมือนเดิม จนทำให้เกิดเป็นปัญหาเรื้อรัง ( chronic ) แต่ถึงอย่างนั้นผมเองได้ลองใช้วิธีการหนึ่งที่ช่วยก่อนการปรับปรุงที่ได้เรียนมาจากการทำ TPM ที่มีชื่อเรียกว่า 5W Image Analysis (ขั้นตอนทำความเข้าใจก่อนแก้ไขปัญหา)ซึ่งเป็นวิธีการสร้างความเข้าใจสภาพมวลรวมทั้งหมดของปัญหา ถือว่าเป็นเช็คพอยท์สำคัญอย่างหนึ่งของผมเลยทีเดียว 5 สิ่งที่ต้องทำการเริ่มแก้ไข..... Problem status หรือ สถานะของปัญหา ปัญหาที่ต้องการแก้ไขนั้นจากการศึกษาข้อมูล ข้อเท็จจริงจากภาพใหญ่ลงย่อยให้เล็กลง ทีละขั้นๆ จากนั้นดูต่อเรื่องคุณลักษณะและสิ่งที่เป็นมาก่อนนั้น ๆ เช่น ความถี่หรือแนวโน้มการเกิดบ่อยเท่าไร … Continue reading 5 สิ่งที่ต้องทำการเริ่มแก้ปัญหา
เครื่องจักรเสียครับหัวหน้า ทำยังไงดี แจ้งซ่อมสิครับรออะไร เหตุการณ์แบบนี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เกิดทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ยิ่งไปกว่านั้นอาการเริ่มหนักขึ้นจากหยุด 5-10 นาที่ เป็นชั่วโมงและเป็นวันๆ ผมเองได้ฟังมาจากผู้จัดการผลิตที่ขอให้ผมลงไปช่วยดูว่าจะแก้ไขอะไรได้บ้าง ผมเองได้สอบถามพนักงานในพื้นที่หลายคำถามเช่น เมื่อเครื่องจักรเสียทำอย่างไร ? ก่อนและหลังใช้เครื่องจักรทำอย่างไร ? ทำความสะอาดเครื่องจักรทำอย่างไร ? ซึ่งได้คำตอบว่า “ แจ้งซ่อมครับ และผมมีหน้าหน้าเปิด-ปิดเครื่อง ไม่มีหน้าที่ตรวจสอบ ทำความสะอาด ” จากนั้นผมได้ถามคำถามเดิมนี้กับส่วนงานซ่อมบำรุงและได้คำตอบแบบไม่ประหลายใจ คือ “ ผมมีหน้าซ่อม ไม่ได้มีหน้าตรวจสอบ คนใช้ต้องตรวจสอบเองสิ ” ผลจากการเดินดูสายการผลิต สิ่งที่ต้องเริ่มปฎิบัติงานระหว่างทีมผลิตและซ่อมบำรุงคือ จัดทำและตั้งมาตรฐาน การทำความสะอาด ตรวจสอบ และหล่อลื่น ซึ่งแนวทางในการจัดเตรียมมาตรฐานเพื่อที่จะทำให้โอเปอเรเตอร์ทำงานได้ง่ายถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้ 1.หัวข้อตรวจสอบ (Inspection items) มีอะไรบ้างที่ต้องทำความสะอาด ตรวจเช็ค และหล่อลื่นเพื่อดูแลรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพปกติ หัวหน้างานควรชี้แนะส่วนที่ขาดอยู่หรือส่วนที่ซ้ำกันอยู่ 2.จุดสำคัญ (Key Point) เป็นการชี้ให้เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากชิ้นส่วนนี้เกิดสกปรก หลวมหรือหล่อลื่นไม่เพียงพอวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถจดจำถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง คำแนะนำจากหัวหน้างานในสิ่งเหล่านี้จึงมีความจำเป็นมาก 3.วิธีการ (Method) เลือกวิธีการตรวจเช็คที่ง่ายและเหมาะสมที่สุดคิดค้นสร้างวิธีการควบคุมโดยการมอง … Continue reading CILT งานสำหรับป้องกันเครื่องจักรเสีย (Cleaning, Inspection, Lubrication, Tightening)
สายการผลิตที่น่าเชื่อถือนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการลดต้นทุนได้ หากความสามารถในการผลิตต่ำจะส่งผลให้ต้องผลิตมาเยอะขึ้นเพื่อสต๊อก ซึ่งถือเป็นเพื่อความสูญเสียอย่างหนึ่งของการผลิตแบบ LEAN (7 waste) ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องลดสต็อก เพราะสินค้าที่ขายไม่ได้จะถือว่าเป็นต้นทุนคงไม่ต้องบอกนะครับว่าถ้ามีสต็อกสินค้าเยอะเกินความจำเป็นผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร แต่ในมุมมองที่ผมต้องการสื่อก็คือการเพิ่มความมั่นคงให้กับบริษัทและสร้างกำไร เพราะสาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถผลิตตามความเร็วในการขายได้จนเกิดสต๊อกสินค้านั้นมีหลายประการ เช่น ผลิตเลยรวดเดียวทั้งหมด ลีดไทม์ยาวเกินไป มีการหยุดนิ่งเข้ามา เหล่านี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่ง หรืออาจจะมีส่วนที่น่าจะผลิตได้ในเวลาเดียวกันแต่พอลองทำจริงกลับทำไม่ได้ นี่ก็เหมือนกับความน่าเชื่อถือในการผลิต ถ้าพูดแบบเป็นรูปธรรมแล้วความน่าเชื่อถือคืออะไร ตัวอย่างเช่น เครื่องจักรเสีย เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับคุณภาพของสินค้า ถ้าวันนี้มีคนหยุดก็จะเกี่ยวข้องกับอัตราการเข้างาน หรือไม่ก็วันนี้มีคนลาหยุดแต่มีคนใหม่เข้ามาต้องฝึกงานให้ปัญหาก็จะมีหลากหลาย ซึ่งเราก็จะเรียกสิ่งที่รวมเรื่องเหล่านี้เข้าไปด้วยว่าความน่าเชื่อถือ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งแนวทางการเพิ่มความน่าเชื่อถือของไลน์การผลิตนั้น สามารถเริ่มต้นได้จากแนวคิดดังนี้ มุ่งเน้นลดของเสีย ซึ่งถืเป็นการความสูญเสียที่ต้องกำจัดอย่างเร่งด่วน อย่างปล่อยให้เป็นเรื่องจนเคยชิน ถ้าเกิดบ่อยและมีจำนวนมาก ความน่าเชื่อถือในเรื่องคุณภาพจะลดลง งานนี้ไม่ต้องคิดถึงเครื่องมือปรับปรุงครับ ให้ทำงานตามมาตรฐานที่มีทั้งหมดก่อน หากไม่มีมาตรฐานก็สร้างขึ้นมา (Standardize) 2.เพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน 2.1. สร้างประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มความสามารถในการบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องจักรไม่เสีย ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เพิ่มความสามารถในการบำรุงรักษา งานนี้เริ่มทำงานร่วมกับส่วนงานอื่น แนวคิดคือ - โพกะโยเคะ (จิโดกะ) ไม่ทำให้อุปกรณ์เครื่องจักรเสียหาย (การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน) - ถึงจะเสียก็สามารถซ่อมได้ทันที - การป้องกันการเกิดความผิดพลาดซ้ำสอง งานนี้ผมแนะนำให้เริ่มจาก … Continue reading เพิ่มความน่าเชื่อถือของไลน์การผลิต (Improve reliability of production line)
AM หรือ Autonomous Maintenance แปลเป็นไทย คือ การบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง ซึ่งเป็นเป็นการเรียนรู้ปรัญชาการป้องกันล่วงหน้าแบบฉบับ TPM ผ่านการฝึกอบรมบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์และการทำงานและสามารถบริหารจัดการการซ่อมบำรุงได้ โดยรูปแบบการเรียนรู้แบบเป็นขั้นตอน ทีละขั้น อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบสนองและพัฒนาบุคลากรที่สามารถตอบรับยุค Factory Automation ได้ทันที ① ผู้ปฏิบัติงาน :ความสามารถในการบำรุงรักษาด้วยตนเอง ② ช่างซ่อมบำรุง : ความสามารถในการบำรุงรักษาระดับสูง ③ วิศวกรผลิต : ความสามารถวางแผนเครื่องจักรที่ไม่ต้องบำรุงรักษา อะไรที่ทำให้การ AM เป็นโปรแกรมที่หลายองค์กรอยากหรือเลือกนำมาใช้นั้นเหรอ เพราะองค์กรต้องการปรับเปลี่ยนสามัญสำนึกขึ้นใหม่ โดยแนวคิดของ Autonomous Maintenance จึงมุ่งเน้นให้ผู้ปฎิบัติการเปลี่ยนจาก “ ฉันมีหน้าที่เดินเครื่อง รักษาซ่อมเครื่องมันเรื่องของคุณ ” เปลี่ยนเป็น “ เครื่องของฉันจะดูแลรักษาให้ดีที่สุด ” My machine, I take care it I Love my Machine … Continue reading ทำไมต้องทำ AM ? เป็นคำถามยอดฮิตที่ผมได้ยินทุกครั้งที่เริ่มทำ TPM
Posts navigation
You must be logged in to post a comment.