5 วิธี ลดต้นทุนอย่างรวดเร็ว

โควิด-19 ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของโลก ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็กระทบไปหมด ค้าขายไม่ได้ ไปทำงานไม่ได้ ออกจากบ้านไม่ได้ และต้องทำงานที่บ้าน หลายๆ อย่างกำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว  และคุณต้องอยู่กับมันให้ได้ บริษัทหรือองค์กรก็เช่นเดียวกัน ต้องปรับตัวให้อยุ่รอด กำจัดหรือตัดอะไรได้ก็ต้องทำ เริ่มด้วยการออกมาตรการรัดเข็มขัดที่เรียกว่า “การลดต้นทุน” ผมเองในฐานมนุษย์เงินเดือน ต้องทำเรื่องนี้อย่างเร่งด้วย ซึ่งผมเองเลยงัดวิชา TPM มาใช้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถแบ่งการหาแนวทางการลดต้นทุนได้ 5 วิธี ลดต้นทุนอย่างรวดเร็ว ที่ทำได้เลย ทำได้เร็วดังนี้ ลดการรั่วไหลของพลังงานในโรงงานซึ่งเป็นการสูญเสียพลังงาน (Energy losses) การสูญเสียพลังงานไฟฟ้า,  เชื้อเพลิง,  ไอน้ำ,  ลม,  น้ำ  (รวมทั้งการกำจัดน้ำเสีย) ลดการรั่วไหลหรือสาเหตุให้เกิดของเสีย (Quality defect source) ของวัตถุดิบ เช่น จุดรั่วไหม สิ่งแปลกปลอม ฝุ่น  เศษวัสดุ  เศษโลหะ  สนิม   แมลง ที่ทำให้เกิดความเสียหายกับวัตถุดิบสำหรับการผลิต การรักษา Basic Condition ของเครื่องจักรเพื่อลดอัตราการเร่งเสื่อมของเครื่องจักร ยิ่งทำเร็ว … Continue reading 5 วิธี ลดต้นทุนอย่างรวดเร็ว

PDCA ก้าวแรกสู่ความสำเร็จ

หลักการทำงานขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องมีก่อนการปรับปรุง คือ PDCA ของคุณ W. Edwards Deming โดยหลักการนี้ใช้ได้กับทุกเรื่องในโลกนี้ และวงล้อนี้ไม่มีหยุดนิ่ง ถ้าคนๆคนนั้นยังมีชีวิต เหตุที่ผมหยิบเอาเรื่องนี้มาเล่านั้น เกิดจากได้พบกับเหตุการณ์ที่ผู้คนเริ่มทำงานด้านปรับปรุงงานต่างๆ และประสพปัญหาไม่ได้ตามเป้าหมายตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งผมเองได้เข้าไปคุยและลุยหน้างานก็พบว่า การใช้ PDCA ที่ไม่ครบขั้นตอนหรือบางขั้นไม่ทำเลย สิ่งที่ผมเห็นบ่อยมากส่วนใหญ่เน้นที่ Do ทำเป็นอย่างเดียวไม่หยุดคิดอะไรเลย และที่หนักไปนั้นคือ ทำแต่แบบเดิมๆ เพื่อหวังว่ามันจะได้ตามที่ความหวัง ตามมาด้วยการ “ ไม่ชอบวางแผน” เพราะ “ วางแผนไม่เป็น ” (Plan) ซึ่งรายละเอียดการวางแผนนั้นละเอียดมากและมีจุดชี้เป็น ชี้ตาย ตรงที่ “ การวิเคราะห์สาเหตุ ”  เพราะหาสาเหตุนั้นจะนำไปสู่การ Action ที่คุณต้องทำต่อ คุณคิดว่าคนที่ประสบสำเร็จนั้น เค้าใช้เวลาคิดวางแผนและข้อมูลมากเพียงใดเพื่อตัดสินใจ  อันนี้ผมก็ไม่รู้นะครับ 555 แต่ที่แน่ๆ — ABRAHAM LINCOLN กล่าวไว้ “ หากผมมีเวลา 6 ชั่วโมง ในการตัดต้นไม้ ผมจะใช้เวลา … Continue reading PDCA ก้าวแรกสู่ความสำเร็จ

บริหาร OEE ให้ได้อย่างประสิทธิภาพ

การลดต้นทุน Cost reduction = การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต Increase Productivity หากต้องการลดต้นทุนจะทำอย่างไรดี คำตอบก็คือต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนั่นเอง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก็คือ การเพิ่ม ประสิทธิภาพของคน ประสิทธิภาพของเครื่องจักร (OEE) ประสิทธิภาพของวัตถุดิบ ปัญหาส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถลดต้นและสร้างกำไรจากเครื่องจักรได้ ภายใต้การปรับปรุงด้วย OEE ที่ไม่มีประสิทธิภาพ  เพราะหลายครั้งที่โรงงานที่ผมเข้าไปช่วยเรื่องนี้ทุกโรงงานสามารถคิดคำนวณได้หมด มีตัวเลขชัดเจน แต่ไม่สามารถสร้างระบบในการขับเคลื่อนได้  สุดท้ายเมื่อไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ก็จะเลิกกันไปหรือไม่ทำนั้นเอง ก่อนจะเริ่มการนั้นผมขอทวนเพื่อความเข้าใจอีกครั้ง การที่วัด OEE เป็นการวัดเพื่อหาช่องว่างในการปรับปรุง (GAP Analysis) ซึ่งการวัดประสิทธิภาพเครื่องโดยรวม (Overall Equipment Effectiveness) เป็นเครื่องมือที่ใช้การแผ่หลายและเป็นสากลในอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรใช้ในการผลิตสินค้าเป็นหลัก วิธีการวัดประสิทธิผลของเครื่องจักรแล้วยังรู้ถึงสาเหตุของความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งในภาพใหญ่ คือ สามารถแยกประเภทการสูญเสียและรายละเอียดของสาเหตุนั้น ทำให้สามารถที่จะปรับปรุง ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบโดยแบ่งออกเป็น 3 มุมมอง ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ Availability: ความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร “ กระบวนการผลิต /เครื่องจักร ไม่พร้อมใช้งาน ” Performance: สมรรถนะการผลิตของเครื่องจักร “ กระบวนการผลิต /เครื่องจักร ผลิตไม่เต็มสมรรถภาพของเครื่องที่ออกแบบไว้หรือที่กำหนดไว้ … Continue reading บริหาร OEE ให้ได้อย่างประสิทธิภาพ

Lean-TPM Roadmap

ปัญหาของการทำ Lean หรือ TPM ไม่สำเร็จนั้นเกิดจากอะไร ???            เรื่องนี้เป็นปัญหาระดับชาติที่ผมไปเจอมาหลายที่ ก่อนจะเริ่มนั้นผู้บริหารเห็นด้วยทุกอย่าง ไม่จะทำโน่นหรือทำนี้ แต่พอทำไปสักประมาณ 3 เดือน ก็เริ่มถอดใจกันหมดเพราะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงหรือได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เพราะผู้หริหารส่วนใหญ่นั้นต้องการเห็นผลเร็วๆ  ดังนั้นจึงมีการประยุกต์เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรและลดความสูญเปล่าในระบบการผลิต ด้วยเทคนิค Lean TPM (Lean Manufacturing TPM)  เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรและลดความสูญเปล่าในระบบการผลิต ด้วยเทคนิค Lean TPM (Lean Manufacturing TPM)             Lean-TPM คือ การบูรณาการของกิจกรรม Lean Manufacturing และ TPM เข้าด้วยกัน โดยการทำTPM (Total Productive Maintenance) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเครื่องจักรผ่านกิจกรรมบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM: Autonomous Maintenance) … Continue reading Lean-TPM Roadmap

ข้อดีเกี่ยวกับการใช้ SMED (Single Minute Exchange of Die) สำหรับปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว Quick Changeover

ทำไมเราต้องทำ Quick Changeover ??? ประเด็นแรก เกิดจากความสูญเสียจากการปรับแต่ง หรือ Set up & Adjustment Loss  ซึ่งเป็นความการสูญเสียที่ทำให้ประสิทธิภาพเครื่องจักรลดลง (Equipment) มุมมองภายในทำงานไม่ได้มาตรฐานหรือไม่มีมาตรฐาน ประเด็นที่สอง เป็นความสูญเสียจากการปรับแต่ง หรือ Set up & Adjustment Loss  เวลาเนื่องจากการปรับลดการผลิตให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการของลูกค้าหรือตลาด ในมุมมองภายนอก งานขายต้องขายของตาม “ ความต้องการของลูกค้า ” นั้นสำคัญ  เพราะถ้าเราผลิตสินค้าที่ลูกค้าไม่ต้องการแล้วนั้น ค่าใช้จ่ายเพิ่มแน่นอน (ผู้ปฎิบัติการนั้นไม่มีใครอยากเปลี่ยนรุ่นผลิต) ในแวดวงโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตนั้น เราเป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อมีเปลี่ยนแปลงรุ่นการผลิต (Job Change) , เปลี่ยนแปลงการผลิตสินค้า (Product Change) มักจะเกิดปัญหาเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งเหตุการณ์หรืออาการที่ผมพบเป็นประจำ เช่น ถอดประกอบช้ากว่าค่าที่กำหนด , ติดตั้งเสร็จไม่สามารถผลิตของดีได้ และสุขภาพจิตเสียทุกครั้งเมื่อรู้ว่าต้องเปลี่ยนรุ่น (อันนี้อารมณ์ของผู้เขียนเอง 555) เป็นต้น ธุรกิจบางประเภทนั้นแข่งขันด้วยการเปลี่ยนเร็วที่สุด เช่น การแข่งรถสูตรหนึ่ง หรือ … Continue reading ข้อดีเกี่ยวกับการใช้ SMED (Single Minute Exchange of Die) สำหรับปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว Quick Changeover

KAIZEN Suggestion System คิดเอง ทำเองได้

กิจกรรมที่เป็นรากฐานที่สำคัญของการเพิ่มผลผลิตนั้นคือ Kaizen (ไคเซ็น) Kaizen (改善) เป็นคำมาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแปลว่า ปรับปรุงดีขึ้น โดยทั่วโลกไม่มีใครไม่รู้จักคำนี้  ผมเองก็รู้จักเมื่อตอนทำงานในโรงงาน มันเริ่มจากโครงการที่เรียกว่า “ KSS ” หรือชื่อเต็มว่า KAIZEN Suggestion System มันคือ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้พนักงานระดับปฎิบัติได้ฝึกคิดปรับปรุงงานในโรงงาน เทคนิคหรือหลักการง่าย ๆ มีคีย์เวิร์ดสำคัญของการทำไคเซ็นมีอยู่ 3 ข้อ นั่นก็คือ  เลิก ลด เปลี่ยน   เลิก  พิจารณาการเลิกทำขั้นตอนหรืองานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า ลด    หากเลิกไม่ได้ ให้พิจารณาว่าสามารถ “ ลด ” ขั้นตอนการทำงาน เปลี่ยน  เปลี่ยนวิธีการ วัสดุ ประดิษฐ์เครื่องมือ ที่ทำงานให้งานคุณดีขึ้น   แต่การทำงาน KAIZEN Suggestion System นั้นจะมีเส้นบางๆที่ใกล้เคียงกับข้อเสนอแนะ ทำให้มีคนเข้าใจว่าเป็นการข้อเสนอแนะทั่วไป คุณต้องกำจัดข้อสงสัยนี้ให้ชัดเจน  ซึ่งผมเองใช้การแบ่งระดับการปรับปรุง 4 ขั้นดังนี้ Level … Continue reading KAIZEN Suggestion System คิดเอง ทำเองได้

5 เทคนิคการบริหาร OEE ให้ได้มีประสิทธิผล

           จากที่ผมได้ไปให้คำปรึกษาด้านเพิ่มผลผลิตโรงงานขนาด Size S กับ M  ซึ่งมีพนักงานประมาณ 100-200 คน/โรงงาน ซึ่งทั้ง 3 โรงงานมีการใช้เครื่องจักรเป็นในการแปรรูปสินค้าเป็นหลัก ซึ่งผมเองได้ทำการ Gamba ลงพื้นที่ในโรงงานเพื่อสำรวจการหาความสูญเสียและความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต ซึ่งผมเองก็ได้พบประเด็นมากมายระหว่างการผลิต เมื่อดูกระบวนการผลิตเสร็จสิ้น ผมและทีมงานของโรงงานได้มานั่งคุยกันเพื่อพิจารณาหา Gap ในการปรับปรุงเพื่อลดต้นของโรงงาน        เนื่องจากโรงงานทั้ง 3 แห่งใช้เครื่องจักรในการผลิตเป็นหลัก ผมเลยตั้งคำถามมุ่งเน้นไปการวัดประสิทธิภาพเครื่องจักรซึ่งเป็นที่นิยม คือ OEE หรือ Overall  Equipment  Efficiency ซึ่งเป็นการวัดประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร เป็นตัววัดเพื่อตัดสินว่า เวลาที่เครื่องจักรจะต้องเดินนั้น  ได้มีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ( อัตราส่วนของเวลาที่เครื่องจักรสร้างมูลค่าเพิ่ม )  ซึ่งค่า OEE นั้นต้องมาจากการคำนวณ ซึ่งมีค่าของเวลาหยุดของเครื่อง  ความเร็วการผลิตต่อชั่วโมงและของเสีย               … Continue reading 5 เทคนิคการบริหาร OEE ให้ได้มีประสิทธิผล

5 ขั้นตอนสำหรับการเก็บข้อมูลที่ช่วยให้ง่ายต่อการสร้างกำไร

จากประสบการณ์ที่ทำงานกว่า 10 ปี ค้นพบว่าการเก็บข้อมูลสำหรับนำไปใช้วิเคราะห์งานหรือติดตามการแก้ไขปัญหานั้นสำคัญอย่างมาก ยิ่งผมทำงานด้านฝ่ายผลิตและฝ่ายเพิ่มผลผลิตองค์กร ทำให้ต้องใช้จำนวนมาก ซึ่งข้อมูลที่ดีอาจจะไม่ใช้ข้อมูลที่ต้องครบ , เอกสารลงข้อมูลง่าย หรือทุกคนสามารถเข้าใจได้ แต่เป็น “ ข้อมูลที่ดีควรสามารถนำไปสร้างมูลค่าต่อได้ ” ทำไมผมถึงบอกอย่างนั้น เพราะจากการทำงานของผลที่ต้องเก็บข้อมูลจำนวนมา เพื่อใช้สำหรับมาวิเคราะห์มากกว่าสามารถแบ่งให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ดังนี้ คือ ข้อมูลทั้งหมดที่เก็บกันส่วนใหญ่มีข้อมูลที่เรานำไปใช้ได้เพียง 20%   ส่วนข้อมูลอีก 80% เป็นข้อมูลที่เก็บไว้เผื่อได้ใช้หรือเก็บไว้กันหัวหน้าถามหรือ บลาๆๆๆ วิธีแก้ไขนั้นคุณต้องทำเลยและลงมือทันที ซึ่งผมมี 5 ขั้นตอนสำหรับการเก็บข้อมูลที่ช่วยให้ง่าย ซึ่งใช้ประจำดังนี้ ขั้นตอนแรก : เริ่มพิจารณาและแยกแยะข้อมูลที่เก็บ ว่ามีข้อมูลไหนว่าที่สามารถสร้างคุณค่าและไม่สามารถสร้างคุณค่าได้ จากนั้นก็กำจัดข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ออกที่เรียกจาก Waste / Muda   ขั้นตอนสอง : กำหนดหรือนิยาม ข้อมูลที่ต้องการให้สอดคล้องกับดัชนีชี้วัด PQCDSME   ขั้นตอนสาม : พิจารณาข้อมูลที่สามารถสร้างเป็นเงินได้หรือเพิ่มความพึ่งพอใจให้กับลูกค้า เพื่อเป็นการระบุเจาะจงเฉพาะ   ขั้นตอนสี่ : จัดการปรับปรุงแก้ไขเอกสารการเก็บข้อมูลให้สอดคล้องและจัดทำเป็นมาตรฐาน   ขั้นตอนห้า : … Continue reading 5 ขั้นตอนสำหรับการเก็บข้อมูลที่ช่วยให้ง่ายต่อการสร้างกำไร

5 สิ่งเกี่ยวกับพื้นฐานการผลิตแบบ Monodzukuri ไปสู่ Zero loss กับ TPM

อะไรคือกุญแจการดำเนินการที่สำคัญของ TPM หากเราจะเรียงลำดับแบบถูกต้องเปะๆ นั้นคงลำบากไม่น้อย แต่ถ้าจะให้เริ่มนั้นคงหนี้ไม่พ้นเรื่องที่ต้องเป็นแกนหลักเลยที่เดียว ซึ่งผมของเรียกว่า “ พื้นฐานการผลิตแบบ Monodzukuri”   ประกอบไปด้วย 5 อย่างดังนี้ 1. PDCA เป็นที่แนวคิดที่จะที่สะท้อนเป็นพฤติกรรมในการทำงาน ซึ่งข้อสังเกตที่แต่ละขั้นตอนประกอบด้วย Plan : ต้องวางแผนละเอียดรอบคอบ เพียงพอที่จะมั่นใจในความสำเร็จของแผนงาน ไม่ใช่เพียงแค่วางแผนเสร็จเท่านั้น  สรุป : การวางแผนเริ่มแรกให้รอบคอบ จะดีกว่า  วางแผนเริ่มแรกแบบคร่าวๆแต่เสียเวลาแก้ไขในภายหลัง Do : ถ้าไม่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ก็ไม่สามารถที่จะทำได้ครบตามแผนที่วางไว้ Check : เป็นผู้ไม่ละเลยที่จะกลับไปสำรวจตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ (อย่างน้อยควร สำรวจ KPI ของหน่วยงานเราว่าได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ ลองสุ่มถามผู้เรียนดูว่า KPI ที่ผ่านมา 1-2 เดือนที่ผ่านมาได้เป้าหมายหรือไม่ได้เป้าหมาย) Action : เป็นผู้ไม่เพิกเฉย ต่อการทบทวนตน (หากทำได้สำเร็จ ก็พยายามรักษาสิ่งที่ถูกไว้ แต่หากพลาดไป ก็พยายามเรียนรู้จากสิ่งที่พลาดเพื่อนำไปทำการแก้ไขป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดซ้ำ) 2. 5W1H เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้เพื่อรวบรวมวิเคราะห์ สะสางข้อมูลและนำเสนอข้อมูลจากข้อมูลที่ซับซ้อนทำให้เป็นข้อมูลง่าย … Continue reading 5 สิ่งเกี่ยวกับพื้นฐานการผลิตแบบ Monodzukuri ไปสู่ Zero loss กับ TPM

จะทำการลดต้นทุนเท่าไหร่จึงจะดี

สิ้นปีเมื่อไร งานเก่ายังไม่เสร็จ งานใหม่ก็ต้องทำ จะสิ่งที่ต้องทำตลอดคือ " การลดต้นทุน " แต่จะทำการลดต้นทุนเท่าไหร่จึงจะดี จะเห็นได้ว่าด้านล่างของสไสด์จะมีแผนภูมิอยู่ 3 แผนภูมิซึ่งแต่ละแผนภูมิจะเป็นองค์ประกอบของราคาขายซึ่งก็คือ ต้นทุนบวกกับกำไรหากต้องการเพิ่มกำไรจะทำอย่างไรดี วิธีการมี 2 แบบแต่ผลที่ได้ก็จะเหมือนกัน วิธีแรก คือ การเพิ่มราคาขาย ส่วนวิธีที่ 2 คือ การลดต้นทุนซึ่งผลที่ได้ก็คือส่วนที่เป็นกำไร (ส่วนสีชมพู) ก็จะเพิ่มขึ้นหากมีแต่บริษัทของคุณที่ผลิตสินค้าชนิดนั้นหรือพูดอีกอย่างก็คือ บริษัทของคุณผูกขาดสินค้าชนิดนั้น เมื่อเป็นระบบผูกขาดก็ไม่มีการแข่งขัน วิธีแรก คือ การเพิ่มราคาขายจึงเป็นวิธีการที่ได้ผลดีมาก แต่ทว่าในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ตราบใดที่มีคู่แข่งทางการค้า ยังไงก็ต้องลดต้นทุนให้ได้หากต้องการเพิ่มกำไร ส่วนกำไรที่ได้มาจะนำไปใช้อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท ซึ่งนโยบายนั้นอาจจะเป็นการตอบแทนสังคม ให้สวัสดิการแก่พนักงาน ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะนำไปใช้อย่างไร การเพิ่มกำไรก็เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการลดต้นทุนเป็นสิ่งสำคัญ “ เราต้องไม่ลืมว่าเรากำลังแข่งขันกับบริษัทอื่นอยู่เสมอ ” ซึ่งการลดต้นทุน คุณจะต้องเขียนแผนงานทั้ง Master plan หรือ Action plan และการที่คุณจะหาหัวข้อของปัญหานั้นคุณต้องส่วนต่างหรือความแตกต่างให้เจอ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เราควรรวบรวมข้อมูลย้อนหลัง 1-2 ปี สำหรับการวิเคราะห์เพื่อหาปัญหาคืออะไร ซึ่งปัญหาที่เราพบมาจากการวิเคราะห์ที่เรียกว่า … Continue reading จะทำการลดต้นทุนเท่าไหร่จึงจะดี