10 ประโยชน์จากการแบ่งความสำคัญของเครื่องจักร (Machine rankings in TPM)

เครื่องจักรโรงงานคุณมีทั้งหมดกี่เครื่อง ? หากเครื่องจักรเสียจะซ่อมเครื่องไหนก่อน ? การที่ผมได้ทำ Total Productive Maintenance (TPM) ได้มีการจัดลำดับเครื่องจักรมักหมายถึงการจัดหมวดหมู่เครื่องจักรตามระดับความสำคัญและประสิทธิภาพของพวกเขา การจัดประเภทนี้ช่วยในการกำหนดลำดับความสำคัญในการดูแลรักษา การจัดลำดับทั่วไปรวมถึง: เครื่องจักรที่สำคัญ (ระดับ A): มีผลกระทบสูงต่อการผลิต; การดูแลรักษาที่ถี่และละเอียดถี่เป็นสำคัญ. เครื่องจักรที่สำคัญ (ระดับ B): มีความสำคัญสำหรับการผลิต; การดูแลรักษาที่เป็นประจำเพื่อป้องกันการชำรุด. เครื่องจักรที่ไม่สำคัญ (ระดับ C): มีผลกระทบน้อยต่อการผลิต; การดูแลรักษาอาจน้อยลงและมุ่งเน้นที่งานพื้นฐาน. การจัดลำดับเหล่านี้นำทางการดำเนินการ TPM โดยให้ทรัพยากรถูกจัดสรรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรโดยรวม (OEE) มากที่สุด. ผลประโยชน์ที่โรงงานได้นั้นส่งผลในระยะยาว สามารถสรุปได้ 10 ข้อดังนี้ 1.การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ: การจัดลำดับเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพช่วยในการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยให้ความสนใจมากขึ้นในเครื่องจักรที่สำคัญที่มีผลกระทบมากต่อการผลิต. 2.ลดเวลาหยุดเครื่อง: การให้ความสำคัญในการดูแลรักษาที่เป็นระดับสูงบนเครื่องจักรสำคัญช่วยป้องกันการชำรุด, ลดเวลาหยุดงานที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้าและเสริมความพร้อมในการให้บริการของเครื่องจักรโดยรวม. 3.ประหยัดค่าใช้จ่าย: กลยุทธ์การดูแลรักษาที่เป้าหมายสูงขึ้นจากการจัดลำดับเครื่องจักรสามารถทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้โดยการลดการดูแลรักษาที่ไม่จำเป็นของเครื่องจักรที่มีความสำคัญน้อย. 4.ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์: การรับรองความน่าเชื่อถือของเครื่องจักรที่สำคัญมีส่วนทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ เนื่องจากเครื่องจักรเหล่านี้มักมีบทบาทสำคัญในกระบวนการผลิต 5.เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรโดยรวม (OEE): การจัดลำดับเครื่องจักรมีส่วนร่วมในการเพิ่ม OEE โดยการจัดการต่อด้วยความต้องการดูแลรักษาซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความสำคัญและผลกระทบของเครื่องจักรต่อกระบวนการผลิต. 6.การตัดสินใจและวางกลยุทธ์อย่างมีระบบ: การจัดลำดับเครื่องจักรให้ข้อมูลมีค่าสำหรับการตัดสินใจและการวางกลยุทธ์, ช่วยในการลงทุนในการอัปเกรดหรือแทนที่เครื่องจักรตามความสำคัญของมันในกระบวนการผลิต. 7.มุ่งเน้นการบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ล่วงหน้า: … Continue reading 10 ประโยชน์จากการแบ่งความสำคัญของเครื่องจักร (Machine rankings in TPM)

Posted in UncategorizedTagged

ทำไมทุกคนต้องตามมาตรฐานการทำงาน ?

ในบริบทของการทำงานในโรงงานหรือสถานที่ผลิต การตามมาตรฐานการทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่มีความสำคัญทั้งต่อบุคลากรและองค์กรเอง มาตรฐานการทำงานคือระบบหรือกฎระเบียบที่กำหนดวิธีการทำงานและสิ่งที่คาดหวังในการปฏิบัติงานทั้งหมดในองค์กร. มาตรฐานการทำงานมีบทบาทสำคัญในการสร้างความปลอดภัย, ประสิทธิภาพ, และคุณภาพในการผลิตสินค้าหรือบริการ และเป็นแรงจูงใจในการเพิ่มผลผลิตและลดความเสี่ยงในโรงงาน. นี่คือเหตุผลที่ทุกคนในโรงงานจำเป็นต้องตามมาตรฐานการทำงาน: ประสิทธิภาพในการทำงาน: มาตรฐานการทำงานช่วยในการจัดการและวางแผนงานการทำงานอย่างเป็นระบบ ทำให้บุคลากรทำงานได้อย่างมีระบบและประสิทธิภาพ. ความปลอดภัย: มาตรฐานการทำงานเน้นความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุ ที่สำคัญสำหรับความเป็นมนุษย์และความคงอยู่ขององค์กร. คุณภาพของผลิตภัณฑ์: มาตรฐานการทำงานช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ให้กับลูกค้า ทำให้มีความพึงพอใจและความเชื่อมั่นจากลูกค้า. การลดความขัดแย้ง: มาตรฐานการทำงานช่วยลดความขัดแย้งระหว่างบุคลากร และช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นกันเองและร่วมมือ. สร้างสภาพแวดล้อมที่สามารถติดตามและประเมิน: มาตรฐานการทำงานช่วยสร้างโครงสร้างที่สามารถติดตามและประเมินผลการทำงาน และช่วยในการปรับปรุงตามความจำเป็น. ปรับปรุงความเชื่อมั่น: มาตรฐานการทำงานช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของลูกค้า, พาร์ทเนอร์, และลูกจ้าง ที่สามารถมีผลในความคงอยู่ขององค์กร. การป้องกันความขัดแย้งกฎหมาย: การปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงานช่วยป้องกันความขัดแย้งกฎหมายและลดความเสี่ยงในการดำเนินกิจกรรมทางกฎหมาย. การตามมาตรฐานการทำงานไม่เพียงแค่เป็นหน้าที่ของบุคลากร แต่ยังเป็นการสร้างความสำเร็จและความเป็นมนุษย์ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ มาตรฐานการทำงานยังช่วยในการเพิ่มความรับผิดชอบของบุคลากร, สร้างความเชื่อมั่น, และส่งเสริมความเป็นระเบียบ สุขภาพ และองค์กรที่ยั่งยืน. ดังนั้น, ทุกคนในโรงงานควรมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงานอย่างเคร่งครัด เพื่อร่วมกันสร้างสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรและสังคม. การมีมาตรฐานในการทำงานมีหลายเหตุผลที่ทำให้มีความจำเป็นต้องตามมาตรฐานเหล่านี้ นี่คือบางสาเหตุที่ทำให้มาตรฐานการทำงานมีความสำคัญ 1.ประสิทธิภาพ: มาตรฐานการทำงานช่วยให้หน่วยงานและบุคคลทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีแนวทางและกระบวนการที่ชัดเจน ที่ช่วยลดเวลาและความสับสนในการทำงาน 2.คุณภาพ: มาตรฐานการทำงานช่วยให้งานที่ผลิตมีคุณภาพสูง ด้วยการตรวจสอบและทดสอบเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการตรงตามมาตรฐาน 3.ความปลอดภัย: มาตรฐานการทำงานสามารถช่วยลดความเสี่ยงและอุบัติเหตุในสถานที่ทำงาน เนื่องจากมีคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย 4.ควบคุม: มาตรฐานการทำงานช่วยในการควบคุมกระบวนการและการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร … Continue reading ทำไมทุกคนต้องตามมาตรฐานการทำงาน ?

4 เฟสทำให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์

แปดโมงสามสิบนาทีเป็นเวลาประชุมเช้าของบริษัทเพื่อรายงานผลการดำเนินงานหารผลิตภายใน 24 ชั่วโมง ใช้เวลาเพียง 20 นาที (ตามมาตรฐาน) แต่ปัญหาโรงงานเรามีเยอะแยะ ซึ่งในทุกๆวันก็จะรายงานการผลิตเกือบ 1 ชั่วโมง เรื่องที่ได้ยินเป็นบ่อยครั้งที่สุดคือ เครื่องจักรชำรุด อาการตั้งแต่ มอเตอร์พัง , สายพานขาด , แกนเพลาขาด เป็นต้น เพราะผลเสียเนื่องจากการขัดข้องของเครื่องจักรในสายการผลิต พอจะแยกออกได้เป็น 5 กลุ่มหลัก คือ การขัดข้องที่เป็นเหตุให้ต้องหยุดสายการผลิต การขัดข้องที่ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ลดลง การขัดข้องที่ทำให้ต้องลดความเร็วลง (ผลผลิตลดลง) การขัดข้องที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย และทำลายสิ่งแวดล้อม การขัดข้องที่ทำให้สูญเสียพลังงานและสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ในการผลิต ผมเองได้เสนอแนวคิดการบริหารงานให้กับทางผู้บริหารโรงงานไปว่า หากจะให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์ ต้องเริ่มจากองค์ประกอบทีมงานที่ทำให้เครื่องจักรไม่ขัดข้อง 2 ทีมงาน คือ การบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองและการบำรุงรักษาตามแผน สโลแกน คือ “ AM + PM = One team ”   เรื่องนี้เป็นต้องทำให้เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติการ เพราะคนใช้เครื่องจักรกับคนซ่อมแซมเครื่องจักรต้องหันหน้าเข้าหากัน จับมือกัน … Continue reading 4 เฟสทำให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์

ข้อดีของการทำ KMI , KPI , KAI  แบบ TPM

เป้าหมายภายในองค์กรมีหลายระดับ  ต่างคนต่างมีหน้าที่ของตัวเอง ตำแหน่งคุณจะบ่งบอกความรับผิดชอบ !!! สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการทำ TPM นั้นคือการทำ  KMI , KPI , KAI  เพื่อเชื่อมโยงกับ Pillar หรือหน่วยทำงานย่อยหรือที่เรียกว่า Hoshin Kanri คือ กลยุทธ์การวางแผนจากประเทศญี่ปุ่น เป็นการสร้างเป้าหมายแบบแผนผังเมตริกซ์ (Matrix Diagrams) แผนผังที่ประกอบด้วยข้อความในแนวตั้ง(columns) และข้อความในแนวนอน(Rows)ณ จุดที่ตัดกันนี้จะเป็นตำแหน่งที่ใช้พิจารณาข้อความที่เป็นแนวคิดสำคัญสำหรับการแก้ปัญหา ทั้งนี้ข้อดีของแผนผังแมทริกซ์ ยังช่วยให้เราสามารถนำข้อมูลจากความคิดเห็นที่มีฐานจากประสบการณ์ ออกมาใช้ งานได้อย่างรวดเร็วและเต็มที่ สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากกว่าข้อมูลที่เป็น ตัวเลขเสียอีกทำให้ความสัมพันธ์กันในกลุ่มที่มีสถานการณ์แตกต่างกันกระจ่าง ชัดเจนขึ้น ซึ่งทำให้ปัญหาโดยรวมปรากฏชัดขึ้นมาทันทีแผนผังนี้ช่วยกำหนดตำแหน่งของปัญหาได้อย่างชัดเจน การตั้งเป้าหมายต้องสามารถทำได้จริง มีที่มาที่ไป มีเหตุและผล ไม่ใช่ทำไปทุกเรื่องหรือทำแบบไม่มีการวิเคราะห์อะไรเลย อยากทำอะไรก็ทำ ซึ่ง Target Deployment หรือการกระจายนโนบายไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งการบริหารงานแบบ TPM นั้นแบ่งเป้าหมายเป็น 3 ระดับ ซึ่งมีดัชนีชี้วัดต่างกัน KMI = Key Management Index คือ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จระดับสูง … Continue reading ข้อดีของการทำ KMI , KPI , KAI  แบบ TPM

Posted in UncategorizedTagged

CILT งานสำหรับป้องกันเครื่องจักรเสีย (Cleaning, Inspection, Lubrication, Tightening)

เครื่องจักรเสียครับหัวหน้า ทำยังไงดี แจ้งซ่อมสิครับรออะไร เหตุการณ์แบบนี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เกิดทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ยิ่งไปกว่านั้นอาการเริ่มหนักขึ้นจากหยุด 5-10 นาที่ เป็นชั่วโมงและเป็นวันๆ ผมเองได้ฟังมาจากผู้จัดการผลิตที่ขอให้ผมลงไปช่วยดูว่าจะแก้ไขอะไรได้บ้าง ผมเองได้สอบถามพนักงานในพื้นที่หลายคำถามเช่น เมื่อเครื่องจักรเสียทำอย่างไร ? ก่อนและหลังใช้เครื่องจักรทำอย่างไร ? ทำความสะอาดเครื่องจักรทำอย่างไร ? ซึ่งได้คำตอบว่า “ แจ้งซ่อมครับ และผมมีหน้าหน้าเปิด-ปิดเครื่อง ไม่มีหน้าที่ตรวจสอบ ทำความสะอาด ”  จากนั้นผมได้ถามคำถามเดิมนี้กับส่วนงานซ่อมบำรุงและได้คำตอบแบบไม่ประหลายใจ คือ “ ผมมีหน้าซ่อม ไม่ได้มีหน้าตรวจสอบ คนใช้ต้องตรวจสอบเองสิ ”  ผลจากการเดินดูสายการผลิต สิ่งที่ต้องเริ่มปฎิบัติงานระหว่างทีมผลิตและซ่อมบำรุงคือ จัดทำและตั้งมาตรฐาน  การทำความสะอาด ตรวจสอบ และหล่อลื่น   ซึ่งแนวทางในการจัดเตรียมมาตรฐานเพื่อที่จะทำให้โอเปอเรเตอร์ทำงานได้ง่ายถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้ 1.หัวข้อตรวจสอบ (Inspection items) มีอะไรบ้างที่ต้องทำความสะอาด ตรวจเช็ค และหล่อลื่นเพื่อดูแลรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพปกติ หัวหน้างานควรชี้แนะส่วนที่ขาดอยู่หรือส่วนที่ซ้ำกันอยู่ 2.จุดสำคัญ (Key Point) เป็นการชี้ให้เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากชิ้นส่วนนี้เกิดสกปรก หลวมหรือหล่อลื่นไม่เพียงพอวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถจดจำถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง คำแนะนำจากหัวหน้างานในสิ่งเหล่านี้จึงมีความจำเป็นมาก 3.วิธีการ (Method) เลือกวิธีการตรวจเช็คที่ง่ายและเหมาะสมที่สุดคิดค้นสร้างวิธีการควบคุมโดยการมอง … Continue reading CILT งานสำหรับป้องกันเครื่องจักรเสีย (Cleaning, Inspection, Lubrication, Tightening)

ทำไมต้องทำ AM ? เป็นคำถามยอดฮิตที่ผมได้ยินทุกครั้งที่เริ่มทำ TPM 

AM  หรือ Autonomous Maintenance แปลเป็นไทย คือ การบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง ซึ่งเป็นเป็นการเรียนรู้ปรัญชาการป้องกันล่วงหน้าแบบฉบับ TPM  ผ่านการฝึกอบรมบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์และการทำงานและสามารถบริหารจัดการการซ่อมบำรุงได้ โดยรูปแบบการเรียนรู้แบบเป็นขั้นตอน ทีละขั้น อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบสนองและพัฒนาบุคลากรที่สามารถตอบรับยุค Factory Automation ได้ทันที  ① ผู้ปฏิบัติงาน :ความสามารถในการบำรุงรักษาด้วยตนเอง  ② ช่างซ่อมบำรุง : ความสามารถในการบำรุงรักษาระดับสูง  ③ วิศวกรผลิต   : ความสามารถวางแผนเครื่องจักรที่ไม่ต้องบำรุงรักษา อะไรที่ทำให้การ AM เป็นโปรแกรมที่หลายองค์กรอยากหรือเลือกนำมาใช้นั้นเหรอ เพราะองค์กรต้องการปรับเปลี่ยนสามัญสำนึกขึ้นใหม่ โดยแนวคิดของ Autonomous Maintenance จึงมุ่งเน้นให้ผู้ปฎิบัติการเปลี่ยนจาก “ ฉันมีหน้าที่เดินเครื่อง รักษาซ่อมเครื่องมันเรื่องของคุณ ”    เปลี่ยนเป็น  “ เครื่องของฉันจะดูแลรักษาให้ดีที่สุด ” My machine, I take care it I Love my Machine      … Continue reading ทำไมต้องทำ AM ? เป็นคำถามยอดฮิตที่ผมได้ยินทุกครั้งที่เริ่มทำ TPM 

Posted in UncategorizedTagged , ,

Autonomous Maintenance คืออะไร

Autonomous Maintenance หรือ การปกป้องรักษาเครื่องจักรของตัวเอง Autonomous Maintenance มาจากคำว่า Jishu-Hozen ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง การที่พนักงานแต่ละคนได้จัดการดูแลเครื่องจักรของตนเอง โดยการหมั่นตรวจสอบเติมน้ำมัน เปลี่ยนชิ้นส่วน ซ่อมแซม ตรวจหาสิ่งผิดปกติ ตรวจเช็คอย่างละเอียดอยู่เป็นประจำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ “ ปกป้องเครื่องจักรของตนเอง ” ขณะที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าทำให้เครื่องจักรมีขีดความสามารถและความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น   โรงงานมีการขยายใหญ่ขึ้น หน้าที่การบำรุงรักษาก็มีความหลากหลายมากขึ้นเรื่อย ๆ พนักงานเดินเครื่องมีหน้าที่เพื่อการผลิตเสียเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่พนักงานซ่อมบำรุงก็มุ่งเน้นแต่การซ่อมบำรุงแต่อย่างเดียว แนวความคิดที่ว่า “ฉันมีหน้าที่ผลิต คุณมีหน้าที่ซ่อม” ได้ขยายวงกว้างในโรงงาน ทำให้ฝ่ายผลิตก็จะดูแลเฉพาะในส่วนของเพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ส่วนงานด้านการซ่อมบำรุงเครื่องจักรหน้าที่เติมสารน้ำมันหล่อลื่น ขันแน่น ตรวจสอบ ความสะอาดและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องจักรก็ยกให้ฝ่ายซ่อมบำรุงรับผิดชอบไป ทำให้พนักงานเดินเครื่องเกิดความรู้สึกว่า “การขัดข้องถือเป็นความผิดพลาดของฝ่ายซ่อมบำรุง” หรือ “สาเหตุการขัดข้องเกิดจากการติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง เราไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรด้วยเลย”  แนวความคิดที่ไม่ถูกต้องนี้ควรได้รับการแก้ไขการขัดข้องหลายชนิดสามารถป้องกันได้โดยพนักงานเดินเครื่อง เช่น การขันแน่น หยอน้ำมัน และทำความสะอาด สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นก็จะค่อย ๆ หมดไป ถ้าพนักงานเดินเครื่องได้มีการสัมผัส และขจัดสิ่งสกปรกออกไปจากเครื่องจักรเพราะการได้สัมผัสเครื่องจักรเป็นประจำก่อให้เกิดการรู้สึกถึงความผิดปกติของเครื่องจักรได้  เกิดการพัฒนาโอเปอเรเตอร์ที่ชำนาญเครื่องจักร ผู้ที่จะเป็นโอเปอเรเตอร์ที่ชำนาญด้านเครื่องจักรได้ ควรมีความสามารถดังต่อไปนี้ … Continue reading Autonomous Maintenance คืออะไร

ข้อดีของการทำ Basic condition เท่ากับการลดต้นทุน

เรื่องนี้เริ่มจากวิกฤต COVID-19 เมื่อคุณไม่สามารถลงทุนอะไรใหม่ๆได้ในช่วงนี้ ทางเลือกก็มีไม่มาก แต่ต้องลดต้นทุนให้ได้ TPM เป็นเครื่องมือบริหารที่ลักษณะเด่น คือการทำ Autonomous Maintenance เพื่อเปลี่ยน mind set ของผู้ปฎิบัติงาน แนวคิดการบำรุงรักษาด้วยตนเอง เริ่มจากการที่มีการปรับปรุงตลอดมา และความซับซ้อนในงานซ่อมบำรุงที่หลากหลายส่งผลให้เกิดการแบ่งฝ่ายผลิต และฝ่ายซ่อมบำรุงอย่างชัดเจน ทำให้ประสิทธิภาพของการอำนวยความสะดวกลดลงอย่างมาก Jishu-Hozen หรือการบำรุงรักษาด้วยตนเองจะสามารถปรับปรุงสิ่งเหล่านี้ได้ โดยมีแนวคิดดังต่อไปนี้ แนวคิดขั้นต้น ของเสียเป็นศูนย์และเครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์จะเป็นจริงได้ถ้าทุกคนที่เกี่ยวข้องปรับแนวความคิดและปฏิบัติเสียใหม่เมื่อเครื่องจักรดีขึ้นคนก็จะดีขึ้น ถ้าคนดีขึ้นบรรยากาศการทำงานก็จะดีขึ้นตามลำดับภายใต้ภาวะผู้นำของฝ่ายจัดการทุก ๆ คน จะต้องมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาที่แท้จริงที่มีอยู่ตามขั้นตอนที่ถูกกำหนดขึ้น ดังนั้นการเรียนรู้เครื่องจักร ( Know my machine ) ชิ้นส่วนต่างๆ ทำหน้าที่อะไร หากไม่สามารถทำงานได้จะเกิดอะไร  สภาพที่ควรจะเป็นเป็นอย่างไร และข้อควรระวังมีอะไรบ้าง โดยความรู้เล่านี้จะได้มาทีมงานวิศวกรของโรงงาน เพราะ “ ก่อนจะปรังปรุงอะไรให้คืนสภาพเงื่อนไขพื้นฐานก่อน ” หรือ Basic condition  หากพูดให้เข้าใจกันภาษาชาวบ้านนั้นก็ คือ การทำให้เครื่องจักรใหม่เหมือนตอนพึ่งซื้อมาครั้งแรก หรือตามสภาพกาลเวลานั้นๆ ซึ่งข้อดีของการคืนสภาพนั้นจะเหมือนการตรวจสอบความสมบูรณ์ทุกชิ้นส่วนของเครื่องจักร เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องจักรพร้อมใช้หรือไม่ จาก Case … Continue reading ข้อดีของการทำ Basic condition เท่ากับการลดต้นทุน

How to Improve MTBF & MTTR

MTBF หมายถึง Mean Time Between Failures หมายถึง ระยะเวลาเฉลี่ยก่อนการเสียหายแต่ละครั้ง MTTR หมายถึง Mean Time to Repair คือ ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่เสียหายจนใช้งานได้แต่ละครั้ง ตัวชี้วัดของส่วนงานวิศวกรรมและช่างซ่อมบำรุงที่เด่น ๆ ที่ TPM สนใจ          ทำไมต้องวัดค่านี้  เพราะเป็นการวัดสมรรถนะความเชื่อถือได้ ( Reliability Performance) เป็นเวลาเฉลี่ยที่เครื่องจักรสามารถทํางานได้ตามปกติระหวางจุดการทํางาน ซึ่งเนื่องมาจากการบํารุงรักษาเครื่องจักรที่มีสมรรถนะสูงเชื่อถือได้สูง และการวัดค่าสมรรถนะการบํารุงรักษาได้ (Maintainability Performance) ซึ่งสมรรถนะการบํารุงรักษาสมรรถนะการบํารุงรักษาได้วัดจากค่าเฉลี่ยของเวลาในการซ่อมแซมเครื่องจักร การปรับปรุงด้านเครื่องจักรเป็นศาสตร์ด้านวิศวกรรมที่คุณต้องมีความเข้าใจในเครื่องจักรนั้นๆเป็นอย่างดี ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “ จะทำอย่างไรที่ทำให้ ให้เครื่องเครื่องเดินนานและซ่อมได้เร็ว “  โดยแบ่งเป็น 2 แนวทาง ดังนี้ กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างเทคโนโลยีและทักษะการบำรุงรักษา มุ่งเน้นกิจกรรมเพื่อขยายระยะเวลาเดินเครื่องจักร (MTBF) และกิจกรรมเพื่อย่นเวลาการซ่อมเครื่องจักร (MTTR) เพื่อสร้างระบบที่เพิ่มผลผลิตและความสูญเสียและของเสียเป็นศูนย์ กิจกรรมเพื่อการบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สามารถแบ่งการดำเนิน การทำให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์ 4 เฟส ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนหลัก … Continue reading How to Improve MTBF & MTTR

Posted in UncategorizedTagged

ข้อดีเกี่ยวกับการใช้ SMED (Single Minute Exchange of Die) สำหรับปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว Quick Changeover

ทำไมเราต้องทำ Quick Changeover ??? ประเด็นแรก เกิดจากความสูญเสียจากการปรับแต่ง หรือ Set up & Adjustment Loss  ซึ่งเป็นความการสูญเสียที่ทำให้ประสิทธิภาพเครื่องจักรลดลง (Equipment) มุมมองภายในทำงานไม่ได้มาตรฐานหรือไม่มีมาตรฐาน ประเด็นที่สอง เป็นความสูญเสียจากการปรับแต่ง หรือ Set up & Adjustment Loss  เวลาเนื่องจากการปรับลดการผลิตให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการของลูกค้าหรือตลาด ในมุมมองภายนอก งานขายต้องขายของตาม “ ความต้องการของลูกค้า ” นั้นสำคัญ  เพราะถ้าเราผลิตสินค้าที่ลูกค้าไม่ต้องการแล้วนั้น ค่าใช้จ่ายเพิ่มแน่นอน (ผู้ปฎิบัติการนั้นไม่มีใครอยากเปลี่ยนรุ่นผลิต) ในแวดวงโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตนั้น เราเป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อมีเปลี่ยนแปลงรุ่นการผลิต (Job Change) , เปลี่ยนแปลงการผลิตสินค้า (Product Change) มักจะเกิดปัญหาเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งเหตุการณ์หรืออาการที่ผมพบเป็นประจำ เช่น ถอดประกอบช้ากว่าค่าที่กำหนด , ติดตั้งเสร็จไม่สามารถผลิตของดีได้ และสุขภาพจิตเสียทุกครั้งเมื่อรู้ว่าต้องเปลี่ยนรุ่น (อันนี้อารมณ์ของผู้เขียนเอง 555) เป็นต้น ธุรกิจบางประเภทนั้นแข่งขันด้วยการเปลี่ยนเร็วที่สุด เช่น การแข่งรถสูตรหนึ่ง หรือ … Continue reading ข้อดีเกี่ยวกับการใช้ SMED (Single Minute Exchange of Die) สำหรับปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว Quick Changeover