Autonomous Maintenance หรือ การปกป้องรักษาเครื่องจักรของตัวเอง Autonomous Maintenance มาจากคำว่า Jishu-Hozen ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง การที่พนักงานแต่ละคนได้จัดการดูแลเครื่องจักรของตนเอง โดยการหมั่นตรวจสอบเติมน้ำมัน เปลี่ยนชิ้นส่วน ซ่อมแซม ตรวจหาสิ่งผิดปกติ ตรวจเช็คอย่างละเอียดอยู่เป็นประจำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ “ ปกป้องเครื่องจักรของตนเอง ” ขณะที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าทำให้เครื่องจักรมีขีดความสามารถและความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โรงงานมีการขยายใหญ่ขึ้น หน้าที่การบำรุงรักษาก็มีความหลากหลายมากขึ้นเรื่อย ๆ พนักงานเดินเครื่องมีหน้าที่เพื่อการผลิตเสียเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่พนักงานซ่อมบำรุงก็มุ่งเน้นแต่การซ่อมบำรุงแต่อย่างเดียว แนวความคิดที่ว่า “ฉันมีหน้าที่ผลิต คุณมีหน้าที่ซ่อม” ได้ขยายวงกว้างในโรงงาน ทำให้ฝ่ายผลิตก็จะดูแลเฉพาะในส่วนของเพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ส่วนงานด้านการซ่อมบำรุงเครื่องจักรหน้าที่เติมสารน้ำมันหล่อลื่น ขันแน่น ตรวจสอบ ความสะอาดและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องจักรก็ยกให้ฝ่ายซ่อมบำรุงรับผิดชอบไป ทำให้พนักงานเดินเครื่องเกิดความรู้สึกว่า “การขัดข้องถือเป็นความผิดพลาดของฝ่ายซ่อมบำรุง” หรือ “สาเหตุการขัดข้องเกิดจากการติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง เราไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรด้วยเลย” แนวความคิดที่ไม่ถูกต้องนี้ควรได้รับการแก้ไขการขัดข้องหลายชนิดสามารถป้องกันได้โดยพนักงานเดินเครื่อง เช่น การขันแน่น หยอน้ำมัน และทำความสะอาด สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นก็จะค่อย ๆ หมดไป ถ้าพนักงานเดินเครื่องได้มีการสัมผัส และขจัดสิ่งสกปรกออกไปจากเครื่องจักรเพราะการได้สัมผัสเครื่องจักรเป็นประจำก่อให้เกิดการรู้สึกถึงความผิดปกติของเครื่องจักรได้ เกิดการพัฒนาโอเปอเรเตอร์ที่ชำนาญเครื่องจักร ผู้ที่จะเป็นโอเปอเรเตอร์ที่ชำนาญด้านเครื่องจักรได้ ควรมีความสามารถดังต่อไปนี้ … Continue reading Autonomous Maintenance คืออะไร
Autonomous Maintenance คืออะไร

You must be logged in to post a comment.