ข้อดีของการทำ Basic condition เท่ากับการลดต้นทุน

เรื่องนี้เริ่มจากวิกฤต COVID-19 เมื่อคุณไม่สามารถลงทุนอะไรใหม่ๆได้ในช่วงนี้ ทางเลือกก็มีไม่มาก แต่ต้องลดต้นทุนให้ได้ TPM เป็นเครื่องมือบริหารที่ลักษณะเด่น คือการทำ Autonomous Maintenance เพื่อเปลี่ยน mind set ของผู้ปฎิบัติงาน แนวคิดการบำรุงรักษาด้วยตนเอง เริ่มจากการที่มีการปรับปรุงตลอดมา และความซับซ้อนในงานซ่อมบำรุงที่หลากหลายส่งผลให้เกิดการแบ่งฝ่ายผลิต และฝ่ายซ่อมบำรุงอย่างชัดเจน ทำให้ประสิทธิภาพของการอำนวยความสะดวกลดลงอย่างมาก Jishu-Hozen หรือการบำรุงรักษาด้วยตนเองจะสามารถปรับปรุงสิ่งเหล่านี้ได้ โดยมีแนวคิดดังต่อไปนี้ แนวคิดขั้นต้น ของเสียเป็นศูนย์และเครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์จะเป็นจริงได้ถ้าทุกคนที่เกี่ยวข้องปรับแนวความคิดและปฏิบัติเสียใหม่เมื่อเครื่องจักรดีขึ้นคนก็จะดีขึ้น ถ้าคนดีขึ้นบรรยากาศการทำงานก็จะดีขึ้นตามลำดับภายใต้ภาวะผู้นำของฝ่ายจัดการทุก ๆ คน จะต้องมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาที่แท้จริงที่มีอยู่ตามขั้นตอนที่ถูกกำหนดขึ้น ดังนั้นการเรียนรู้เครื่องจักร ( Know my machine ) ชิ้นส่วนต่างๆ ทำหน้าที่อะไร หากไม่สามารถทำงานได้จะเกิดอะไร  สภาพที่ควรจะเป็นเป็นอย่างไร และข้อควรระวังมีอะไรบ้าง โดยความรู้เล่านี้จะได้มาทีมงานวิศวกรของโรงงาน เพราะ “ ก่อนจะปรังปรุงอะไรให้คืนสภาพเงื่อนไขพื้นฐานก่อน ” หรือ Basic condition  หากพูดให้เข้าใจกันภาษาชาวบ้านนั้นก็ คือ การทำให้เครื่องจักรใหม่เหมือนตอนพึ่งซื้อมาครั้งแรก หรือตามสภาพกาลเวลานั้นๆ ซึ่งข้อดีของการคืนสภาพนั้นจะเหมือนการตรวจสอบความสมบูรณ์ทุกชิ้นส่วนของเครื่องจักร เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องจักรพร้อมใช้หรือไม่ จาก Case … Continue reading ข้อดีของการทำ Basic condition เท่ากับการลดต้นทุน

สร้างกำไรจากความสูญเสีย EP.2 ( What is OEE ? )

              หลักจากที่เราได้ทำความรู้จักความสูญเสียทั้ง 16 Major Losses  แต่สิ่งที่เราต้องทำก่อน คือ กำหนดและนิยามความสูญเสียที่บริษัทของท่านเกิดปัญหาก่อนครับ ยกตัวอย่างเช่น : บริษัทท่านทีปัญหาส่งของให้ลูกค้าไม่ทัน เพราะมีสาเหตุเกิดจากเครื่องจักรการผลิตเสียหากเป็นเช่นนี้คุณต้องใช้เครื่องมือที่เรียกว่า การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (Overall  Equipment  Efficiency) หรือ OEE เพราะประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร คือ ตัววัดเพื่อตัดสินว่า เวลาที่เครื่องจักรจะต้องเดินนั้น  ได้มีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ( อัตราส่วนของเวลาที่เครื่องจักรสร้างมูลค่าเพิ่ม ) ทำไมต้อง OEE ??? เครื่องจักร ตัองมีดัชนีชี้วัดเพื่อตัดสินว่าเวลาที่เครื่องจักรจะต้องเดิน ได้มีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มากน้อยเท่าไร เพราะเวลาที่เครื่องจักรสูญเสีย หมายถึงการ สร้างมูลค่าเพิ่มและผลกำไร OEE เป็นเครื่องมือที่ใช้การแผ่หลายและเป็นสากลในอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรใช้ในการผลิตสินค้าเป็นหลัก โดยส่วนประรอบมีด้วยกัน 3 ค่า Availability rate, Performance rate, Quality rate ซึ่งแต่ละหัวข้อจะถูกกำหนดและอย่างชัดเจนใน 8 … Continue reading สร้างกำไรจากความสูญเสีย EP.2 ( What is OEE ? )

สร้างกำไรจากความสูญเสีย EP.1 ( What are Losses ? )

                 ก่อนจะเริ่มสร้างกำไร ต้องมารู้จักและเรียนรู้ศัตรูเราก่อนว่ามีหน้าตาอย่างไรบ้าง และศัตรูเราก็คือความสูญเสียหรือ Losses นั้นเอง แล้วอะไรคือความสูญเสีย หน้าตาเป็นอย่างไร ?  ในความสำเร็จขององค์กรหรือการทำงานสมัยใหม่ เน้นเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งคน เครื่องจักร เพื่อให้คุ้มค่าต่อการลงทุนเมื่อเทียบกับต้นทุนการการผลิต อะไรคือความสูญเสีย ความหมาย สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตหรืออุปสรรคทำให้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งสามารถมีตัวชี้วัดในหลายมิติทุกธุรกิจเองก็มีความสูญเสียรูปแบบต่างๆ โดยแบ่งเป็น 8 มิติ ดังนี้ คุณภาพ (Q) , ต้นทุน (C) ,การส่งมอบ (D),ผลิตภาพ (P), ความปลอดภัย อาชีวอนามัย (S,H) , สิ่งแวดล้อม (E) , ระดับความพึงพอใจของพนักงาน (ES) , ขวัญกำลังใจ (M) แล้วแต่ว่าธุรกิจไหนจะนำตัวชี้วัดไปใช้สำหรับเป็นตัวตั้งต้นสำหรับการพัฒนาธุรกิจของตัวเอง หากมองให้ลึงลงไปในรายละเอียดแล้ว ดัชนีชี้วัดสามารถกำหนดและแยกความสูญเสียกลุ่มนี้ได้ด้วยกัน 4 กลุ่มใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นฐานของความสูญเสียเป็ยสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในบริษัททุกที ทุกเวลา … Continue reading สร้างกำไรจากความสูญเสีย EP.1 ( What are Losses ? )