LEAN คืออะไร

บริษัทคุณมีเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้หรือไม่ ? ขอร้องเรียนจากลูกค้า กำไรลดลง ต้นทุนเพิ่มขึ้น สินค้าส่งไม่ทัน เครื่องจักรเสีย ชำรุดก่อนกำหนด มองลึกลงไป “ ปัญหาใหญ่ๆ นั้นเกิดจาก ปัญหาเล็กๆ ที่ไม่ได้รับแก้ไข “ การรอคอย ของเสียระหว่างการผลิต สินค้ารอระหว่างผลิต ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม จุดที่ทำความสะอาดยาก จุดที่ก่อให้เกิดสิ่งสกปรก สึกกร่อน หลอม คลอน รั่วของเครื่องจักร กระบวนการทำงานซ้ำๆ ในหลายขั้นตอน ซึ่งไม่จำเป็น จากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานและบริหารของพวกคุณทั้งสิ้น ไม่ต้องโทษใครทั้งนั้น เพราะคุณมองเรื่องเล่านั้นเป็นสิ่งปกติและปล่อยให้ผ่านไปจนไม่ได้ลงมือทำอะไร ผู้จัดการหลายท่าน ได้ส่งข้อความมาในเพจ “ วิศวกรรมเค้นประสิทธิภาพ “ ถามผมว่าควรทำอย่างไรดี หากต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและตอบสนองความต้องการของลูกค้า อย่างรวดเร็ว คำตอบแบบกลางๆแต่ต้องทำจริง คือ สร้างและปรับปรุงงาน 3 ส่วนนี้ People, Process , Management system เมื่อคุณได้เริ่มมันจะไม่เสร็จง่ายๆ หนทางของการทำกิจกรรมสร้างและปรับปรุงงานเป็นงานมาราธอน เมื่อได้เริ่มต้องทำกันยาวๆ 1 … Continue reading LEAN คืออะไร

5 สิ่งที่ต้องทำการเริ่มแก้ปัญหา

“ เฮ้น้อง เราจะเพิ่ม OEE ได้อย่างไรว่ะ ” คำถามจาก GM Plant พูดขึ้นมาถามผม เพราะ OEE ของโรงงานไม่ได้ตามเป้าหมายมา 3 เดือน ติดต่อกัน ยืนคิดอยู่สักแปปก็เดินไปหา GM พร้อมปากกาไวด์บอร์ดไปที่กระดาน พร้อมลงมือเขียน Thought model  การสร้างระบบกำจัดตวามสูญเสียอย่างง่ายๆ (เอามาทำให้มันดูง่าย) แต่หลายครั้งที่เราเจอปัญหาและต้องการเข้าไปปรับปรุงอย่างรวดเร็ว ปัญหา (sporadic) ที่ไม่ซับซ้อนเราเองอาจจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว  แต่ในโลกปัจจุบันปัญหานั้นซับซ้อนมากขึ้นการแก้ไขปัญหาต้องอาศัยความรู้และสติปัญญามากขึ้น เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วเหมือนเดิม จนทำให้เกิดเป็นปัญหาเรื้อรัง ( chronic ) แต่ถึงอย่างนั้นผมเองได้ลองใช้วิธีการหนึ่งที่ช่วยก่อนการปรับปรุงที่ได้เรียนมาจากการทำ TPM ที่มีชื่อเรียกว่า 5W Image Analysis (ขั้นตอนทำความเข้าใจก่อนแก้ไขปัญหา)ซึ่งเป็นวิธีการสร้างความเข้าใจสภาพมวลรวมทั้งหมดของปัญหา ถือว่าเป็นเช็คพอยท์สำคัญอย่างหนึ่งของผมเลยทีเดียว 5 สิ่งที่ต้องทำการเริ่มแก้ไข..... Problem status หรือ สถานะของปัญหา ปัญหาที่ต้องการแก้ไขนั้นจากการศึกษาข้อมูล ข้อเท็จจริงจากภาพใหญ่ลงย่อยให้เล็กลง ทีละขั้นๆ  จากนั้นดูต่อเรื่องคุณลักษณะและสิ่งที่เป็นมาก่อนนั้น ๆ เช่น ความถี่หรือแนวโน้มการเกิดบ่อยเท่าไร … Continue reading 5 สิ่งที่ต้องทำการเริ่มแก้ปัญหา

CILT งานสำหรับป้องกันเครื่องจักรเสีย (Cleaning, Inspection, Lubrication, Tightening)

เครื่องจักรเสียครับหัวหน้า ทำยังไงดี แจ้งซ่อมสิครับรออะไร เหตุการณ์แบบนี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เกิดทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ยิ่งไปกว่านั้นอาการเริ่มหนักขึ้นจากหยุด 5-10 นาที่ เป็นชั่วโมงและเป็นวันๆ ผมเองได้ฟังมาจากผู้จัดการผลิตที่ขอให้ผมลงไปช่วยดูว่าจะแก้ไขอะไรได้บ้าง ผมเองได้สอบถามพนักงานในพื้นที่หลายคำถามเช่น เมื่อเครื่องจักรเสียทำอย่างไร ? ก่อนและหลังใช้เครื่องจักรทำอย่างไร ? ทำความสะอาดเครื่องจักรทำอย่างไร ? ซึ่งได้คำตอบว่า “ แจ้งซ่อมครับ และผมมีหน้าหน้าเปิด-ปิดเครื่อง ไม่มีหน้าที่ตรวจสอบ ทำความสะอาด ”  จากนั้นผมได้ถามคำถามเดิมนี้กับส่วนงานซ่อมบำรุงและได้คำตอบแบบไม่ประหลายใจ คือ “ ผมมีหน้าซ่อม ไม่ได้มีหน้าตรวจสอบ คนใช้ต้องตรวจสอบเองสิ ”  ผลจากการเดินดูสายการผลิต สิ่งที่ต้องเริ่มปฎิบัติงานระหว่างทีมผลิตและซ่อมบำรุงคือ จัดทำและตั้งมาตรฐาน  การทำความสะอาด ตรวจสอบ และหล่อลื่น   ซึ่งแนวทางในการจัดเตรียมมาตรฐานเพื่อที่จะทำให้โอเปอเรเตอร์ทำงานได้ง่ายถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้ 1.หัวข้อตรวจสอบ (Inspection items) มีอะไรบ้างที่ต้องทำความสะอาด ตรวจเช็ค และหล่อลื่นเพื่อดูแลรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพปกติ หัวหน้างานควรชี้แนะส่วนที่ขาดอยู่หรือส่วนที่ซ้ำกันอยู่ 2.จุดสำคัญ (Key Point) เป็นการชี้ให้เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากชิ้นส่วนนี้เกิดสกปรก หลวมหรือหล่อลื่นไม่เพียงพอวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถจดจำถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง คำแนะนำจากหัวหน้างานในสิ่งเหล่านี้จึงมีความจำเป็นมาก 3.วิธีการ (Method) เลือกวิธีการตรวจเช็คที่ง่ายและเหมาะสมที่สุดคิดค้นสร้างวิธีการควบคุมโดยการมอง … Continue reading CILT งานสำหรับป้องกันเครื่องจักรเสีย (Cleaning, Inspection, Lubrication, Tightening)

ทำไมต้องทำ AM ? เป็นคำถามยอดฮิตที่ผมได้ยินทุกครั้งที่เริ่มทำ TPM 

AM  หรือ Autonomous Maintenance แปลเป็นไทย คือ การบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง ซึ่งเป็นเป็นการเรียนรู้ปรัญชาการป้องกันล่วงหน้าแบบฉบับ TPM  ผ่านการฝึกอบรมบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์และการทำงานและสามารถบริหารจัดการการซ่อมบำรุงได้ โดยรูปแบบการเรียนรู้แบบเป็นขั้นตอน ทีละขั้น อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบสนองและพัฒนาบุคลากรที่สามารถตอบรับยุค Factory Automation ได้ทันที  ① ผู้ปฏิบัติงาน :ความสามารถในการบำรุงรักษาด้วยตนเอง  ② ช่างซ่อมบำรุง : ความสามารถในการบำรุงรักษาระดับสูง  ③ วิศวกรผลิต   : ความสามารถวางแผนเครื่องจักรที่ไม่ต้องบำรุงรักษา อะไรที่ทำให้การ AM เป็นโปรแกรมที่หลายองค์กรอยากหรือเลือกนำมาใช้นั้นเหรอ เพราะองค์กรต้องการปรับเปลี่ยนสามัญสำนึกขึ้นใหม่ โดยแนวคิดของ Autonomous Maintenance จึงมุ่งเน้นให้ผู้ปฎิบัติการเปลี่ยนจาก “ ฉันมีหน้าที่เดินเครื่อง รักษาซ่อมเครื่องมันเรื่องของคุณ ”    เปลี่ยนเป็น  “ เครื่องของฉันจะดูแลรักษาให้ดีที่สุด ” My machine, I take care it I Love my Machine      … Continue reading ทำไมต้องทำ AM ? เป็นคำถามยอดฮิตที่ผมได้ยินทุกครั้งที่เริ่มทำ TPM 

Posted in UncategorizedTagged , ,

ข้อดีของการทำ Basic condition เท่ากับการลดต้นทุน

เรื่องนี้เริ่มจากวิกฤต COVID-19 เมื่อคุณไม่สามารถลงทุนอะไรใหม่ๆได้ในช่วงนี้ ทางเลือกก็มีไม่มาก แต่ต้องลดต้นทุนให้ได้ TPM เป็นเครื่องมือบริหารที่ลักษณะเด่น คือการทำ Autonomous Maintenance เพื่อเปลี่ยน mind set ของผู้ปฎิบัติงาน แนวคิดการบำรุงรักษาด้วยตนเอง เริ่มจากการที่มีการปรับปรุงตลอดมา และความซับซ้อนในงานซ่อมบำรุงที่หลากหลายส่งผลให้เกิดการแบ่งฝ่ายผลิต และฝ่ายซ่อมบำรุงอย่างชัดเจน ทำให้ประสิทธิภาพของการอำนวยความสะดวกลดลงอย่างมาก Jishu-Hozen หรือการบำรุงรักษาด้วยตนเองจะสามารถปรับปรุงสิ่งเหล่านี้ได้ โดยมีแนวคิดดังต่อไปนี้ แนวคิดขั้นต้น ของเสียเป็นศูนย์และเครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์จะเป็นจริงได้ถ้าทุกคนที่เกี่ยวข้องปรับแนวความคิดและปฏิบัติเสียใหม่เมื่อเครื่องจักรดีขึ้นคนก็จะดีขึ้น ถ้าคนดีขึ้นบรรยากาศการทำงานก็จะดีขึ้นตามลำดับภายใต้ภาวะผู้นำของฝ่ายจัดการทุก ๆ คน จะต้องมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาที่แท้จริงที่มีอยู่ตามขั้นตอนที่ถูกกำหนดขึ้น ดังนั้นการเรียนรู้เครื่องจักร ( Know my machine ) ชิ้นส่วนต่างๆ ทำหน้าที่อะไร หากไม่สามารถทำงานได้จะเกิดอะไร  สภาพที่ควรจะเป็นเป็นอย่างไร และข้อควรระวังมีอะไรบ้าง โดยความรู้เล่านี้จะได้มาทีมงานวิศวกรของโรงงาน เพราะ “ ก่อนจะปรังปรุงอะไรให้คืนสภาพเงื่อนไขพื้นฐานก่อน ” หรือ Basic condition  หากพูดให้เข้าใจกันภาษาชาวบ้านนั้นก็ คือ การทำให้เครื่องจักรใหม่เหมือนตอนพึ่งซื้อมาครั้งแรก หรือตามสภาพกาลเวลานั้นๆ ซึ่งข้อดีของการคืนสภาพนั้นจะเหมือนการตรวจสอบความสมบูรณ์ทุกชิ้นส่วนของเครื่องจักร เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องจักรพร้อมใช้หรือไม่ จาก Case … Continue reading ข้อดีของการทำ Basic condition เท่ากับการลดต้นทุน